วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

“จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย”



จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เส้นทางสู่ความสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ เรื่องสำคัญที่โรงเรียนควรรับทราบ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เส้นทางสู่ความสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 4 ใหม่ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ และระบบบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เป็นคุณภาพของเด็กไทยในอนาคต เป็นผู้ที่มีความสามารถ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ก้าวไกลสู่สากล และมีความเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์  
จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน คือ คุณภาพในตัวผู้เรียนที่มีความครอบคลุมในด้านความสามารถและทักษะ ตลอดจนคุณลักษณะที่จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้
1.
  ความสามารถและทักษะของผู้เรียน
·         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 มีความสามารถอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดขั้นพื้น
ฐาน ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
·         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 มีความสามารถอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
·         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  มีทักษะการคิดขั้นสูง  ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
·         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 6 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  ความสามารถใน  การใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) มีทักษะการคิดขั้นสูง  ทักษะชีวิต และทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย
2.  คุณลักษณะ
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับชั้นมีความเป็นพลเมือง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่กำหนดไว้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมีคุณลักษณะที่ต้องเน้นเป็นการเฉพาะในแต่ละช่วงวัยและพัฒนาต่อเนื่องในทุกช่วงชั้น ดังนี้
·         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 เน้นความใฝ่ดี
·         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 ใฝ่เรียนรู้
·         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 อยู่อย่างพอเพียง
·         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 6 มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และการทำงาน
สพฐ. ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยมีจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
·         ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารในการเรียนรู้
·         ยุทธศาสตร์ที่ 2 กระตุ้น เร่งรัด การนำจุดเน้นสู่การปฏิบัติ
·         ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความพร้อมให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน
·         ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเข้มแข็งการกำกับ ติดตามการพัฒนาผู้เรียน
เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพตามจุดเน้น
นักเรียนทุกคนมีความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้นแต่ละช่วงวัย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.   ร้อยละของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามจุดเน้น
2.   ระดับความสำเร็จของการนำจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ
3.   ระดับความสำเร็จของสถานศึกษาที่จัดการเรียนรู้ได้สำเร็จตามจุดเน้น
4.   ระดับความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ตามจุดเน้น
บทบาทของสถานศึกษาเพื่อการขับเคลื่อนจุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.   จัดทำฐานข้อมูลผู้เรียน โรงเรียนตามจุดเน้น
2.     ศึกษาบริบทใน/นอกโรงเรียนเพื่อจัดทำแหล่งเรียนรู้ (สถานที่/บุคคล)
3.     ปรับ/ออกแบบตารางเรียน จัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น
4.      ให้ความสำคัญการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5.      จัดทำรายงานความก้าวหน้าของผู้เรียนตามจุดเน้น
 
ตัวชี้วัดภาพความสำเร็จระดับโรงเรียนของจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
·         ระยะที่ 1 เริ่มต้นค้นวิเคราะห์ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553)
o    มีข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล ครบถ้วน พร้อมใช้
o    มีแผนพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นที่ชัดเจน ปฏิบัติได้
o    มีฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเพียงพอ
o    มีตารางเรียนที่ยืดหยุ่นตามจุดเน้น
o    มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอห้องเรียน โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเวลาเรียน
o    มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย ครอบคลุมตามจุดเน้น
·         ระยะที่ 2 บ่มเพาะประสบการณ์ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554)
o    ผู้เรียนได้สำรวจ สืบค้นทำโครงงาน โครงการจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
o    ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างคุ้มค่า
o    จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
o    ชุมชนเข้าใจ ร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้
o    ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้/สื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ
o    มีการนำผลการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
·         ระยะที่ 3 สานต่อองค์ความรู้ (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554)
o    มีการนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน
o    มีผลการวิจัยและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
o    มีรายงานผลความก้าวหน้าในการพัฒนาผู้เรียน
o    มีการสร้างเครือข่าย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
·         ระยะที่ 4 นำสู่วิถีคุณภาพ (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555)
o    มีนวัตกรรมการบริหารเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้น
o    มีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้น
o    มีเครื่องมือวัด/ประเมินผลการพัฒนาผู้เรียนที่มีคุณภาพ
o    มีการเผยแพร่การวิจัยและผลการพัฒนาผู้เรียน
   ·         ระยะที่ 5 มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่  (ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555)
o    ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้น
o    มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่
o    ครูเป็นครูมืออาชีพ
o    โรงเรียนมีการจัดการความรู้
o    มีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่เข้มแข็ง
o    สาธารณชนยอมรับ และมีความพึงพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น