เอกลักษณ์ชนเผ่าไทแสก
2.1 วัฒนธรรมภาษา
ชุมชนไทแสก
บ้านอาจสามารถเป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่า “ ชาวแสก” มีภาษา
อยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได โดยมีภาษาแสกเป็นภาษาพูดของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน เช่นเดียวกับกลุ่มแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน
และที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยชาวไทแสกทุกหมู่บ้านทุกกลุ่มไม่ว่าอยู่ที่ประเทศไทย
หรืออยู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะใช้ภาษาแสกในการพูดจาสื่อสารกัน แต่หากสื่อสารกับกลุ่มอื่นจะใช้ภาษาท้องถิ่น
ไทย-อีสาน หรือภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน ผู้พูดภาษาแสกจะรวมตัวกันอยู่เป็นหมู่บ้าน สิ่งเดียวที่ทำให้ชาวไทแสกแตกต่างไปจากชาวไทยอื่น
ๆ คือภาษา พิธีกรรม ความเชื่อของชาวไทแสก ซึ่งการแสดงแสกเต้นสากร่วมด้วย ในจังหวัดนครพนมมีภาษาถิ่นไทยหลายกลุ่ม คือ ภาษาไทย-ลาวพื้นเมืองภาษถิ่นไทย ภาษาถิ่นญ้อ
และภาษาถิ่นกะลิง
ภาษาถิ่นเหล่านี้ถึงแม้จะแตกต่างกันแต่ผู้พูดภาษาทั้งหลายเหล่านี้ก็สามารถติดต่อพูดจากันได้รู้เรื่องโดยไม่มีปัญหาเลย
ทั้งนี้เพราะภาษาถิ่นเหล่านี้มีความแตกต่างกันในเรื่องเสียงมามาก
คำศัพท์ก็มีบ้างเล็กน้อย
แต่ในเรื่องการเรียงคำหรือการสร้างประโยคแล้วไม่มีเลยส่วนภาษาแสกนั้นถึงแม้จะจัดว่าเป็นภาษาไทยถิ่น
แต่ความแตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นอื่น ๆ
มีมากจนทำให้ผู้พูดภาษาถิ่นอื่น ไม่อาจเข้าใจได้
ทำให้มีคนจำนวนมากคิดว่าภาษาแสกเป็นภาษาเขมร ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
ศาสตราจารย์ฟัง ไกวลี
นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน
เชื้อชาติจีน ได้เคยเสนอการแบ่งกลุ่มภาษไทยออกเป็นสามสาขา
โดยใช้ศัพท์และวิวัฒนาการของเสียงบางเสียงเป็นมาตรฐานในการแบ่งดังนี้
1. สาขาเหนือ
ประกอบด้วยภาษาไทยถิ่นที่อยู่ทางใต้ของจีน
ตัวอย่างชื่อภาษาถิ่น เหล่านี้ คือ
วูมิง
เทียนเชา โปอายเขียนเชียง
2. สาขากลาง
อยู่ในเวียดนามเหนือแถวพรมแดนติดต่อกันประเทศจีน มีไตยาว
โท นุง ลุงเชา
เทียนเปา ยูงชุม
3. สาขาตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วยภาษาในประเทศไทย ลาว
พม่า อินเดีย เวียดนาม
ทั้งหมดนี้ในประเทศไทยและลาวเท่านั้นที่ภาษาไทยนับได้ว่าเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยนี้จะกระยัดกระจายอยู่ในประเทศต่าง
ๆและจะค่อย ๆ ถูกกลืนหายไปที่ละน้อย ๆ เรื่องนี้อาจารย์บรรจบ พันธุเมธา
ก็ได้แสดงความห่วงใยไว้ในหนังสือของท่านชื่อ “กาเลหม่านไต” (ไปเที่ยวบ้านไท)
ภาษาแสกนี้ ศาสตราจารย์ Handricourt ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ควรจัดอยู่ในภาษาไทยแขนงภาคเหนือ
โดยดูจากศัพท์
ชาวต่างชาติได้มีการศึกษาภาษาแสก
คือ ศาสตราจารย์ William Gredney
โดยศึกษาภาษาแสกในเรื่องเสียงว่ามีเสียงอะไรบ้างและเป็นผู้สนับสนุนว่าควรจัด”ภาษาแสก” อยู่ในสาขาเหนือ โดยเพิ่มหลักฐานทางศัพท์และเสียง
เคยพิมพ์บทความเรื่อง The sack Language of Nakhon
Phanom
วิไลวรรณ ขนิษฐานนันท์
ได้ศึกษาภาษาแสก
ตามแนวภาษาศาสตร์โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ เสียงสระและเสียงพยัญชนะที่มีใช้ภาษแสก ยังได้บรรยายถึงลักษณะกลุ่มคำต่าง ๆ
การประสมคำ การเรียงคำ และการเก็บบันทึกคำภาษาแสกที่เกี่ยวกับคำและความหมาย วิธีอ่านออกเสียงและความหมายของ คำแสก วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. 2519:2)
จากการสัมภาษณ์กลุ่มเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า
เวลาเรียนหนังสือของนักเรียน
จะใช้ภาษาไทยกลางสำหรับการสื่อในการเรียนการสอน อีกทั้งสื่อสารมวลชนต่าง ๆ เช่นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ฯลฯ
ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไป
เพราะการใช้ภาษาแสกของกลุ่มเด็กและเยาวชนมีน้อยมาก ดังนั้น
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาแสก
นอกจากการสอนภายในครอบครัวแล้ว
ปัจจุบันทางโรงเรียนชุมชนบ้านอาจสามารถได้เปิดสอนพิเศษในวันเสาร์-วันอาทิตย์
ให้เยาวชนได้เรียนรู้ภาษาแสก และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเกี่ยวกับภาษาแสกเพื่อใช้ในโรงเรียนในระดับประถม
ความแตกต่างภาษากลางและภาษาแสก
หมวดเครือญาติ
ภาษากลาง ภาษาแสก
ปู่ โอ๊ง
ย่า ย่า
ตา ต๋า
ยาย อ้าย
พ่อ ป้อ
แม่ แม่
พี่ จี้
ป้า ป้า
น้า หน่า
อา อา
ลูก หลึก
หลาน หล่าน
เหลน เหล่น
ลูกเขย หลึกโคย
น้องเขย หน่วงโคย
ภาษากลาง ภาษาแสก
พระเจ้าแผ่นดิน โอ๋งหวั่วสร่างเกร่า
ฉัน ฮีง
เธอ เหร่า
เพื่อน โต๋ย
คุณ เจ่า
หมวดร่างกาย
ภาษากลาง ภาษาแสก
หัว
เกร่า
คอ กว่อ
ไหล่
หว่า
มือ
มือ
คิ้ว
ขิ่ว
ตา
ปร๋า
จมูก ดั้ง
แขน เก๋น
นิ้ว เนี่ยง
เอว อ่วด
ขา กว่า
หัวเข่า เถ่ากว่อ
ตีน เง่ง
ลิ้น หลิ่น
หมวดสัตว์
ภาษากลาง ภาษาแสก
กา ทัวะก๋า
กุ้ง ทัวะกุ่ง
ไก่ ทัวะไก่
แกะ ทัวะแก้ะ
กวาง ทัวะวาน
กบ กั๊บ
ลูกไก่ หลึกไก่
ภาษากลาง ภาษาแสก
จระเข้ ทัวะแข่
วัว บ๊อ
ควาย วาย
ช้าง ทัวะส่าง
ม้า ทัวะม่า
ปลา ทัวะปล๋า
เป็ด ทัวะปิ๊ด
แมว ทัวะแมว
หมู ทัวะหมู่
หมี ทัวะหมี
ฟาน ทั๊วะฟราน
กิ้งก่า ตะโก๋ย
ตั๊กแตน ตะหนัก
หมวดเครื่องใช้
ภาษากลาง ภาษาแสก
บ้าน ลาน
บันได งั่นได๋
หน้าต่าง ป๊ะตู๋บ่อง
ประตู
ป๊ะตู๋
หลังคา หลั่งา
ห้องนอน
ห้องนูน
ห้องครัว ลานวี
ต้นไหม้ โคกไหม่
ขวด ก่องแก้ว
ขัด
โอ๋
มีด ตร๋าว
ตะกร้า กะต่า
ตุ่ม
อุ๊
เตา เพรียก
ถ่าน ถ่าน
ภาษากลาง ภาษาแสก
ฟืน
หวิ่น
ไฟฉาย วี่สาย
สายไฟ ส่ายวี
ดู้
ตู่
ไม้กวาด ไหม่หว่าเท่น
เข็ม
กิ๋ม่
เชือก
ซาก
จอบ หมากจ๊ก
แห
เหร่
กะดัง ทุ่งหวี่
ข้อง วักก่า
ตาปู ตะปู่
ลวด ลวด
หมวดกิริยาอาการ
ภาษากลาง ภาษาแสก
ทำงาน หิดเวียก
โกรธ
หิดหยัก
ร้องไห้ ไต่
พนมมือ
หยอมือ
บทสนทนาเป็นประโยค
ภาษากลาง ภาษาแสก
ท่านชื่ออะไร เจ่าซ่อทูเนอ
บ้านอยู่ไหน บ่านอยู่มะเหน่อ
ท่านจะไปไหน เจ่าสิไปเหน่อ
ท่านมาจากไหน เจ่าหม่าแต่เหน่อ
ท่านมากับใคร
เจ่าฮุนกั้บเด๋อ
สวัสดี แทร่อยู่
ขอบคุณ ขอบจื๋อ
ไม่เป็นไร โบะพันทา
กินข้าวกับอะไร กินเหง่าจ่อทา
ภาษากลาง ภาษาแสก
ขอดื่มน้ำด้วย กร่อกิ๋นย่อย
กินข้าวอร่อยไหม กิ๋นเหง่าหง่อนหะ
เชิญกินข้าว ฮุนกิ๋นเหง่า
สบายดีหรือ เจ่าอยู่ดีมีเร่งหะ
มีพี่น้องกี่คน มีพี่หน่วงจั๊กฮุน
ผู้สาวคุณสวยจัง แด๊กส่าวเจ่าไหเนาะ
คุณรักฉันไหม เจ่าเสืองห่อยหะ
ฝนตก บี๋นหวีน
น้องรักพี่ หน่วงเสื่องแอง
คุณเป็นอะไร เจ่าหิดทา
คุณปวดหัวหรือ เจ่าเกดเถร่าหะ
คุณปวดท้องหรือ เจ่าเกดถรุ่งหะ
(บทสรุปจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้: 3-
4 มีนาคม
2548)
2.2 วัฒนธรรมการแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของชาวไทแสก จากข้อมูลที่ได้จากชาวบ้าน และจากรูปภาพชาวไทแสกสมัยโบราฯแต่งกายด้วยเสื้อผ้าทอเย็บมือมักมีสีดำ หรือผ้าย้อมหม้อสีคราม จะเห็นได้ว่าชาวไทแสก ในสมัยรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งขึ้นเป็น ”เมืองอาท
มาต”
ขึ้นกับเมืองนครพนมใน ร. ศ. 1191 ปี พ.ศ.
2387 โดยให้ฑานบุดดี
เป็นหลวงเอกอาษา
จึงได้มีชนชั้นชาวไทแสก อยู่
3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มชนชั้นพื้นเมือง หมายถึง ชาวบ้านทั่วไป
กลุ่มที่
2 ได้แก่ กลุ่มชนชั้นกลาง หมายถึง ชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มที่ 1
เหนือชาวบ้านที่ฐานะดี แต่ได้แต่งกายมาร่วมงานเนืองในพิธีกรรมสำคัญ ๆ เช่น
พิธีต้อนรับเจ้าเมืองหรือพิธีต้อนรับแขกบ้านแขเมือง เช่น การแสดงแสกเต้นแสก
มุ่งเน้นความสวยงามเพื่อมาร่วมในงาน
บางครั้งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่มีฐานะดี
จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยงามและนิยมตกแต่งด้วยเครื่องประดับตามฐานะของแต่ละคน
กลุ่มที่
3 ได้แก่ กลุ่มเจ้าขุนมูลนาย
เป็นกลุ่มที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองอาทมาตคณะกรรมการ เมืองอาทมาตรวมทั้งผู้หญิงผู้ชายที่สูงศักดิ์
ที่เป็นลูกหลานของเจ้าขุนมูลนาย กลุ่มนี้จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยงาม มักเป็นผ้าไหม
มีเครื่องประดับมากมาย
การแต่งกายสมัยโบราณของชาวไทแสก
จึงมีการแต่งกายอยู่สามรูปแบบ
โดยพิจารณาตามโอกาสในงานที่ไป
และแต่งกายตามชนชั้น ฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน มีลักษณะการแต่งกายดังนี้
การแต่งกายชนชั้นพื้นเมืองของชาวไทแสกในสมัยโบราณ
ชายชนพื้นเมือง นิยมไม่ใส่เสื้อ
แต่ถ้าใส่เสื้อลักษณะจะเป็นเสื้อสีดำแขนสั้นที่เป็นผ้าย้อมหม้อครา หรือผ้าฝ้ายด้ายดิบสีขาวธรรมชาติ
เป็นเสื้อคอกลมติดกระดุมหน้า
นิยมใช้ผ้าขาวม้านุ่งเป็นผ้ากระเตี่ยวหรือนิยมเป็นกางเกงขาก๊วยหรือกางเกงครึ่งท่อนหรือโสร่ง
นิยมใช้ผ้าคาดเอวหรือพาดบ่าด้วยผ้าขาวม้าที่เป็นลายตาล่องสีขาวหรือแดง ชายไม่นิยมใส่เครื่องประดับ
หญิงชนพื้นเมือง นิยมใส่เสื้อทั้งแขนสั้นและแขนยาว มักเป็นผ้าย้อมหม้อสีคราม
หรือผ้าฝ้ายด้ายดิบสีขาวธรรมชาติ
นิยมใส่เสื้อมะขามโค้งกับเสื้อคอกลม
นิยมใช้ผ้าแพรหรือผ้าขาวม้าพาดเบี่ยงไปหาไหล่ขวา ผ้าถุงนิยมใส่ที่เป็นผ้าฝ้ายที่มีเชิงผ้าถุงหรือที่เรียกว่าตีนซิ่น ผู้สูงอายุนิยมนุ่งโจงกระเบน บ้างครั้งนิยมใส่เสื้อแขนสั้นหมากกะแหล่ง เสื้อนิยมเป็นทรงผ่าอกติดกระดุม ชาวแสกจะนิยมใส่ผ้าถุง 2 ผืน ผืนที่อยู่ชั้นในนิยมเป็นสีธรรมชาติ
ปลายของเชิงผ้าถุงจะแลบออกมา
การแต่งกายชนชั้นกลางของชาวไทแสกในสมัยโบราณ
ชายชนชั้นกลาง นิยมใส่เสื้อสีดำแขนสั้น ที่เป็นผ้าย้อมหม้อคราม หรือผ้าฝ้ายด้ายดิบ
สีขาวธรรมชาติ เป็นเสื้อคอกลมติดกระดุมหน้า
นิยมนุ่งกางเกงขาก๊วย หรือกางเกงขาครึ่งท่อนหรือโสร่ง
นิยมใช้ผ้าคาดเอวและคาดบ่าด้วยผ้าขาวม้าที่มีลวดลายสีสันสวยงาม บางครั้งจะเป็นผ้าไหม นิยมเครื่องประดับที่คอ และมีกำไลที่ข้อเท้า
หญิงชนชั้นกลาง
นิยมใส่เสื้อสีดำแขนยาวที่เป็นผ้าย้อมหม้อสีครามหรือผ้าฝ้ายด้ายดิบสีขาวธรรมชาติ นิยมใส่เสื้อคอมะขามโค้งกับเสื้อคอกลม
นิยมเสื้อแขนกระบอกผ่าอกติดกระดุมที่ทำด้วยเปลือกหอย นิยมใช้ผ้าแพรหรือที่เป็นผ้าไหมหรือผ้าที่มีสีสันสวยงามโดยเฉพาะสีแดงพาดเบี่ยงไปหาไหล่ขวา ผ้าถุงนิยมใส่ผ้าถุงสีดำที่มีเชิงผ้าถุง หรืที่เรียกว่าตีนซิ่น นิยมเครื่องประดับที่ผม ที่หู กำไลแขน และกำไลที่ข้อเท้า
ชายหญิงชนชั้นกลางนี้มักเป็นชาวบ้านที่มีฐานะดี
และมักได้รับคัดเลือกให้ไปต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพื่อไปแสดงแสกเต้นสาก
การแต่งกายของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายของชาวไทแสกในสมัยโบราณ
ชายชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย นิยมใส่เสื้อแขนยาวสีขาวทรงราชประแต็น นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าไหม บ้างครั้งก็ใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าไหม บางครั้งก็ไม่ใช้ผ้าคาดเอว นิยมประดับเครื่องยศที่หน้าอกเสื้อ
หญิงชนชั้นเจ้าขุนมูลนาย นิยมใส่เสื้อที่เป็นผ้าไหมหรือผ้าลายลูกไม้ คอตามสมัยนิยม
บางครั้งเป็นทรงคอมะขามโค้ง
แขนทรงตุ๊กตาแขนยาว เสื้อรัดรูปมีระบายปล่อยชายติดกระดุมด้านหลัง กระดุมมักทำด้วย เปลือกหอย นิยมใส่ตุ้มหูที่เป็นเพชรเป็นพลอย เป็นเงินเป็นทองประดับตามฐานะ
ที่ข้อเท้านิยมใส่กำไลทั้งสองข้างและกำไลแขนทั้งสองแขน ใครมีฐานะดีก็ใส่กำไลหลายๆ อันมีทั้งเงินทองและนาค ผมนิยมไว้ผมสั้น ถ้าไว้ผมยาวจะนิยมเกล้ามวย
บางคนนิยมสร้อยทองคำเกี่ยวสามรอบไปประดับผม
นิยมใช้ผ้าไหมหรือผ้าที่มีสีสรรสวยงามพาดเบี่ยงไหล่ซ้าย
ผ้าถุงนิยมใส่ผ้าถุงมีเชิงที่เป็นผ้าไหม
เครื่องประดับนิยมใส่กำไลข้อขา
กำไลแขน ข้างละ 4 อัน มีสร้อยสังวาล สร้อยคอ 3
ขนาดมีมากกว่า 3 เส้นขึ้นไป
โดยทั่ว ๆ ไป ชาวไทแสกไม่ว่าชนชั้นไหนจะนิยมเครื่องประดับเหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับฐานะเหมือนกัน
มีน้ำมันทาผม
ผู้หญิงนิยมใช้เนียมซึ่งทำด้วยใบอ้ม ขมิ้น ใบกระแจะ รากต้นนมยาน โดยนำมาตากแดดให้แห้ง
บดให้ละเอียดคลุกเคล้าให้เข้ากัน เรียกว่าเนียม หวีทำด้วยเขาควายและหนามแท่ง ยาสีฟันใช้ถ่านไฟขี้ใต้ไหม้และ ดินทราย
เวลาดัดผมให้หยิกจะใช้ก้านต้นงิ้วดัดผมให้หยิกงอ รองเท้าส่วนมากไม่นิยมใส่รองเท้า ถ้าเป็นเจ้าขุนมูลนายจึงนิยมใส่รองเท้า
ซึ่งรองเท้าจะทำด้วยหนังควาย
ใช้อบเนียมเป็นเครื่องหอม
น้ำมันทาผม ใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู
ขมิ้นและใบอ้ม
น้ำหอมใช้กลิ่นของดอกไม้แทนน้ำหอม
เช่น ดอกมะลิ ดอกมันปลา
เป็นตัน
สมัยปัจจุบัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นของชาวไทแสก แต่ชาวไทแสก
บ้านอาจสามารถยังรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องแต่กายประจำชนเผ่าไทแสกไว้ โดยผู้ชายชาวไทแสกนิยมใส่สีน้ำเงินเข้มมาแต่บรรพบุรุษ ส่วนหญิงใส่ผ้าถุงมัดหมี่มีเชิง(มีตีนซิ่น)
ผ้าถุงลายมัดหมี่ชาวบ้านเห็นว่าเครื่องแต่งกายชาวไทแสกสามารถแต่งได้ทุกเวลา
เป็นชุดแต่งกายที่ราคาถูกประหยัด ปัจจุบันชาวบ้านจะแต่งตามประเพณีเฉพาะเทศกาลทำบุญในหมู่บ้านเท่านั้น และจาก
การสังเกตพบว่า ชาวไทแสกทุกคนยินดีที่จะแต่งกายในชุดประจำชนเผ่าไทแสกสมบูรณ์แบบเมื่อมีการต้อนรับคณะผู้มาเยือนเป็นพิเศษ เช่น
ในการประชุมสนทนากลุ่ม คณะของบริษัทนำเที่ยวชั้นนำ หรือ คณะผู้มาศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรมจากต่างจังหวัดมาเยี่ยมเยือน เป็นต้น
2.3 วัฒนธรรมการบริโภค
ชาวไทแสกนิยมบริโภคข้าวเหนียวเช่นเดียวกับชาวไทยลาว ชุมชนไทแสก
บ้านอาจสามารถนิยมรับประทานอาหารประเภทปลาและเนื้อ เช่น
เนื้อวัว เนื้อควาย ในสมัยก่อนไม่นิยม บริโภคเนื้อดิบ ๆ
ต่อมานิยมตามแบบอย่างไทย-ลาว
ซึ่งเป็นอาหารประเภทปรุงดิบ ๆ (ลาบ ก้อย) เป็นส่วนใหญ่ อาหารที่เป็นประเภทปลาเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่แรกตั้งหมู่บ้าน เพราะมีปลาซุกชุมในแม่น้ำโขง
และริมฝั่งโขงจะมีกระชังเลี้ยงปลา
และเครื่องมือดักปลา โดยมีอุปกรณ์ คือ
แห อวน
ปัจจุบันมีการเลี้ยงปลาในกระชังมีอาชีพหลักอย่างหนึ่งของชุมชนไทแสก
บ้านอาจสามารถอาหารส่วนใหญ่จึงเป็นอาหารประเภทปลา ได้แก่ แกงปลา
จะนิยมแกงใส่หน่อไม้(ใส่มดแดง-ใส่ไข่มดแดง)ใส่มะกอก ใส่มะเฟือง
ใส่จักจั่น ใส่จิหร่อ (หรือจิ้งหรีด)
ลาบปลา ลาบปลาเนื้ออ่อน แจ่วปลา
หมกปลา ส้มปลา ลาบเตี้ย ปลาร้า
ปลาแห้ง ปลาจ่อม ส้มไข่ปลา
ก้อยไข่มดแดงแกงหน่อไม้
แกงอ่อมผัก หมกหน่อไม้ ต้มไก่
ต้มเนื้อ อ่อมกบ ป่นกบ
ป่นเขียดผักกาดดอง (ส้มผัก)
ส้มผักเสี้ยน ส้มผักกุ่ม ผักสดตามฤดูกาล ผักกาด
แตงกวา บวบ สะเม็ก
กะโดน ติ้ว ผักป่าทั้งหมด
และอาหารพื้นบ้านทั่วไป
ผลไม้ ได้แก่
แตงโม แตงไทย มะละกอ
มัน เผือก อ้อย
กล้วย หมากส้มมอ (ลูกสมอ) มะขามป้อม
มะขาม
มะพร้าว มะเฟือง มะปราง
ของหวานกล้วยบวชชี กะทิแตงไทย ข้าวต้มหงอก
(ต้องมีทุกงาน)
ข้าวต้มมัด (ใส่กล้วย โรยมะพร้าว
น้ำตาล)
อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทแสก คือ
เหมี่ยงแถรก หรือเรียกว่า เมี่ยงแสก
ประกอบไปด้วย
ใบทองยอดอ่อน มดส้ม (มดแดง) มะเฟือง
ขนุนเล็ก (หำหมากมี้) ปูน้อย ตะไคร้
หอมแห้ง พริกสด กระเทียม น้ำปลาร้า
น้ำจิ้มเป็นเอกลักษณ์ของไทแสก
คือ แจ่วเป๋อผักหว่อ จ่อหมักกอก
(แจ่วต้นหอมใส่มะกอก)
น้ำจิ้มใบหัวหอมใส่มะกอก เผาทั้งหมด
เมื่อโขลกให้ละเอียดแล้ว
ใส่น้ำปลาร้าดิบหรือปลาร้าต้ม
(บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม :19 – 20 มีนาคม 2548)
2.4 ประเพณีชาวไทแสก
การนับถือผีเป็นวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทแสกที่เกี่ยวข้องกับภาวะสังคมและจิตใจ
ชาวไทแสกบ้านอาจสามารถนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังมีความเชื่อ
ความศรัทธาในเรื่องภูตผีวิญญาณเหล่านั้นยังคงทำหน้าที่คอยปกป้องคุ้มครองเหตุเภทภัยต่าง
ๆ ให้แก่สังคมและคอยดูแลสังคมให้ดำรงอยู่อย่างสงบสุข
ผีบรรพบุรุษที่ชาวไทแสก บ้านอาจสามารถให้ความนับถือ โอง มู้
แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องภูตผี วิญญาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้
เชื่อว่าดวงวิญญาณของผีบรรพบุรุษเหล่านี้สามารถติดต่อกับมนุษย์ได้โดยผ่านการสื่อสารกับกวนจ้ำ
ซึ่งทำหน้าที่สื่อกลางระหว่างผีบรรพบุรุษกับมนุษย์ ความเชื่อในเรื่องวิญญาณ โองมู้
มีความสำคัญและมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวไทแสก บ้านอาจสามารถเป็นอย่างมาก ในทุกปีชาวชาวไทแสก บ้านอาจสามารถจะแสดง “การเต้นสาก” เพื่อบวงสรวง โองมู้
วันตรุษแสกทางภาษาแสกเรียกว่า “กิ๋นเตด” หรือ พิธีกินเตดเดน
ชาวบ้านก็จะมาร่วมพิธีและเต้นสากบวงสรวง
โองมู้
2.4.1 พิธีกินแดดเดน
“พิธีกินแดดเดน” ของชาวไทแสก ถือเป็นประเพณีพิธีกรรมอย่างหนึ่ง
โดยการประกอบพิธีกรรมขึ้นมาเพื่อเป็นการแสดงความกัญญกดเวที่ต่อ “โองมู้”
ที่ชาวไทแสกเคารพนับถือ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวไทแสก
เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกหลานรุ่นหลัง ๆ สืบต่อมา “โองมู้” จะทำหน้าที่คุ้มครองอันตรายที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และดลบันดาลให้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามที่”ผู้บ๊ะ”(บนบาน) โดยมีกวนจ้ำ
เป็นสื่อกลางในการปกระกอบพิธีกรรม
แต่ถ้าหากลูกหลานประพฤติมิชอบไม่เหมาะสมหรือทำพิธีบนบานแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม หรือไม่มีพิธีกรรม”เก่บ๊ะ” (พิธีแก้คำบนบาน) ก็จะทำให้เกิดเหตุเภทภัยในครอบครัว เพื่อเป็นการตักเตือนให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม
ตัวอย่างเช่น
อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย
เกิดอาการร้อนรนกินไม่ได้นอนไม่หลับ
แต่เมือทำ “การบ๊ะ” หรือ” “เก่บ๊ะ” แล้วเหตุร้ายก็จะกลับกลายเป็นดี
“พิธีกรรมกินแดดเดน”นี้ชาวไทแสก
เชื่อว่า
พิธีกรรมนี้มีบทบาทในการสร้างความศรัทธา
ความเชื่อมั่น ความรู้สึกที่ดีๆ ร่วมกัน
ความรู้สึกผูกพัน
ที่มีในสายเลือดเผ่าพันธุ์เดียวกัน
เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ชาวไทแสกทึกคน
เกิดความรักและหวงแหนในวัฒนธรรมปกระเพณีของตน
มุ่งสอนให้ผู้มีอายุน้อยกว่าให้ความเคาระนับถือ และแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ หรือต่อผู้มีอายุกว่าก่อให้เกิดความสามัคคี ความเคารพนับถือ บรรพบุรุษ และความปลื้มปิติแก่ชาวไทแสกทุกคน
องค์ประกอบของพิธีกรรม
1. การบ๊ะ
หมายถึง การบนบานบอกกล่า”โองมู้” ที่เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่ชาวไทแสกนับถือ ให้นับถือ
ให้ช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยาก “การบ๊ะ” นี้จะทำให้กรณีที่มีการเจ็บไข้ได้ป่วย
หรือสิ่งของหาย
หรือเวลาต้องการจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้สำเร็จตัวอย่างเช่น
จะไปทำมาค้าขาย ชาวไทแสกก็จะไปทำ
วัตถุและสิ่งของที่ใช้ในการ “บ๊ะ” มีดังนี้
1.
หมาก 2 ลูก
2.
ใบพลู 2 ใบ
3.
ปูนขาวแต้มด้านหลังส่วนปลายของใบพลูทั้ง 2 ใบ
4.
เทียน 2 เล่ม
5.
ดอกไม้ 2 ดอก
6.
ธูป ไม่จำกัดจำนวน
7.
คำพูด ข้อความที่จะกล่าว
เพื่อให้สำเร็จตามความปรารถนาจะนำวัตถุและสิ่งของอะไรมาถวาย
ตามที่ได้กล่าวไว้
2. การเก่บ๊ะ
หมายถึงการทำพิธีแก้บนโดยการนำเอาสิ่งของที่เราทำพิธีเก่บ๊ะว่าจะถวายอะไรตอนทำ
“เก่บ๊ะ” นำไปถวาย
“โองมู้” แต่ถ้าหากไม่ทำการ “เก่บ๊ะ” ก็จะเป็นการกระทำผิดสัญญา ครั้งต่อไปอาจจะไม่ได้รับการช่วยเหลืออีก
โดยเฉพาะการลงโทษของ “โองมู้” มิได้มุ่งให้ถึงแก่ชีวิต แต่เพื่อเป็นการสั่งสอนมิให้ผิดคำสัญญาให้รู้จักกระทำในสิ่งที่ถูกที่ควร และให้เป็นผู้มีความสัตย์จริง
3. พิธีคอบเข้า หมายถึง
พิธีขออนุญาตเป็นลูกหลานของ “โองมู้” เพื่อให้ “โองมู้” ดูแลรักษาเหมือนเป็นลูกหลานของชาวไทแสกส่วนมากบุคคลที่มาทำพิธี“คอบเข้า” นี้มักจะเป็นลูกสะใภ้ หรือลูกเขยของชาวไทแสกหรือบุคคลอื่นที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอาจสามารถ เครื่องบูชา
ที่ทำพิธี “คอบเข้า” มีขัน
5 ประกอบไปด้วย เทียนขาว 5คู่
ดอกไม้ 5 คู่
4. พิธีคอบออก หมายถึง บุคคลที่ทำพิธี “คอบเข้า”
แล้วมีความจำเป็นต้องย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น ก็ให้ทำพิธี ”คอบออก”จากการเป็นลูกหลานของ “โองมู้”
ถ้าไม่ทำพิธีคอบออกจะมีเหตุการณ์เป็นการตักเตือน
แต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงมาก
อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย
เวลานอนก็จะไปเข้าฝันเพื่อบอกให้รู้
เครื่องบูชาที่ทำพิธี”คอบออก”มี
1) เหล้าขาว
3 ขวด
2) ไก่
2 ตัว
3) ขัน 5 ประกอบด้วย เทียนขาว 5 คู่ ดอกไม้ขาว
5 ดอก
เครื่องบูชาทำพิธีคอบออกนี้ คำว่า “เหล้าขาว” จะใช้วิธีเทใส่ขวดเหล้า จำนวน 2 ขวด ไก่ 2 ตัว
ก็เป็นเพียงไก่ที่นำมาปรุงอาหารเพียงเล็กน้อย แล้วนำมาใส่ภาชนะเล็ก ๆไม่จำเป็นต้องเป็นไก่ 2
ตัวก็ได้เวลา “กวนจ้ำ” ทำพิธีจะบอกว่าเหล้าขาว 2
ขวด ไก่ 2 ตัว
5. โองมู้ หมายถึงวิญญาณบรรพบุรุษที่ชาวไทแสกเชิญให้สิงสถิตอยู่ที่
“ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้” โดย “โองมู้”
จะทำหน้าที่คุ้มครองอันตรายที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และดลบันดาลให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นตามที่มีผู้ทำ “พิธีเก่บ๊ะ” ในสิ่งที่เป็นไปได้โดยมี ”กวนจ้ำ” เป็นสื่อกลางในการประกอบพิธี
6. เดน หมายถึง “ศาลเจ้า “มีลักษณะเป็นเรือนเล็ก ๆ มีเสาเดียว ทาด้วยสีแดงมีผ้าแดงมัดที่เสา
ในสมัยก่อนสร้างด้วยเรือนไม้เล็กๆ โดยเฉพาะด้านฝาเรือนต้องสานด้วยไม้ห่าง ๆ
ภาษาแกเรียกว่า “รานส่า” หมายถึง
บ้านห่าง ภาษาไทยถิ่นกลางเรียกว่า บ้านสานด้วยไม้ไผ่เป็นตารางห่าง ๆ
เรียกว่าลายตามะกอก ภายในเรือนเล็ก ๆ จะมีแก้วน้ำตั้งอยู่ข้างใน
บริเวณรอบนอกระเบี่ยงที่ยื่นออกมาจะมีอาวุธโบราณวางเรียงไว้ มีหอก
ดาบ ปืน ไม้กระบอก
ง้าว
จะใช้วิธีแกะสลักไม้เป็นอาวุธโบราณที่มีขนาดเล็กๆ
วางเรียงไว้ มีความเชื่อว่า
อาวุธโบราณนี้เป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้ป้องกันประจำตัวของ “โองมู้”
โดยศาลเจ้านี้ ชาวไทแสกเรียกว่า “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้” มีดังนี้
1. หมัก หร่าว
หมายถึง ง้าว
2. หมัก สั่มโหม่
หมายถึง
หอก
3. หมัก
ตร๋าว หมายถึง ดาบ
4. หมัก
ถรุ่ง
หมายถึง ปืน
5. หมัก หง่อน หมายถึง ไม้กระบอง
7. กวนจ้ำ
หมายถึง บุคคลที่ถูกเลือกให้เป็นผู้รักษา “หอเดน” ที่เป็นศาลเจ้าสำหรับ” โองมู้” อาศัย
ชาวไทแสกทุกคนเรียก “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้”
“กวนเจ้า”
จะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการปกระกอบพิธีกรรมระหว่างโองมู้ ชาวไทแสกที่มาร่วมพิธีกรรม โดยชาวไทแสกจะคัดเลือกจากบุคคลผู้สูงอายุที่มีความซื่อสัตย์ไม่เคยกระทำผิดศีลธรรม
ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทแสกในหมู่บ้าน
หน้าที่ของกวนจ้ำ
7.1 ดูแลรักษา “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้”
7.2 เป็นสื่อกลางในการทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ “โองมู้”
7.3 ทุก ๆ
วันขึ้น 15 ค่ำ “กวนจ้ำ”
ต้องนำธูปเทียนดอกไม้มาทำพิธีบูชาทุกครั้ง
ผู้ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม กินเตดเดนของชาวไทแสกในอดีต คือ
1. พ่อ
ปู่ดก
2. พ่อ
ปู่เชียงคำพัน
3. พ่อ
ปู่เบิด สุริโยสาร
4. พ่อ
ปู่อ้า ชาลีอ่อน
5. คุณตาแก่น
ศรีขวา
6. คุณตาโจม
สุริโยสาร
7. คุณตาครุฑ สุสิงห์
8. คุณตาผู้
พลหาราช
9. คุณตากัน คำเฮือง
ผู้พลหาราช ได้เล่าถึงการทำพิธีกวนจ้ำปัจจุบัน หรือการถวายสิ่งของโดยไม่ผ่าน “กวนจ้ำ”ว่า
คุณยายเพื่อน สวัสดิวงศ์ไชย
อยู่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมได้ฝันว่า “โองมู้” ต้องการอยากได้พวงมาลัย
คุณยายเพื่อน ซื้อพวงมาลัยมาถวาย ตกกลางคืนได้ฝันว่า “โองมู้”
มาบอกว่าให้ตาผู้ไปดูที่ที่อยู่หน่อย
ไม่รู้ใครเอาอะไรไปวางเกะกะที่อยู่ที่พัก
คุณตาผู้ก็สงสัยว่าเป็นที่บ้านตนหรือที่
“ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้” พิจารณาที่บ้านก็ไม่มีอะไร จึงออกมาดูที่ “ศาลเจ้า”
ปรากฏว่าเห็นพวงมาลัยคล้องอยู่ตรงศาลเจ้า
เมื่อสอบถามจึงได้รู้ว่า คุณยายเพื่อนเป็นผู้นำมาถวาย
ในขณะนั้นคุณยายเพื่อนก็มักจะมีเหตุการณ์ที่ไม่สบายมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ เมื่อรู้ว่าทำไม่ถูกต้องจึงได้ทำพิธี”เก่บ๊ะ” ขอโทษ
“โฮงมู้” แต่นั้นมา
ครอบครัวของคุณยายเพื่อนก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรที่น่าวิตกอีก
บุคคลที่เข้าร่วมพิธีกินเตดเดน หมายถึง
บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการเตรียมพิธีกรรมโดยบุคคลเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการกำหนดขั้นตอนการตระเตรียมสิ่งของ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรม จนสิ้นสุดขั้นตอนทั้งหมด
ซึ่งบุคคลที่เข้าร่วมพิธีกรรมจะประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
1. กวนจ้ำ
ทำหน้าที่เป็นคนกลาง
ในการประกอบพิธีกรรมระหว่างโองมู้กับชาวไทแสก
2. บุคคลที่มีเชื้อสายชาวไทแสกทุกคน
3. บุคคลทีอยู่ท้องถิ่นอื่นได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่หมู่บ้านเดียวกันกับชาวไทแสกหรือที่เป็นลูกเขย ลูกสะใภ้ โดย “กวนเจ้า” ได้ทำพิธี “คอบเข้า”
ให้เป็นลูกหลานกับ “โองมู้”
แล้ว
4. ผู้เข้าร่วมในการประกอบพิธี จะเป็นบุคคลถิ่นอื่น ๆ หรืแขกผู้มีเกียรติก็ได้
วัตถุและสิ่งของที่ใช้ในการปกระกอบ “พิธีกินเตดเดน” หมายถึง
วัตถุและสิ่งของที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม
ซึ่งอาจเป็นเครื่องเซ่นไหว้ หรือภาชนะที่ใส่เครื่องเซ่นไหว้ในการประกอบพิธีกรรม มี 2 ประเภท คือ
เครื่องบูชา และเครื่องสังเวย
1. เครื่องบูชา
หมายถึง วัตถุสิ่งของที่จัดได้ว่าเป็นของสูง ใช้สำหรับเป็นเครื่องการบไหว้ บูชา จะประกอบด้วย
1.1 ธูปและเทียน
เป็นเครื่องไหว้ใช้จุดบูชาก่อนเริ่มพิธีกรรมต่าง ๆ
1.2 ดอกไม้
นิยมดอกไม้สีขาวเป็นส่วนประกอบของเครื่องบูชา
1.3 ขัน
5 ประกอบด้วย เทียน
5 คู่ ดอกไม้
5 คู่ เป็นการขอขมาในสิ่งที่กระทำล่วงเกินโดยไม่รู้ตัว
2.
เครื่องสังเวย หมายถึง เครื่องดื่ม ประเภทเหล้า น้ำหวาน
หมาก พลู ยาสูบ
อาหารคาวหวาน และอื่น ๆ
ที่ชาวบ้านนำมาถวายแล้วแต่ศรัทธา
มิได้บังคับในการนำอาหารคาวอาหารหวานมาร่วมพิธีของชาวบ้าน
ทุกๆจะมีครอบครัวชาวไทแสกหรือครอบครัวที่ถิ่นอื่น ๆ นำอาหารจำนวนมาก อย่างเช่น หม้อข้าวหม้อแกง หม้อขนมหวานใบใหญ่ ๆ
หรือขนมจีนน้ำยาน้ำพริก
เป็นจำนวนมากมายถวาย “โองมู้” และมาเลี้ยงชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ๆ ทุก ๆ ปี
บางครั้งเมื่อรับประทานแล้วก็ยังไม่หมด
ต้องห่อกลับบ้าน แสดงถึงความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ของ”โองมู้”
มีพ่อค้าต่างถิ่นมาทำพิธี “บ๊ะ”
และเมื่อประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการก็มาทำพิธี ”เก่บ๊ะ”บางคนเพื่อให้มีโชคลาภทางค้าขายทั้ง ๆ ที่แต่ก่อนค้าขายไม่ค่อยได้เท่าไหร่
แต่เมื่อมาทำพิธี”บ๊ะ” กับ “โองมู้”
ปรากฏว่าทำการค้าขายมีโชคมีลาภ
จึงมีความศรัทธาได้นำอาหารเป็นจำนวนมากมาร่วมพิธี “กินเตดเดน” ร่วมกับชาวไทแสกทุก ๆ ปี
สถานที่ในการทำพิธี “กินเตดเดน” จัดที่ศาลเจ้าเดนหวั่นโองมู้
ที่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ
อำเภอเมือง จังหวัดนคพน
วันเวลาในหารปกระกอบพิธีกินเตดเดน ปัจจุบันที่ดินที่เป็นสถานที่ทำพิธีกินเตดเดนนี้ เดิมเป็นที่ดินของบรรพบุรุษชาวไทแสก ชื่อ
หลวงอุปฮาด ได้เป็นผู้บริจาด
พิธีกรรมนี้จะกระทำในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน
3 ของทุกปี ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ในวันนั้น ชาวไทแสกทุกครอบครัวจะเตรียมอาหารไปถวายตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ
รวมไปถึงชาวไทแสกที่มีความจำเป็น บางครอบครัวต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่จังหวัดอื่น อันเนื่องมาจากแต่งงาน การประกอบอาชีพ
หรือการรับราชการ ชาวไทแสกเหล่านี้อยู่ไกลเพียงใดก็จะมาร่วมพิธีนี้ คุณยายดี
เล่าว่า
บางคนอยู่ถิ่นอื่นลืมวันทำพิธี
“กินเตดเดน”พอใกล้จะถึงวันก็มีเหตุมีลางสังหรณ์ให้ต้องการมาเยี่ยมถิ่นบ้านเกิดเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบ้านเกิดและต่อผู้มีพระคุณ
ขั้นตอนของพิธีกินเตดเดน
1. ทุกคนมาร่วมกันที่ “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้”
ในวันขึ้น 2
ค่ำ เดือน 3
ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปีชาวไทแสกที่อยู่ในหมู่บ้านอาจสามารถ หมู่ที่
5 หมู่ที่ 6 บ้านอาจสามารถ
ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ก็จะตระเตรียมสิ่งของไปที่ “ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้”เพื่อทำพิธีกินเตดเดน
ตามที่เคยกระทำมาเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยชาว ไทแสกจะไปร่วมพิธีทุก ๆ
ครอบครัว ถ้ามีเหตุสุดวิสัยก็จะฝากอาหารหวานคาวมากับเพื่อนบ้าน พิธีกินเตดเดนจะเริ่มเวลาโดยประมาณไม่เกิน 9
นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่มิได้นัดหมาย โดยจะร่วมพิธีจนถึงค่ำ เมื่อชาวไทแสกมาพร้อมกันจะช่วยกันจัดเตรียม แยกประเภทเครื่องบูชาที่เดี่ยวกับเครื่องบูชา เช่น
ดอกไม้ ธูปเทียน ขัน
5
เครื่องสังเวยก็จะแยกประเภทเหล้า
เครื่องดื่ม อาหารคาว
อาหารหวาน ผลไม้ หมากพลู ยาสูบ
เพื่อเตรียมสำหรับในการทำพิธี
2.
“กวนจ้ำ”
เริ่มพิธี
ก่อนเริ่มพิธี “กวนจ้ำ”จะจุดธูป จุดเทียน
และทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ”โองมู้”ที่เป็นบรรพบุรุษของชาวไทแสกมารับเครื่องสังเวยโดย
“กวนจ้ำ” จะทำพิธีเสี่ยงทาย
การทำพิธีเสี่ยงทาย
เดิม ใช้เงินสตางค์แดง 2
เหรียญ
ปัจจุบัน ใช้ไม้เรียกว่า “ไม้แตรว”
มีลักษณะเป็นไม้กว้าง 1 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว
ไม้แตรว ด้านที่ 1
ทาด้วยปูนสีขาว
ไม้แตรว ด้านที่ 2
ไม่ได้ทาด้วยอะไร เป็นตามธรรมชาติ
วิธีการเสี่ยงทาย ก่อนที่จะรู้ว่าวิญญาณ
บรรพบุรุษ “โองมู้”จะมารับเครื่องสังเวยหรือไม่นั้น “กวนจ้ำ”
จะทำพิธีโยนไม้แตรวทั้งสองอัน ถ้าไม้แตรวคว่ำทั้งคู่ แสดงว่าท่านไม่รับอาหารนั้น แต่ถ้าโยนไม้แตรวแล้ว หากคว่ำ 1 หงาย 1
แสดงว่าท่านรับสังเวยอาหารเท่านั้นก็จะให้ท่านสังเวยอาหารไปเรื่อย ๆ
3.
พิธีบวงสรวง โดยหารแสดงแสกเต้นสาก
รอบที่ 1 โดยหนุ่มสาว
ขั้นตอนต่อไป
ตอนนี้จะไม่เหมือนกับที่อื่น ๆ ชาวบ้านหรือกลุ่มหนุ่มสาวชาวไทแสกจะเริ่มพิธีกรรมเต้นสาก เพื่อเป็นการบวงสรวงถวาย “โองมู้”
เป็นการเซ่นไหว้และชมการแสดงแสกเต้นสากไปด้วย
โดยชาวไทแสกที่เป็นหนุ่ม ๆ สาว ๆ
จะมาร่วมแสดงแสกเต้นสากเพื่อเป็นการบวงสรวง “โองมู้” ในการแสดงแสกเต้นสากนี้ มีการเต้นจังหวะเร็วและจังหวะช้า หนุ่มสาวจะเย้าหยอกกัน
ผู้เฒ่าผู้แก่ก็ให้จังหวะ ปรบมือ
เป็นกำลังใจไม่ให้เต้นผิดพลาด
พรส้อสมทั้งปรบมือให้เข้ากับจังหวะของการกระทบไม้ไปด้วย พร้อมกับพูดภาษแสกหยอกล้อกัน
4.
“กวนจ้ำ” ทำพิธีเสี่ยงทาย
พิธีต่อไป เมื่อเห็นว่านานพอสมควรแล้ว “กวนจ้ำ” ก็จะทำพิธีเสี่ยงทาย “โองมู้”
ว่าอิ่มหรือยัง
โดยการโยนไม้แตรว ถ้าหงายเหมือนกัน
หรือคว่ำเหมือนกันแสดงว่า ยังมาอิ่ม การแสดงแสกเต้นสากก็ต้องแสดงต่อไปอีกประมาณ 5- 10
นาที
ถ้าทำพิธีเสี่ยงทายแล้วไม้แตรว
คว่ำก 1 อัน หงาย
1 อัน แสดงว่าอิ่มแล้ว จากพิธีการเสี่ยงทาย
ส่วนมากโยนไม้แตรวครั้งเดียวก็เสี่ยงทายว่า “โองมู้” อิ่มแล้วไม่เคยเกิน 2 ครั้ง
พิธีต่อไป เมื่อ “โองมู้” สังเวยอาหารอิ่มแล้ว “กวนจ้ำ”
ก็จะถอยอาหารนั้นออกมา
โดยให้กลุ่มหนุ่มสาวชาวไทแสกช่วยกันนำอาหารบางอย่างที่ท่านสังเวยเพราะอาหารที่ตั้งไว้นาน
ๆ อาหารนั้นจะจืดลง ก็ให้นำมาปรุงรสใหม่ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านก็จะนำมาจัดเป็นสำรับ เป็นชุด
ๆ ให้ชาวไทแสกทุก ๆ คนได้รับประทานอาหารร่วมกัน
เพื่อเป็นการรื่นเริงสนุกสนานร่วมกัน เป็นการพบปะทักทายกัน
ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนก็จะดื่มสุรากันจนเป็นที่ครึกครึ้นกันทั่วทุกคน
6.
ทุก ๆ คนในงานร่วมกันทำพิธีบวงสรวงแสดงแสกเต้นสากในรอบที่ 2
“ เต้นสาก” เป็นรอบที่สอง
การแสดงแสกเต้นสากในรอบนี้
จะไม่เจาะจงว่าเป็นหนุ่มสาว
ใครที่ต้องการร่วมสนุกสนาน
จะตีกลอง ตีฉาบ ตีฉิ่ง หรือจับไม้สากเคาะเป็นจังหวะ หรือร่วมเต้นสากก็ได้ เพื่อให้สนุกสนานและเป็นกันเอง
ใครถนัดร้องเพลงแสกก็ร้องปกระกอบจังหวะหนุ่มสาวก็จะหยอกล้อกัน
ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะพูดภาษาเย้าแหย่กัน หรือพูดปริศนภาษาแสกเป็นการทายปัญหากัน
ใครมีเครื่องตลกขบขันก็นำมาเล่าสู่กันฟัง ถ้ามีแขกรับเชิญที่ม่าจากถิ่นอื่นมาร่วมพิธีด้วยก็จะเชิญแขกร่วมเต้นสากด้วย
7.พิธีผูกข้อมือ”กวนจ้ำ”
เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะเรียกชาวไทแสกทุก ๆ
คนมาร่วมพิธีผูกข้อมือกวนจ้ำเพื่อเป็น
สิริมงคลให้ชีวิตรุ่งเรือง เมื่อผูกข้อมือให้พร “กวนจ้ำแล้ว” ผู้ใหญ่ก็ผูกข้อมือให้ผู้น้อย
ผู้น้อยก็ผูกข้อมือให้ผู้ใหญ่
พิธีผูกข้อมือนี้เพื่อเป็นสิริมงคลให้ชีวิตรุ่งเรือง
เป็นการแสดงความเคารพผู้อาวุโสกว่า
ผู้อายุน้อยก็จะรับพรที่เป็นคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่
ส่วนผู้น้อยผูกข้อมือให้ผู้ใหญ่โดยการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักรักษา คุ้มครองให้ผู้ใหญ่มีอายุยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ลูก ๆ หลาน ๆ ตลอดไป
8.
พิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุ
ผู้นำหมู่บ้าน
ปัจจุบันคือกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านก็จะประชุมนัดหมายชาวไทแสกทุก ๆ
คนร่วมขบวนทำพิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุที่ไม่ได้มาร่วม “พิธีกินเตดเดน” ในวันนี้เมื่อนัดหมายเสร็จแล้ว ชาวไทแสกทุก
ๆ คน จะช่วยกันเก็บกวาดสัมภาระต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อย ให้อยู่ในภาพปกติ
ก่อนแยกย้ายกันไปร่วมขบวน ชาวไทแสกทุก ๆ
คนจะเข้าไปกราบไหว้ลา”โองมู้”
เมื่อรวมกันเป็นรูปขบวนแล้ว ชาวไทแสกจะร่วมกันตีกลอง ร้องรำทำเพลงไปตามหมู่บ้านของ ชาวไทแสก
เพื่อไปทำพิธีผูกข้อมือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้เพื่อเป็นการให้กำลังใจ เป็นการแสดงความเคารพผู้สูงอายุที่มีอายุมาก ๆ
ถ้าขบวนผ่านบ้านใครจะมีผู้มอบสิ่งของแล้วแต่ศรัทธา เช่น เสื้อ
ผ้าขาวม้า สิ่งของเครื่องใช้ ขนม
นม หรือ เงิน
เพื่อนำไปมอบให้ผู้สูงอายุที่ไปผูกข้อมือ
เมื่อขบวนผ่านบางครอบครัวก็จะให้เป็นเหล้า
เพื่อให้ขบวนครึกครึ้นและสนุกสนาน ไปเรื่อย ๆ ในการรับสิ่งของบริจาด ชาวไทยจะมีคณะกรรมการทำหน้าที่รับและแบ่งแยกสิ่งของที่บริจาดมอบให้ผู้สูงอายุ
มากน้อยตามฐานะของบุคคลเพื่อเป็นน้ำใจจากลูกหลานชาวไทแสก
เมื่อไปครบทุกครัวเรือนแล้ว
คณะกรรมการหมู่ล้านจะแจ้งรายการบริจาด
แจ้งรายการที่มอบให้ผู้สูงอายุโดยการมอบสิ่งของนั้น
คณะกรรมการหมู่บ้านจะนำไปมอบให้ผู้อายุในวันรุ่งขึ้น ซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 รายรับที่ได้รับจากการบริจาดส่วนหนึ่งมอบเป็นเงินกองกลางเพื่อนำไปบูรณะสถานที่”ศาลเจ้าเดนหวั่วโองมู้” ต่อไป พิธีกินเตดเดนของชาวไทแสกก็เป็นอันเสร็จพิธี
(ผลจากสังเคราะห์ “สูจิบัตร กินเตดเดน” จารุณี น้อยนรินทร์
“ไปเฝ้าหวั่วโองมู้กับแทรก บ้านอาจสามารถ” วิจิตรา ขอนยาง.และบทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม :
2-4 เมษายน 2548)
2.4.2 พิธีเหลี่ยงมาง หรือพิธีเลี้ยงผี
เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ยึดถือกันมาแต่โบราณกาล โดยมีคุณยายเถิม หาวัง ซึ่งเป็นผู้สืบทอดประเพณีนี้มาจากบรรพบุรุษ
และเชื่อว่า
ถ้าไม่ทำพิธีนี้ก็จะมีอันเป็นไป
การทำพิธีเริ่มในเดือน 4 ขึ้น
4 ค่ำ
เครื่องใช้ในการประกอบพิธีกรรม
ได้แก มะพร้าวอ่อน 2 ลูก บายศรี
1 คู่ อาหารคาวหวาน ได้แก่ น้ำตาล
ขนม เหล้าขาว 1 ขวด เงิน 12 บาท (ค่าคาย) ไข่ไก่ 1 ฟอง ข้าวสาร เทียน
ดอกไม้ และฝ้าย 1 ม้วน
พันไว้รอบ ๆ ถ้วย
เริ่มพิธีกรรมโดยเชิญเจ้าหมื่นหัวดอนมาเข้าทรง
ขณะเข้าทรงจะมีการฟ้องง้าว(ตามโบราณ)
เล่นน้ำ เล่นแข่งเรือ (เรือกีบ) ผู้ที่ใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องสามารถสอบถามเรื่องราวที่อยากรู้
เรื่องที่ต้องตัดสินใจ หลังจากเล่นแข่งเรือกีบเจ้าหมื่นหัวดอนจะออกจากร่างทรง
2.4.3
พิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นพิธีกรรมที่ทำขึ้นเมื่อเจ็บป่วย
มีลางร้ายและฝันร้าย เป็นการส่งเคราะห์ ออกไปจากตัว จะได้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีหมอสะเดาะเคราะห์
ทำหน้าที่สวดปรือเป็นพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่สวด โดยมีอุปกรณ์ โดยมีอุปกรณ์ประกอบพิธี คือ กระทงสี่เหลี่ยม ทำด้วยกาบกล้วย
(เปลือกต้นกล้วย) สามารถวางลอยน้ำได้
ทำธงเท่ากับอายุของคนสะเดาะเคราะห์ปักประดับที่กระทงสี่เหลี่ยม หรือวางนอนไว้ในกระทงถ้าจำนวนมาก เครื่องบูชา ประกอบด้วย อาหารหวาน ได้แก่
ข้าวดำ ข้าวขาว ข้าวแดง (ข้าวเหนียวคลุกน้ำตาล) และคาว รวมทั้งน้ำให้จัดให้ครบถ้วน วาดหุ่นตัดเป็นรูปหุ่นโดยใช้กากกล้วย
(เปลือกต้นกล้วย)
เป็นสัญลักษณ์แทนคนทีสะเดาะเคราะห์ในกระทงอาจมีเงินหรือสิ่งของที่แทนสัญลักษณ์ของผู้สะเดาะเคราะห์ เช่น ของใช้เล็กน้อย ๆ และที่ขาดไม่ได้ คือ
ฝ้ายผูกข้อมือ ฝ้ายทำพิธีโค้งพันรอบๆ
กระทง พิธีจุดเทียน หมอสวดจะเป็นผู้สวด
และบางครั้งมีการประพรมน้ำมนต์ (บทสรุปจากกิจกรรสนทนากลุ่ม : 13-
15 เมษายน 2548)
2.4.4 พิธีสงกรานต์(พิธีกิ๊บบร่อกไหว่ถ้วน) วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จะพร้อมกันที่วัดทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูป
5 องค์ ลงสร้างที่อุปสงค์เวลา 12.00น. ทุกคนจัดน้ำหอมใส่ลงขันเพื่อมาสรง โดยเทลงที่รางเป็นรูปพญานาค
กล่าวอธิษฐานตามใจชอบ ต่อจากนั้นก็เล่นลาดน้ำกันระหว่างหนุ่มสาว
และได้นิมนต์พระสงฆ์สามเณรลงมานั่งที่เก้าอี้
ชาวบ้านจะสรงน้ำที่มือพระสงฆ์และบางทีก็เทสรงท่านทั้งตัวไปแลก
(จัดสรงให้ได้ 15 วัน)
เวลา 15.00 น.
กลุ่มหนุ่มสาวและเด็กพากันไปเก็บดอกไม้ที่มี่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดอกมันปลา ดอกคูณ ดอกกากะเลา (ดอกปีบ) ดอกสะหมั่ง
รูปขบวนจะตีกลองน้องรำ ทำเพลงไปด้วยโดยมีสามเณรน้อยนำหน้าไปเก็บดอกไม้ป่ามาคนละหนึ่งกำมือทุกคนพอสมควรแล้วก็นำไปเหน็บไว้รอบตาข่ายหอสรง และวางไว้ตรงหน้าพระพุทธรูปเป็นกองใหญ่ กราบ
3 ครั้งแล้ว อธิษฐาน และพากันกลับ
บางครั้งมีการเล่นสนุกสนาน หยอกล้อกันระหว่างหนุ่มสาว เช่น
เล่น โคลนแข่งขันเป็นเสาที่ทาด้วยโคลนใครปีนได้สูง และอยู่ที่เสานานจะเป็นผู้ชนะ
ตอนเย็นก็จะมาเที่ยวงานวัดตามที่มีบุญประจำปีในวันสงกรานต์ ส่วนมากมักจะเป็นรำวงหรือชมการละเล่นต่าง ๆ (บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม :13-
15 เมษายน 2548)
4.5 พิธีผูกเสี่ยว (โลกก่อนเก๋น) เกิดจากความรักใคร่ชอบพอ หรือมีความเข้าใจกันได้ในหลาย ๆด้าน
หรือถูกชะตากัน ในเพศเดียวกัน
หรือต่างเพศกัน และเกิดถูกชะตากัน ก็ผูกเสี่ยวกัน โดยจัดฝ้ายผูกแขน แล้วทำพิธีต่อหน้าผู้ใหญ่ สาบานกันว่าจะรักกัน ไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป ปรือจัดพิธีให้ใหญ่ขึ้นโดยทำพิธีสู่ขวัญ
มีญาติพี่น้อง แขก มาเป็นพยาน
อุปกรณ์ประกอบการบายศรีมีดังนี้
เหล้าขาว ไก่ต้ม ฝ้าย
หมากพลู พริก ขนม
มะเขือข้าวเหนียว
เมื่อทำพิธีผูกเสี่ยวเสร็จแล้วก็จะมีการฉลอง โดยร่วมกันดื่มเหล้า ร้องรำทำเพลง
โดยตีกลองเป่าแคนเป็นที่สนุกสนาน (บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม:13
-15 เมษายน 2548 )
2.4.6 พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นปกระเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวไทแสก ซึ่งทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวไทแสกถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญให้มาอยู่กับตัว
พิธีสู่ขวัญเป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เข้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป
การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่าง
ๆ ได้แก่ พานทองเหลือง และมีสัมฤทธิ์
(ขันลงหิน) หลาย ใบซ้อนกัน มีใบตอง
ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน)
โดยพาขวัญจะจัดเป็นชั้น ๆ คือ 3
ชั้น 5 ชั้น
(สำรับบุคคลธรรมดา) 7 ชั้น 9 ชั้น
สำหรับเชื้อพระวงศ์
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้
ข้าวต้มมัด ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น 2,3,4
ได้รับการตกแต่งด้วยบายศรีและดอกไม้ซึ่งมักจะเป็นดอกฝางดอกดาวเรือง ดอกรัก
ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า
อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที่ 5 จะมีบายศรี
และด้ายผูกข้อมือเทียนเวียรหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่น ๆ เช่น
ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า
1 ผืน
แพร 1 วา หวี
กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย
แหวนของผู้เป็นเจ้าของขวัญ
ด้วยสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน)
นั้นต้องเป็นด้ายดิบ
นำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่าคนธรรมดา วงละ 3 เส้น
ผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล 5 เส้น(อาชญา 5ขี้ข้า
3 )เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาดเป็นเส้น ๆ ห้ามใช้มีดตัด จะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ข้าง ๆ
พาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆแล้ว
ยังต้องมีแก้วน้ำเย็นแก้วใส่น้ำส้มป่อย
(กระถินป่า)และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่มหรือพ่นหรือจู่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญ
ซึ่งเรียกว่า ฮดฟาย
การสวดหรือ การสูตรขวัญ
พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่าง
ๆตามตำรา
เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้พราหมณ์ เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญ
ตั้งจิตอธิฐานของให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลัง ตั้งจิตอธิษฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ
จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้วอ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า “สัค
เค กา เม จ รูปเป”...จบแล้วว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวค่ำบูชาพระรัตนตรัย
ครั้งจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน
การสวดต้องให้เสียงขัดเจน สละสลวย ไพเราะ ฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะในการทำความดียิ่งขึ้น จึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัว ถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย
ถ้าได้ดีเลื่อนยศ
เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัว เมื่อสวดเสร็จ จะว่า “สัพพุทธานุภาเวน
สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวน สัพพโสตภี ภวันตุ เต
ยถา สัพพี ภวตุ สัพ “ ฯลฯ
เจ้าของขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ ถ้าอยู่หางก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อ ๆ
มาเป็นเส้นสายเหมือนเชือก ส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง
แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ
เมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ
เมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พรเป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูกเสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่ว ๆ
ไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ
ยผูนด้านผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี
ของศักดิ์สิทธิ์ควรรักษาไว้อย่างพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง 3 วัน
เสียก่อนจึงถึงออก เวลาทิ้งอย่าทิ้งลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นข้าวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลายดวง จึงควรรักษาไว้ให้ดี
ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษาไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์
ป้องกันอันตรายได้ เช่น
มีโจรมาปล้น
อธิฐานขอให้จิตทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิตใจให้คนรัก
– ใคร่ชอบพอได้
การผูกแขน (ผูกข้อมือ)
การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของขวัญควรประกอบด้วยองค์ 4 คือ
-ผู้ผูก หรือพราหมณ์
-ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
-ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
-คำกล่าวขณะที่ผูก
คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญ ซึ่งเป็นคำไพเราะ อ่อนหวาน
สุภาพ เรียบรัอย
มีความหมาไปในทางที่ดีงาม
โอพิธีสู่ขวัญมีหลายโอกาสช่น
คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์
สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย
สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวควาย (บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม : 28-29 เมษายน 2548)
2.5 การละเล่นของชาวไทแสก
2.5.1 พิธีล็องข่วง(พิธีลงข่วง) เป็นพิธีที่หนุ่มชาวไทแสกนิยมรวมกลุ่มกัน
ในเวลาเย็นหรือเวลาพลบค่ำ
รวมกลุ่มกัน ยกเป็นขบวน
มีการร้องรำทำเพลงไปบ้านสาวไทแสกที่หมายปอง
อุปกรณ์ดนตรีที่ใช้ประกอบในการร่วมขบวน
ประกอบไปด้วย กลองเลง ฆ้องฉิ่ง
เพื่อไปจีบสาวที่กำลังทำงานบ้าน
หลังจากที่รับประทานอาหารเย็นเสร็จ
เช่น สาว ๆ อาจจะนั่งเช็นฝ้าย นั่งต่ำหูก
นั่งดีดฝ้าย หรือทำงานบ้านอื่น
ๆ หนุ่มชาวไทแสก อาจจะมาช่วยสาวสาวทำงาน
เมื่อเวลาพอสมควรก็จะพากันกลับบ้าน พิธีลงข่วงนี้
หนุ่มสาวมักจะรวมกลุ่มกันในเทศกาลงานบุญต่าง ๆ จะมีประเพณีการสร้างตูบ หรือที่พักชั่วคราว ให้สาว ๆ
ที่อยู่ต่างบ้านหรือหมู่บ้านเดียวกันมานั่งพักผ่อน หรือพักนอนในตูบ แล้วหนุ่ม ๆ ชาวไทแสก
ก็จะพากันลงข่วง ตีกลองเลง ร้องรำทำเพลงเพื่อไปจีบสาว
ส่วนมากจะมีการก่อกองไฟและจุดขี้ไต้ขณะนั่งจีบสาว
2.5.2 แสกเต้นสาก
ในสมัยก่อนการเต้นสากของชาวไทแสก
ถือว่าเป็นการละเล่นประจำเฉพาะพิธีบวงสรวง “โองมู้”
ในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ชาวไทแสก
เรียกว่า “พิธีกินเตดเดน”
จะมีการแสดง “แสกเต้นสากถวายโองมู้” โดยใช้ไม้สากตีกระทบกันเป็นจังหวะ ไม้สากที่ใช้ตีในการเต้นสาก คือ ไม้สากที่เป็นสากตำข้าวในสมัยโบราณ แต่ขนาดยาวกว่า ตรงกลางเรียวเล็ก
ไม้รองพื้นสากจะใช้ไม้อะไรรองก่อนก็ได้
มีจำนวน 1 คู่
ขอให้มีขนาดเท่ากัน การเต้นไทแสก
แต่โบราณมานั้นมีความเชื่อกันว่าการเต้นสากนี้
ชาวไทแสกไม่อาจเผยแพร่หรือฝึกหัดหรือสอนให้ชนเผ่าอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโองมู้ไม่ได้
เพราะจะทำให้โองมู้ไม่พอใจ หากเผยแพร่หรือสอนให้คนนอนกเผ่าพันธุ์ออกไป จะทำให้เกิดความวิบัติในหมู่ชาวไทแสกเพราะมีความเชื่อว่า
โองมู้พึงพอใจให้มีการเต้นสากบวงสรวงประจำปีในประเพณีตรุษแสกหรือพิธีกินเตดเดน
เท่านั้น
ปัจจุบันถ้านำการเต้นสากไปแสดงเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ชมก็ต้องบอกกล่าวขออนุญาตจากโองมู้ก่อนโดยจัดขันห้าถวายเครื่องสังเวย เช่น หวังหมู่เหล้า และเงินกำนัล 20
บาทแล้วใช้วิธีเสี่ยงทาย
โดยโยนไม้แตรว 2 อัน หรือคว้ำทั้งสองอันก็ได้
และยังมีความเชื่อว่าการแสดงแสกเต้นสากเพื่อรับแขกบ้านแขกเมือง ผู้เต้นสากจะต้องเป็นชาวไทแสกโดยตรง และต้องทำพิธีบ๊ะก่อนที่จะแสดงทึกครั้งโดยมีเครื่องเซ่นสังเวย คือ หัวหมู
ในปัจจุบันการแสดงเต้นสากได้เริ่มแสดงเผยแพร่โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ
การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยติดต่อให้แสดงต้อนรับแขกต่างบ้านต่างเมือง
และปัจจุบันโรงเรียนชุมชนบ้านอาจสามารถ โดยมีอาจารย์เสาวภา
อินทรชัยได้นำเอาการเต้นสากมาสอนในกิจกรรมดนตรีนาฎศิลป์ เพื่อปรับให้เข้ากับการเรียนการสอนเพื่อสนอง
นโยบายตามหลักสูตรของกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
ซึ่งเริ่มปรับมาสอนในหลักสูตรและนำมาปรับปรุงเป็นการแสดงบนเวทีในงานต่าง ๆ
ตามคำเชิญชวน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการเต้นสาก
องค์ประกอบในการแสดง “แสกเต้นสาก”ประกอบไปด้วย
1.ไม้ประกอบทำเป็นจังหวะ
มี
- ไม้สากมีลักษณะทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2
นิ้ว ยาวประมาณ 3 เมตร
จำนวน 10-12 ท่อน การวางไม้สากจะจัดเป็นช่วง ๆ ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตรต่อ 1 คู่ ทั้งไม้รองพื้นสากและไม้สากทำด้วยไม้จริง
เพื่อให้มีความทนทานและทาขาวสลับสีแดงเพื่อให้แลเห็นชัดเจนและสวยงาม
- ไม้รองพื้นสาก มีขนาดใหญ่และยาวกว่าไม้สาก มี 1 คู่ ขนาดกว้างยาวเท่ากัน ยาวประมาณ 5 -7 เมตร
สำหรับเป็นฐานรองไม้สาก
|
|
2. จังหวะการตีสาก -
สมัยโบราณในการเคาะจังหวะจะใช้ไม้สากตำข้าว
ไม่มีการเตรียมไม้สากมาเคาะเป็นจังหวะได้เลย ปัจจุบันจังหวะการตีสาก จะมีหลายจังหวะด้วยกัน หากคนตีสากไม่เป็นและเต้นสากไม่เป็น หรือ เต้นไม่ถูกจังหวะ
ไม้สากก็จะตีกระทบขาคนที่เต้นให้เกิดความเจ็บปวดได้ จะไม่เหมือนกับรำลาวกระทบไม้ เพราะต้องฝึกและต้องใช้เวลานานพอสมควร
ซึ่งยากนักจะมีคนตีและเต้นได้เหมือนชาวไทแสก
เพราะจังหวะเร็วก็เร็วมาก
ถ้าไม่ฝึกจนชำนาญ จะไม่สามารถเต้นได้
การเต้นสากของชาวแสกนี้มิใช่ว่าจะนำไปแสดงได้ตลอด
ก่อนที่จะนำไปแสดงที่อื่นจะต้องทำพิธีขออนุญาต “โองมู้” เสียก่อน โดยให้ “กวนจ้ำ” เป็นผู้เสี่ยงทายขออนุญาต “โองมู้” ถ้า”โองมู้ อนุญาตจึงไปแสดงได้
ถ้าไปแสดงโดยไม่ได้ของอนุญาตก็จะมีเหตุให้มีอันเป็นไป เช่น ทำให้เจ็บไข้ไม่สบายโดยหาสาเหตุไม่ได้
3. ดนตรีที่ใช้ประกอบจังหวะ ส่วนมากเป็นดนตรีพื้นบ้าน เช่น
แคน กลองยาว กลองเล็ก ฆ้อง พังฮาด (มีลักษณะคล้ายฆ้อง ตรงกลางจะนูนเป็นวงกลม) ฉิ่งฉาบ ผู้ให้จังหวะส่วนมากจะเป็นผู้ชาย
- แคน เป็นดนตรีที่ใช้ปาก เป่าให้เป็นเพลงที่มีเสียงไพเราะ
การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้างบังคับเสียง
ทำให้เสียงแคนที่ออกมานั้นมีทำนองเพลงเสียงประสาน
เสียงสอดแทรกแสดงถึงอารมณ์
และความรู้สึกต่าง ๆ อย่างพร้อมมูล
- กลองยาว เป็นกลองหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุน ตอนปลายจะเรียวและบานออก มีสายสะพายแห่เป็นขบวน
ตรงกลางหน้ากลองนิยมถ่วงด้วยข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าคลุกกับขี้เถ้าทำให้เหนียวแล้วติดกลางหน้ากลอง ทำให้เสียงหุ้มไพเราะยิ่งขึ้น
- กลองโทนหรือกลองยาวขนาดสั้น
ใช้ตีประกอบกับฉิ่งและแคน
- ฉิ่ง
เป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ทำจากโลหะผสม มีเสียงกังวานไกล
เสียงดังฉิ่งใช้ตีบอกจังหวะตามความช้า
เร็วของเพลงที่ตามกำหนด มีลักษณะคล้ายฝาขนมครกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7
เซนติเมตร มีความหนาพอสมควร
ตรงกลางมีรูร้อยเชือกติดกันเป็นอยู่
4. ผู้แสดงแสกเต้นสาก
-1) ประกอบด้วย ผู้ทำหน้าที่เคาะไม้สาก จะนั่งตรงข้ามจับคู่กันประมาณ 5 -7
คู่ แล้วแต่ความยาวของไม้สาก
จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ 2) ผู้เต้นสาก ทำที่เต้นประกอบการฟ้อน มีท่าหลักคือ
ท่าลอยลม คำสอดสร้อย ท่ากาตากปีกและที่พรหมสี่หน้า ลักษณะการเต้นมีการเต้นเดี่ยว เต้นคู่ในทิศทางเดียวกันและลีลาการเต้นสลับสวนทิศทางกัน จังหวะการเต้นมีจังหวะช้าและจังหวะเร็ว ผู้เต้นสากแต่เดิมมีแต่ผู้หญิง
ปัจจุบันผู้เต้นสากมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
3)
ผู้ร้องเนื้อเพลงภาษาแสกประกอบดนตรี
จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้
5.
เครื่องแต่งกายในการแสดง -
ผู้ชายใส่เสื้อสีดำแขนสั้น
ฝ้าย้อมหม้อสีครามเสื้อคอกลมติดกระดุมด้านหน้า กางเกงขาก๊วย
หรือขาครึ่งท่อน ผ้าคาดเอว เป็นผ้าขาวม้า เป็นลายตะล่องสีแดง
ส่วนผ้าพาดบ่า ใช้ผ้าสีแดงล้วน
ผู้หญิงใส่เสื้อแขนยาวสีดำ ผ่าอก ติดกระดุมด้านหน้า ผ้าถุงสีดำมีเชิงที่ปลายผ้าถุง ผ้าถุงยาวกรอมเท้า
ผ้าคาดเอวนิยมเป็นผ้าลายเดียวกันกับลายเชิงผ้าถุง ผ้าเบี่ยงซ้าย
นิยมใช้ผ้าสีแดง นิยมใส่ตุ้มหู กำไลแขน กำไลขา และสร้อยขา
และสร้อยคอ
นิยมไว้ผมยาวเกล้ารัดมวย
6.
เนื้อร้องเพลงภาษาแสก แต่เดิมการเต้นสากไม่มีเนื้อร้อง
ปัจจุบันได้วิวัฒนาการนำเอาเครื่องดนตรีสากลและร้องเพลงภาษาแสกประกอบการแสดงเต้นสาก ผู้ร้องเพลงประกอบมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย (รายละเอียดเรื่องเอกลักษณ์เพลงไทแสก
หน้าที่ 89
7.
ท่ารำการเต้นสาก
การเต้นสากปัจจุบันเต้นทั้งหญิงและชาย
ท่ารำที่ใช้ประกอบการเต้นสากจะใช้ท่าหลัก
ซึ่งมีทั้งหมด 4 ท่า ชายหญิง จะใช้ท่าเดียวกันทุกท่า
(รายละเอียดเอกลักษณ์การรำ หน้าที่ 93)
ขั้นตอนการรำเต้นสาก ประกอบไปด้วย
การรำเต้นสาก แบ่งจังหวะการรำออกเป็น 2
จังหวะ คือ จังหวะช้า และจังหวะเร็ว
ท่ารำที่ 1
ท่ารำใช้ท่าสอดสร้อยมาลา
เดินอ้อมหลังคนเคาะไม้
1.1 แถวชาย แถวหญิง เดินขึ้นอ้อมหลังไม้เคาะจังหวะ
1.2 สวนแถว แล้ว
เดินขึ้นอ้อมหลังคนเคาะไม้ให้จังหวะ
ท่ารำที่ 2
เข้าไม้เคาะจังหวะ ใช้ท่าสะบัดจีบ
-
มือซ้ายจีบปล่อยหงายข้างตัวด้านซ้าย มือขวาจีบค่ำลงข้างตัวด้านขวา
-
พลิกมือซ้ายตั้งวง
พร้อมทั้งกับพลิกจีบมือขวาขึ้น
-
ลักษณะของเท้า ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
ปฏิบัติซ้ำตลอดการเข้าไม้
ท่ารำที่ 3 ใช้ท่ารำที่
2.1 , 2.2 , 2.3
ท่ารำที่ 4 ใช้ท่ารำที่
2.1 , 2.2 , 2.3 เข้าไม้เคาะที่ 1 , 2 กลับออกมาจากไม้ในจังหวะที่ 3 , 4
คู่ที่ 1
เข้าไม้เคาะจังหวะ ไม้ที่ 5
คู่ที่ 2
เข้าไม้เคาะจังหวะ ไม้ที่ 1
ท่ารำที่
5 ใช้ท่ารำที่ 2.1 , 2.2 , 2.3 เต้นเดียวสวนทางกัน ให้ฝ่ายหญิงคนที่ 1
และคนที่ 3 เข้าไม้เคาะจังหวะก่อน
เมื่อฝ่ายหญิงเต้นออกจากไม้แล้ว
ฝ่ายชายคนที่ 1 และคนที่ 3 เข้าไม้เคาะจังหวะต่อสลับกัน โดยเรียงลำดับดังนี้ ฝ่ายหญิงคนที่ 1 และคนที่ 3
ต่อด้วยฝ่ายชายคนที่ 1 และคนที่ 3 ต่อด้วยฝ่ายหญิงคนที่ 2 และคนที่ 4
ต่อด้วยฝ่ายชายคนที่ 2 และคนที่ 4 ท่ารำที่ 6
เข้าไม้เคาะจังหวะ โดยใช้ท่ารำที่ 2.1 ,
2.2 , 2.3 ให้คู่ที่ 3 และคู่ที่ 4 ทำท่าสอดสร้อยมาลารอ คู่ที่ 1 และคู่ที่ 2
จากนั้นคู่ที่ 1 – 2 เดินอ้อมหลังคนเคาะไม้ให้จังหวะ
ตามด้วยคู่ที่ 3 – 4
ท่ารำที่
6.1 เมื่อคนรำคู่ที่ 1 มาอยู่หลังไม้ที่ 5
คนเคาะไม้คู่ที่ 1 เริ่มเคาะไม้จังหวะเร็ว ตามด้วยคู่ที่ 2 คู่ที่ 3 คู่ที่ 4
และคู่ที่ 5 เรียงตามลำดับ
แถวคนรำฝ่ายหญิง และฝ่ายชายเดินสวนแถวขึ้น
คนรำปฏิบัติท่าสร้อยลอยลม
ท่ารำที่
6.2
คนรำฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเดินสวนกันหลังคนเคาะไม้คู่ที่ 1 แล้ว
เดินอ้อมหลังคนเคาะไม้ให้จังหวะ
ท่ารำที่
6.3 สวนแถวแล้วเดินลงอ้อมหลังไม้เคาะจังหวะ
เหมือนท่ารำที่ 6.1
ท่ารำที่ 7
ฝ่ายหญิงจะนำเข้าไม้ตามด้วยฝ่ายชาย
โดยใช้ท่ากาดากปีก ต่อจากนั้นเดินอ้อมลงหลังคนเคาะไม้ให้จังหวะ
ใช้ท่าสอดสร้อยมาลา
ท่ารำที่ 7.1 ให้คู่ที่ 3 , 4 เข้าไม้ต่อไปอยู่ด้านหน้าคู่ที่ 1
โดยใช้ท่ากาดากปีก
เวลาใช้ไม้เคาะจังหวะ คู่ที่ 1 , 2
รออยู่หลังไม้เคาะจังหวะ คู่ที่ 5
ใช้ท่าสอดสร้อยมาลา
ท่ารำที่ 8 ชายและหญิงคู่ที่ 1
เข้าไม้ โดยใช้ท่ารำที่ 2.1 , 2.2 , และ 2.3 จะหมุนรอบตัวในไม้เคาะจังหวะที่ 1 , 3
, 5 เวลากลับ เต้นธรรมดาไม่ต้องหมุนรอบตัว
จากนั้นก็จะตามด้วยคู่ที่ 3 , 2 และคู่ที่ 4 โดยปฏิบัติทีละคู่
ท่ารำที่ 9
ใช้ท่าสอดสร้อยมาลารอเข้าไม้เคาะจังหวะ
คู่ที่ 1
ในจังหวะที่ 1 เข้าไม้โดยใช้เท้าขวา
จังหวะที่ 2
ออกจากไม้จังหวะที่ 3 เข้าไม้
จังหวะที่ 4 ออกจากไม้แล้วยกเท้าขวาขึ้น
ท่ารำที่ 10 คู่ที่ 3 , 4
อ้อมหลังคนเคาะไม้ให้จังหวะ
ใช้ท่ารำสอดสร้อย
จากนั้นวนเข้าไม้ให้จังหวะตามคู่ที่ 1 , 2 ใช้ทำสลับจีบ จากนั้นใช้ท่ารำที่ 9.1 ไปกลับ 9
ครั้ง ครั้งที่ 10
หมุนรอบตัวเองพร้อมกันทั้งหมดเหมือนท่ารำที่ 9.3 (ไม้ที่ 3)
ท่ารำที่ 11
เมื่อออกจากไม้เคาะจังหวะแล้ว
จึงเปลี่ยนเป็นท่าสอดสร้อยมาลาวนกลับไปทางเดิม
8.
จังหวะการกระทบไม้สาก
จังหวะการกระทบไม้สากในสมัยโบราณ
ในการกระทบจังหวะจะสม่ำเสมอจะใช้ไม้สากตำข้าว
ไม่มีการเตรียมจับไม้สากมากระทบเป็นจังหวะมาก่อนปัจจุบัน การกระทบไม้สากจะมีอยู่หลายจังหวะด้วยกัน หากคนกระทบไม้สากไม่เป็นและเต้นสากไม้เป็นหรือไม่ถูกต้องจังหวะแล้ว
ไม้สากก็จะตีกระทบเท้าคนเต้นให้เกิดบาดเจ็บได้
ดังนั้นคนเต้นสากจะต้องใช้เวลาในการฝึกเต้นสากนานพอสมควร
ซึ่งยากนักจะมีกระทบไม้สากและเต้นสากได้เหมือนชาวแสก เพราะในจังหวะเร็ว คนกระทบก็จะเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นกว่าเดิม
ถ้าคนเต้นสากไม่ได้ฝึกฝนจนชำนาญก็ไม่สามรถเต้นสากได้ จังหวะการกระทบไม้สากสามารถแยกได้ดังนี้
8.1
จังหวะแบบที่ 1 เริ่มด้วยการกระทบไม้สากอย่างเดียวไม่มีเครื่องดรตรีประกอบ ด้วยจังหวะสม่ำเสมอคงที่ คือ ถ่างไม้สากออกแล้วกระทบลงบนไม้ขอนพร้อม ๆกัน
3 ครั้งแล้วจึงรวบไม้สากกระทบกันเอง 1
ครั้ง เช่นนี้ติดต่อกันไปโดยตลอด จังหวะที่กระทบไม้สากลงบนไม้ขอนก็คือ
ตอนที่จะเข้าไปอยู่ในระหว่างไม้สากคู่ใดคู่หนึ่งนั้นเองและจะต้องออกจากคู่ไม้สากก่อนที่จะถึงจังหวะเร็งไม้สากจะกระทบกันความเร็วของจังหวะกระทบโดยประมาณ
คือ
จังหวะกระทบก็จะเร็วและกระชั้นมากขึ้นอีก
ขีดจังหวะกระทบไม้สากดังนี้
///+///+///+///+///+///+
เครื่องหมาย
/ เป็นสัญลักษณ์ในการถ่างไม้ออกแล้วกระทบกับไม้ข่อน
เครื่องหมาย
+ เป็นสัญลักษณ์ของการกระทบไม้สาก
8.2
จังหวะแบบที่ 2 เป็นการกระทบไม้เท่านั้นโดยไม่ใช้ดนตรีประกอบ แต่เพิ่มจังหวะพักหลังจากที่กระทบไม้สาก ได้ทุก
7 ครั้ง
การเต้นเข้าและการเต้นออกจากไม้สากก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ
เท้าที่เต้นเข้าและเต้นออกระหว่างไม้สากแต่ละคู่จะเต้นตามจังหวะไม้สากแยกห่างกันและกระทบลงบนไม้ขอนแล้วออกจากไม้สากคู่นั้นก่อนจะถึงจังหวะรวมไม้สากกระทบกัน ขีดจังหวะการกระทบไม้สากได้ดังนี้
///+///+///+///+///+///+///+///+
8.3
จังหวะแบบที่ 3 เริ่มใช้เครื่องดรตรีแบบง่าย ๆ ประกอบคือ ฉิ่งและหลอง
อย่างละชิ้น
ใช้ตีประกอบจังหวะไม้สากให้ฟังแล้วครึกครึ้นยิ่งขึ้น จังหวะกระทบไม้เช่นเดียวกันกับจังหวะแบบที่ 2
เพียงแต่มีเสียงฉิ่งและกลองเพิ่มขึ้น
8.3.1 จังหวะกลอง
ตี ตุงตุงต๊บ ตุง ตุงต๊บ
ตามจังหวะพร้อมการกระทบไม้สาก
และจะหยุดไม่มีในจังหวะพัก
8.3.2 จังหวะฉิ่ง
8.3.2.1 ตีฉิ่ง- ฉับ ทุกจังหวะการกระทบสาก รวมทั้งจังหวะพักก็จะดีเป็นเสียงฉิ่ง(คือจะเริ่มตี ฉับ
ที่กระทบไม้สากครั้งแรกของแต่ละช่วงนั้นเองง)
8.3.2.2 ตีฉิ่งฉิ่งฉิ่บ ฉิ่งฉิ่งฉับ
พร้อมกับกระทบไม้สากทุกครั้งตรงจังหวะพักไม่กระทบไม้สากจะตีลง เสียงฉิ่ง
8.3.2.3 ตีฉิ่งฉับฉิ่งฉับฉิ่งฉิ่งฉิ่งฉับ พร้อมกับกระทบไม้สากทุกครั้งตรงจังหวะพักไม่กระทบไม้สากจะตีลง เสียงฉิ่ง
8.4 จังหวะแบบที่ 4 กระทบไม้สากแบบเดียวกับจังหวะแบบที่ แล้วเพิ่มกลองตีตุงตุงตุงตุ๊บ ตุงตุงตุงตุ๊บไปพรัอมกับกระทบไม้สากทุกครั้ง ส่วน ฉิ่งนั้นตี ฉิ่ง-ฉับ
โดยตลอดพร้อมกับกระทบไม้สากทุกครั้งเช่นกัน
การเต้นเข้าและออกระหว่างไม้สากแต่ละคู่ก็เช่นเดียวกับจังหวะแบบก่อน ๆ
ที่กล่าวมาแล้วเมื่อเล่นเต้นสากกันมาถึงจังหวะที่ 4 นี้
จะเกิดความสนุกสนสนตื่นเต้นเร้าใจมาก
จรทั้งผู้แสดงและผู้ชมต่างโห่ร้องตลอดเวลาและเมื่อจบจังหวะ ที่ 4 เป็นการจบการแสดง (ผลจากการสังเคราะห์ “แสกเต้นสาก”ชิษณูพงศ์ พลหาราช “แสกเต้นสาก” ณรงศ์ ป้อมบุบผา “ประเพณีแสกเต้นสาก” กวี ศรีสรรค์ และบทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม: 4-10
พฤษภาคม 2548)
2.5.3 หมากโอหล่าง
เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของเด็กในพื้นที่จังหวัดนครพนม แต่ในปัจจุบันกำลังจะ
เลือนหายไปจากความทรงจำแล้ว
เนื่องจากไม่มีผู้สืบทอด
เพราะสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย จะหลงเหลือการละเล่น “หมากโองหล่าง”
อยู่เฉพาะท้องถิ่นที่ห่างไกลจากตัวเมืองเท่านั้น เช่น
บ้านอาจสามารถ การละเล่นหมากโอหล่าง
เป็นการใช้ภูมิปัญญาของผู้นำครอบครัว
ที่คิดหากิจกรรมการเล่นให้แก่ลูกหลานแล่นอยู่บ้านไม่เที่ยวซุกซนไปที่อื่น
ซึ่งจะทำให้การดูแลลำบาก
เพราะพ่อแม่ต่างก็ไปทำไร่ทำนา
ต้องปล่อยให้ลูก ๆอยู่บ้าน
โดยการดูแลของพี่ ๆ ที่พอจะดูแลน้อง ๆ ได้
พี่ ๆก็จะพาน้องเล่น “หมากโองหล่าง”
นั่งอยู่กันที่
บางที่เล่นกันเพลินจนถึงครึ่งวันก็มี ทำให้เด็ก ไม่หนีไปไหน
จึงปลอดภัยไม่ยุ่งยากต่อการดูแลเด็ก ๆ เลย
อุปกรฯการเล่น
1) ลูกหินกรวด
หรือวัตถุที่เป็นเม็ดโตเท่าหัวแม่มือ
จำนวน 50 เม็ด (เรียกว่าเบี้ย)
2) หินก้อนโต
หรือจะใช้วัตถุอื่น ๆ ขนาดเท่าลูกมะกอก
จำนวน 2 ก้อน (เรียกว่าหมากกะโปก)
3) ตารางหมากโอหล่าง ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะเล่น
ถ้าเป็นลานดินก็ใช้ไม้ขีดดินให้เป็นตาราง
หรือถ้าเป็นพื้นกระดานไม้ก็ใช้ถ่านขีดให้เป็นตารางข้างละ 5
ช่อง ส่วนหัวท้ายขีดเป็นโค้ง
ผู้เล่น เกมนี้เล่นได้ที่ละ 2 คน
อาจมีการแพ้คัดออกให้ผู้อื่นเข้ามาเล่นกับผู้ชนะในรอบต่อไปก็ได้
วิธีการเล่น
1.
เมื่อเตรียมอุปกรณ์การเล่นครบทุกรายการแล้ว ผู้เล่นทั้ง
2 คน จะนั่งอยู่คนละฟากหันเข้าหาตาราง
2. ช่องที่ขัดไว้เป็นตารางจะมี 10
ช่อง ฟากละ 5 ช่อง
ให้วางหินเล็ก ซึ่งเรียกว่าเบี้ย
ช่องละ 5 ก้อน 10 ช่องจะใช้หินรวม
50 ก้อน ก้อนละ 1 คะแนน
3. ส่วนท้ายของตารางที่มีรูปครึ่งวงกลมนั้น
เรียกว่าหัวกะโหลก ก็ให้วางก้อนโตเรียกว่า หมากกะโหลก ข้างละ 1
ก้อน
4. เมื่อวางอุปกรณ์ครบทุกช่องแล้ว ผู้เล่นจะต้องเสี่ยงทาย หรือหาผู้ที่จะลงมือก่อน
โดยการจับไม้สั้นไม้ยาวหรือวิธีการสมัยใหม่ เช่น ป่าวยิงฉุ่ม ก็ได้
5. เมื่อผู้ชนะได้เล่นก่อน
ก็พิจารณาจะจับหินเบี้ยกองใดก็ได้ที่อยู่ฟากของตนนำหินเบี้ยทั้งห้าก้อนวางลงตามช่อง ๆละ 1 ก้อน จะเดินไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ตามที่ต้องการ
6. เมื่อวางหินทั้ง 5
ก้อนแล้วก็หยิบกินเบี้ยกองถัดไปวางช่องละ
1 ก้อนเช่นเดิมแต่มีข้อว่าหากหินเบี้ยใบ้สุดอยู่ที่ช่องที่ติดกับหัวกะโหลก
จะ “ตึ้ง” คำว่า
“ตึ้ง”
มีความหมายว่าเดินต่อไปอีกไม่ได้ เพราะจะหยิบกองดินที่มีลูกกะโหลกเดินไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเดนิต่อผลัดเปลี่ยนกัน แต่ถ้าไม่คิดช่องตึ้ง ก็หยิบก้อนใหม่วางเรียงไปทีละ 1 ก้อน
เรื่อย ๆ จนหินในมือหมด ถ้าหินหมดช่องต่อไปว่างลงก็จะใช้มือข้างหนึ่งตบลงช่องว่าง
แล้วกินเบี้ยกองที่อยู่ช่องถัดไป
นำหินเบี้ยที่กินมาวางไว้หน้าตักตัวเอง
หากช่องต่อไปว่างอีกก็ตบช่องว่าง
แล้วกินกองหินเบี้ยนั้นต่อไปเรื่อย ๆอาจกินถึง 3-4 ชั่วโมงก็มี
ถึงแม้จะเป็นช่องหัวกะโหลกที่มีลูกกะโปกอยู่ก็กินได้
7. เมื่อหมดที่จะกินแล้ว
ก็เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้เป็นผู้เล่นด้วยการเลือกหยิบหินเบี้ย
ฝ่ายของตนเดินหมากไปเช่นเดิม
ถ้ามีช่องว่างก็ตบกินเหมือนกัน
จนหินหมดทุกช่องก็เป็นจบเกมกันไป
8. เมื่อจบเกมแล้ว แต่ละฝ่ายก็นับจำนวนหินไล่คะแนน
ใครได้มากก็ชนะได้รางวัล เป็นการเขกหัวเข่าหันแล้วก็เล่มเกมกันใหม่
9.
ในกรณีที่หมากกะโปกถูกกินหมดก่อน หินเบี้ยที่ยังเหลืออยู่ก็สามารถเดินไปเรื่อย ๆ
ได้
ยกเว้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดเบี้ยเดินก่อนถือว่าจบเกม
เบี้ยที่เหลืออยู่อีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายนั้น
10. การเล่นอาจใช้ครั้งเดียวจบแบบแพ้คัดออก หรือชนะ
2 ใน 3 หรือ 3 ใน 5 ก็ได้ตามแต่จะมีข้อตกลงกัน
ประโยชนข้อคิดที่ได้จากการเล่น
1. เป็นกุลโลบายของผู้ใหญ่
ซึ่งเป็นพ่อแม่วางแผนให้ลูก ๆ เล่นอยู่กับที่ไม่ซุกซนไปที่อื่นให้เป็นห่วง ยากต่อการดูแลขณะพ่อแม่ทำงา
2.
เป็นการคิดเกมให้เด็กได้ใช้ความคิดและไหวพริบในการคิดคำนวณว่าเบี้ยกองใด
เมื่อเรียงไปทางใดทางหนึ่งแล้วจะได้ตบกินเบี้ยให้ได้มากที่สุด
3. เป็นเกมที่สร้างความเพลิดเพลินและเกิดสมาธิด้วย
4. เป็นเกมที่ง่าย สามารถหาอุปกรณ์ง่าย ๆ
ในท้องถิ่นได้โดยไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
5. เป็นเกมที่ทุกคนสามารถ จับคู่กับเล่นได้
ไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้อื่นเล่นจนจบเกม
เพียงแต่หาคู่หาอุปกรณ์ได้ครบก็ตั้งวงเล่นเกมกันได้เลย
จะเห็นได้ว่าเกมการเล่น “หมากโองหล่าง
“
เป็นเกมที่ง่ายและน่าสนใจ นำมาให้เด็ก ๆ เยาวชนได้เล่นสืบต่อกันไป
เป็นการเล่นของเด็กที่น่าอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ( บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time
line) :22-23 พฤษภาคม 2548)
2.5.4 บั้งขึ้น เริ่มเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด
จะมีการละเล่นเฉพาะในหมู่ชนเผ่าไทแสก
บ้านอาจสามารถเท่านั้น โดยมีนายวินัย บุญอาจ และนายชนะ สุสิงห์ ราษฎร บ้านอาจสามารถ หมู่ที่ 5 เป็นผู้นำในการละเล่น
“บั้งขึ้น “
ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว
แต่ก็ยังมีคนรุนใหม่สืบทอดการละเล่นประเภทนี้ต่อ ๆ มา โดยการศึกษาขั้นตอนการละเล่น การใช้คาถาอาคมประกอบการเล่น
ซึ่งชาวบ้านยอมรับและยกให้เป็น “หมอครู”
จนถึงปัจจุบัน คือนายประสิทธ์
ทักษิณ อายุ 57 ปี
ราษฎรบ้านอาจสามารถ หมู่ที่ 6
สำหรับสาเหตุของการตั้งชื่อ “บั้งขึ้น “ สันนิษฐานว่า ตั้งชื่อตามลักษณะการตั้ง “บั้ง” หรือกระบอกไม้ไผ่ในแนวตั้ง และขณะผู้เล่นกดให้”บั้ง”ลงสู่พื้นดิน แต่ “บั้ง”
กลับลอยขึ้นสู่ที่สูงเหมือนมีแรงดัน จึงเรียกว่า “บั้งขึ้น”
จำนวนผู้เล่น ประกอบด้วยคนจำนวน 3 คน
เป็นหมอครู 1 คน
ผู้เล่นที่เป็นชายหนุ่ม 2 คน
อุปกรณ์การเล่น
1. กระบอกไม้ไผ่ขนาดพอเหมาะยาว 3 หลัง
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 เซนติเมตร
ภายในเจาะข้อให้ทะลุเหลือข้อไว้เฉพาะข้อสุดท้าย
2. ถ่านไฟเก่าที่หลงเหลือจากการเผาศพ ที่ผ่านมาหาได้ในบริเวณฌาปนกิจนั้น ๆ
วิธีเล่น
1.
คัดเลือกชายหนุ่มที่มีร่างกายสมบรูณ์แข็งแรง 2 คน
ถอดเสื้อพร้อมที่จะเล่นสวมกางเกงขาสั้นได้ยิ่งดี
สมัยก่อนนุ่งผ้าขาวม้าขัดเดี่ยวก็มี
2. “หมอครู”
นำไม้ไผ่มอบให้ผู้เล่นตั้งจัดประทับเข้ากับบ่าข้างที่ถนัด (ทั้ง 2 คน ต้องถนัดข้างเดียวกัน)
ให้ปากกระบอกตั้งขึ้น กระบอกจะอยู่ในแนวดิ่ง โอนกระบอกให้อยู่สูงกว่าผิวดิน
ประมาณ 30 เซนติเมตร มือทั้ง 2
ข้างของแต่ละคนจับที่บั้งไม้ไผ่ในท่าที่ถนันและเหมาะมือที่สุด ก็เป็นอันว่าเตรียมพร้อมที่จะเล่นได้แล้ว
3. “หมอครู นำก้อนถ่านมา 7 ก้อน
พนมมือ ท่องคาถา 7 จบ
(คาถาหมอครูไม่ขอเปิดเผย) แล้วเป่าลงที่ถ่าน จากนั้นก็ทิ้งถ่านลงไปในกระบอกหรือยั้งที่ผู้เล่นจับไม้อยู่
4. หมอครูใช้มือปิดที่ปากบั้งกดลง และโยกหมุนวนไปมาพร้อมกับสิ่ง “กดบั้งลง’”
5. ผู้เล่นก็ใช้แรงกดของตนกดบั้งลงสู่พื้นดินให้ได้ แต่ดูเหมือนบั้งจะลอยขึ้น ทำให้ผู้เล่นแปลกใจไปตาม ๆกัน
6. เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 คน
กดบั้งไม่ลงจนเหนื่อยก็จะให้หมอครูใช้มือปิดปากกระบอกไม้ไผ่ เพื่อให้บั้งขึ้นหมดกำลัง จึงหยุดเล่น
แล้วเปลี่ยนให้ชายหนุ่มคู่ใหม่ประกบคู่เล่นต่อก็ได้โดยให้หมอครูแสกคาถาใส่ถ่านให้เหมือนคู่ก่อน
ๆ คู่หนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที่ก็เลิกเล่นกันไป
โอกาสที่เล่นบั้งขึ้น ใช้เล่นในขณะที่ไฟเผาศพกำลังลุกไหม้
ประโยชน์หรือแง่คิดที่ได้จากการละเล่น
1. ผู้ชมและผู้เล่นมีความเชื่อว่าการที่กดบั้งไม่ลง
แต่บั้งมีลักษณะจะดันขึ้นข้างบน
ทวนกระแสแรงกดนั้นเหมือนวิญญาณของผู้ตายได้ล่องลอยขึ้นสู่สรสงสวรรค์แล้ว ทำให้ญาติมิตรเกิดความสบายใจ ไม่ห่วงมากนัก
2. ได้ข้อคิดว่าในสังคมของมนุษย์
คนทุกคนดวงชะตาจะต้องมีขึ้นมีลง การขัดแย้ง การฉุนดึงย่อมมีเป็นธรรมดา การเล่นบั้งขึ้นแสดงให้เห็นถึงสัจธรรมข้อนี้
แง่คิดทางคติทางโลก
1. ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการละเล่น
ไม่โศกเศร้ากับงานศพมากเกินไป
2. ได้แนวคิดให้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง จะได้ถูกคัดเลือกให้ร่วมกิจกรรมการเล่น “บั้งขึ้น” ก็เป็นการสอนให้คนดูแลรักษาตัวเองทางอ้อม จะได้มีอายุยืน
3.
เปิดโอกาสให้คนได้ออกำลังกายและทดสอบสมรรถภาพของตนเอง
4. ให้ผู้เล่นและผู้ชมรู้ ยอมรับในกฎกติกาที่สังคมกำหนด
5. ให้เป็นผู้มีความคิด ใช้วิจารณญาณในการค้นหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่า
หารละเล่น “บั้งขึ้น” ความเป็นจริงปรากฏนั้นเป็นเพราะอะไร คนโบราณคิดการละเล่นนี้ขึ้นเพื่ออะไร
6. ให้คนรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
(บทสรุปจากกิจกรรมสัมภาษณ์แบบเจาะลึก :
2 มิถุนายน 2548)
2.5.5 หมากยู้สาว เป็นการละเล่นของผู้ใหญ่ในชนบท จะเล่นกันเฉพาะในหมู่ผู้ชาย
เป็นการประลองความแข็งแรงและอวกให้เพศตรงข้ามได้เห็นและสนใจในตัวผู้ชายที่แสดงในปัจจุบัน “การยู้สาว” ได้หายไปไม่มีผู้นิยมเล่นให้เห็นอีก
เดิมที่นั้นที่หมู่บ้านสำราญ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เขาจะมีการประลองกำลังกันในหมู่บ้านด้วยวิธีการ”ยู้สาว”
โดยเฉพาะหากมีงานเทศกาล หรือมีงานในชุมชนที่ผู้คนมาชุมนุมกันมากๆก็จะจัดการละเล่นนี้ขึ้น
ความเป็นมา นายวินัย บุญอาจ ราษฎรบ้านสำราญ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ได้ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่สมัยที่ตัวเองยังเด็กก็เห็นพวกผู้ใหญ่เขาเล่นยู้สาวกันมาตลอด
จึงไม่ทราบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
ใครเป็นตันคิด แต่ที่พอทราบ ก็คือเป็นการแสดงออกถึงความแข็งแรง ความอดทนของ ชายหนุ่ม เพื่ออวดให้ผู้เห็นยอมรับและมีความศรัทธา
และพอใจในตัวผู้ชนว่าเป็นผู้รักษาสุขภาพร่างกายดี ไม่ติดยาฝิ่นหรือยาเสพย์ติดอื่น
ๆเป็นต้น และการละเล่นนี้ก็ถ่ายทอดสืบต่อกันในสมัยโบราณมาจนระยะหลังได้
อุปกรณ์ในการเล่น
1) ไม้ไผ่ลำขนาดเหามะมือจับยาวประมาณ 4.00 เมตร 1
ลำ เหลาให้เรียบอย่างดีปราศจากเส้น แบ่งขีดกึ่งกลางไม้ไว้ชัดเจน
2) เส้นกั้นแบ่งแดนแข่งขัน
ผู้เล่น จำนวน 2 คน ฝ่ายละ1 คน หรืออาจจะแข่งขันฝ่ายละ 2-3 คน
ก็ได้แต่ไม่นิยมเพราะจะไม่ทราบผู้แข็งแรงที่แท้จริงได้
วิธีเล่น
1. ผู้แข่งขันทั้ง 2 คน ถอดเสื้อเหลือเพียงกางเกงขาสั้น บางครั้งอาจนุ่งผ้าขาวม้าขัดเตี่ยวก็เคยมี แสดงให้เห็นสรีระได้ชัดเจน
2. ผู้แข่งจับไม้ไผ่ด้วยมือตามที่ถนัดโดยใช้ 2 มือ
จับลำไม้ไผ่และใช้แขนข้างหนึ่งหนีบลำไม้ไผ่ไว้ให้แน่น
3.
ทั้ง 2 คน
ยืนอยู่คนละฟากของเส้นแบ่งเขตแดน
โดยให้รอยขีดแบ่งครึ่งไม้ไผ่ให้ตรงกับเส้นแดนเพื่อไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน
4. กรรมการให้สัญญาณเริ่ม “ยู้สาว” ได้ด้วยการนับ หนึ่ง-
สอง – สาม
ก็เริ่มยู้สาวหรือต้นไม้ให้เข้าไปกินแดนคู่ต่อสู้หรือเหยียบเส้นแบ่งแดนหรือให้คู่ต่อสู้ล้มก็เป็นชนะได้
กติกา
1. แข่งหาผู้ชนะ
2ใน 3คน
2. อาจมีผู้ท้าประลองกับผู้ชนะอีกก็ได้
3. การแข่งขันจะต้องเปิดโอกาสให้เปลี่ยนด้านของไม้ไผ่และเปลี่ยนแดนแข่งขันด้วย เพื่อความยุติธรรม
การ “ยู้สาว” มีความหมายในตัว “ยู้” แปลว่า
ผลักหรือดัน “สาว” หมายถึง
ลำไม้ไผ่สามารถทำง่ามไว้ลอยผลไม้
หรือสิ่งของที่อยู่ที่สูงได้
ถ้าพิจารณากันให้ดีจะเป็นการละเล่นหรือแข่งขันกันในลักษณะตรงกันข้าม กับการแข่งขัน
ชักคะเย่อที่ใช้ดึงเชือกถอยหลัง
แต่การยู้สาวจะดันไม้ไปข้างหน้าก็เป็นการละเล่นของชาวบ้านอย่างหนึ่งที่น่าบันทึกไว้
ประโยชน์ที่ได้จากการละเล่น
1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานทั้งผู้เล่นและผู้ชม
2. ได้ทดสอบความสามารถความเข้มแข็ง
ความอดทนและความแข็งแรงของผู้เล่น
3.
เพื่อประกอบให้ผู้คนเห็นสมรรถภาพทางกายของผู้แข่งขัน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง คือ ฝ่ายชนะ
4.
เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งได้
(บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา(Time line) :13-16 พฤษภาคม 2548)
2.5.6 หมากเสียดพลูยา เป็นการละเล่นของผู้ใหญ่
จะเล่นกันเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาวที่ไปร่วมงานศพ
อุปกรณ์การเล่น
1. หมากที่ชาวบ้านใช้กินกัน
2. เสียดที่ใช้กินกับหมาก
3. พลู
4. ยาสูบ
ผู้เล่น
ก่อนเล่นต้อง 1.
เสี่ยงทายกันก่อนว่าทีมใดหรือใครจะเป็นฝ่ายเล่นก่อน
2. เมื่อได้ผู้เล่นแล้วก็ต้องตกลงเรื่องกติกา
ผู้แพ้จะต้องทำอะไรตอบแทน เช่น ฟ้อนรำ
กินเหล้า เขกเข่า ตีมือด้วยซีกไม้สีเสียด
หรือทำสิ่งต่าง ๆ
ตามแต่จะสัญญากัน
เริ่มเล่น
1. วางหมากเสียด พลู ยาสูบ
ไว้ตรงหน้าผู้เล่นแต่ละอย่างวางไม่ห่างหรือใกล้กันจนเกินไป
2 ผู้เล่นการฝ่ามือ
และคว่ำฝ่ามือเหนือสิ่งของทั้ง
4อย่าง
แล้วใช้ฝ่ามือส่ายไปมาหรือวนเหนือสิ่งของตลอดเวลา
3. ผู้ที่ไม่ได้ก็จะเป็นผู้พูดว่า “หมาก เสียด
พลู ยา หมาก
เสียด พลู ยา “ ไปเรื่อย ๆหรือ จะสลับคำเป็น
“หมากยาเสียดพลู” ก็ได้ เพื่อการก่อกวนสมาธิให้ผู้เล่นที่กำลังใช้มือหมุนวนอยู่เหนือสิ่งของให้เสียสมาธิ
เมื่อพูดก่อกวนนานพอสมควรแล้วก็พูดชี้ชัดแจนลงไปโดยกำหนดสิ่งของเพียงอย่างเดียง
โดยเร็วดัง ๆ เช่นว่า “หมากเสียด พลู ยา “ หรือ “หมาก” ก็กำหนดได้
4. ผู้เล่นจะต้องใช้ฝ่ามือตะครุบลงไปให้ตรงกับกองเสียดทับที่อยู่ชักช้า ถ้าตะครุบได้ตรงก็ถือว่าผ่าน ไม่ถูกลงโทษ
แต่ฝ่ายที่พูดจะต้องถูกลงโทษแทน ตามที่สัญญาการทำโทษจะทำโทษทั้งทีม
5. ถ้าหากสัญญาหรือมีกติกาว่าไม่เล่นเป็นทีม ให้เล่นเป็นรายบุคคลก็ผลัดเปลี่ยนกันไป ใครตะครุบไม่ถูกก็ทำโทษเป็นรายคน
ใครมีสมาธิดีก็รอดพันจากการทำโทษ
6.
เมื่อมีการตะครุบถูกได้ทำโทษฝ่ายตรงข้ามแล้ว ก็เปลี่ยนข้างเล่นต่อไป
ประโยชน์หรือข้อคิดที่ได้จากการละเล่น
1. สร้างความสามัคคีในหมู่คณะผู้เล่น
2.
สร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้เล่นถึงขั้นนำไปสู่ความรักได้
3.
ก่อให้เกิดความสนุกสนานลดความโศกเศร้าในงานศพลงได้บ้าง
4.
ฝึกให้ผู้เล่นเกิดสมาธิไม่ใจอ่อนตามกระแสการก่อกวนจากครอบข้าง
5. เป็นการสอนให้ผู้เล่นยอมรับในกติกาและข้อตกลง
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย
6. เป็นการละเล่นที่ไม่มีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง
“หมากเสียดพลูยา” จึงเป็นการละเล่นของผู้ใหญ่หรือคนหนุ่มสาวที่ร่าจะร่วมอนุรักษ์สืบทอดไว้
เพราะสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมมาก งานศพส่วนใหญ่จะมีการเล่น ไพ่
ไฮโล
ซึ่งเป็นการพนันที่นำความหายนะมาสู่ครอบครัวเท่านั้น
(บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time
line) : 13-16 พฤษภาคม
2548
2.5.7 หมากข้าวติดมือ เป็นการละเล่นของหนุ่มสาวที่มีข้อกำหนดให้เล่นเฉพาะงานศพ โดยเฉพาะ ขณะที่ศพยังอยู่ในบ้านนั้น
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเล่นกันตั้งแต่สมัยใด และค้นหาคำตอบไม่ได้ว่าใครเป็นคนต้านคิดการละเล่น
ประเภทนี้ขึ้นมา
แต่ชาวบ้านทั่วไปเห็นหนุ่มสาวเล่นกันอย่างสนุกสนานมานานแล้ว
เมื่อประมาณ 50 ปีก่อน
การเล่นหมากข้าวติดมือถือได้ว่าเป็นการเล่นที่สร้างความสนุกสนาน ประสานความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว
และเป็นการเล่นที่ช่วยลดความโศกเศร้าในงานศพลดลงได้บ้าง คนในสมัยก่อนจะเชื่อเรื่องภูต ผี ปีศาจมาก
การไปร่วมงานศพของชาวบ้านจะมีการนัดแนะไปกันเป็นกลุ่มทั้งหนุ่มสาว
ขากลับก็จะกลับพร้อมกันจะได้ไม่กลัวเมื่อไปถึงบ้านศพ ซึ่งชาวบ้านจะเรียกว่า “เฮือนดี”
หนุ่มสาวก็จะช่วยกันทำสำรับกับข้าวช่วยเจ้าภาพเพื่อเลี้ยงแขก พอเสร็จภาระหน้าที่แล้วจะเป็นช่วงพบปะหนุ่มสาว โดยการมีละเล่นหมากข้าวติดมือ
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่
2 คนขึ้นไป โดยไม่จำกัดจำนวน แต่ต้องแบ่งผู้เล่นเป็น 2
ฝ่าย
จะแยกชายหญิงหรือคละกันก็ได้
ที่นิยมกันมาก คือ การแบ่งฝ่ายหนุ่มสาว
อุปกรณ์การเล่น ข้าวเหนียวนึ่งนำมานวดให้เหนียวจนติดมือเหมือนกาว โดยใช้มือทั้ง
2 ข้างคลึงให้เป็นก้อนเล็ก ๆ
ขนาดเท่าปลายนิ้วมือ 1 ก้อน
วิธีการเล่น
1.
เมื่อแบ่งฝ่ายเล่นเป็น 2 ฝ่าย
ให้ตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน บางครั้งฝ่ายชายจะให้เกียรติฝ่ายหญิงเล่นก่อน
2.
ฝ่ายได้เล่นก่อนจะให้คนหนึ่งถือข้าวเหนียวไว้บนฝ่ามือ
หงายมือขึ้นให้ทุกคนเห็นก้อนข้าวเหนียวอย่างชัดเจน
3.
ผู้เล่นอีกคนหนึ่งให้นำมือทั้ง
2 ข้าง
กำมาหรือปิดที่บ่าของผู้ที่ถือก้อนข้าวเหนียวแล้ว 2 คน พยายามกำมือไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามทราบได้ว่าก้อนเหนียวอยู่ที่มือใครหรือมือข้างใด
4.
ผู้เล่น (ตามข้อ 3)
ก็กำมือไปหาคนที่ 3 แสร้งถ่ายเทก้อนข้าวเหนียวให้เหมือนเดิม
อาจมีก้อนข้าวเหนียวอยู่กับมือคนแรกกก็ไม่อาจทราบได้ เป็นการอำพรางให้แนบเนียนที่สุด ทำไปเรื่อย
ๆ จนครบคนทั้งทีม
5.
เมื่อถ่ายเทก้อนข้าวครบทุกคนแล้ว
ฝ่ายเล่นก็ทายฝ่ายตรงข้ามว่าก้อนข้าวเหนียวอยู่ที่ใครและมือข้างใด
อาจร้องเพลงเย้ยกันหรือพูดผญาแทรกให้สนุกสนานก็ได้
6.
ฝ่ายตอบก็ต้องสังเกตพิจารณาให้แน่ชัดทั้งสีหน้า ทำที่
รวมถึงการสังเกตตั้งแต่ขั้นถ่ายเทก้อนข้าวแต่ช่วงแรก ๆด้วย เมื่อมั่นใจก็ตอบว่าอยู่ที่ใคร
เทคนิคประกอบของผู้เล่นแต่ละคนที่กำมืออยู่อาจให้อากัปกิริยาแสดงให้ผู้ที่จะตอบไขว้เขวหรือหลงทางก็ได้
กติกา
เมื่อฝ่ายตอบชี้ได้ถูกต้องก็จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายเล่นและทำโทษฝ่ายที่แพ้ตามที่ตกลงไว้ เช่น ให้ฟ้อน ร้องเพลง เขกเข่า
ดื่มน้ำ ดื่มเหล้า ถ้าตอบไม่ถูกก็ถูกทำโทษฝ่ายเล่นก็เล่นต่อไป หรือจะตกลงเปลี่ยนข้างเล่นฝ่ายละเกมก็ได้
โอกาสที่จะเล่น เล่นในงานศพยังอยู่ที่บ้านเท่านั้น
การกำหนดเวลา รอบหนึ่ง ๆ ให้ใช้เวลาประมาณ 2-3
นาที
ประโยชน์และข้อคิดที่ได้จากการละเล่น
1.
เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
ลดความเศร้าโศกในงานศพลงบ้าง
2.
เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
3.
เพี่อให้ผู้เล่นได้ฝึกการสังเกตและมีไหวพริบ
4.
เพื่อให้รู้จัก ยอมรับ และปฏิบัติตามกติกาที่สังคมกำหนด
5.
เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างหนุ่มสาวและสมาชิกใหม่
6.
เพื่อส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมอันดีของชุมชนให้คงอยู่สืบไป
7.
เพื่อให้เป็นผู้รู้จักคิดหาเหตุผลในข้อห้ามเกี่ยวกับการเล่นและการกำหนดให้เล่นในงานศพด้วย
(บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time
line) : 13-16 พฤษภาคม 2548 )
2.5.8 หมากเสือกินหมู เป็นกิจกรรมการเล่นในงานศพ นิยมเล่นกันมากในหมู่ผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์การเล่นคล้ายคลึงกับหมากฮอส แต่มีวิธีการเล่น และเบี้ยเล่นแตกต่างกัน
ความเป็นมา
การเล่นหมากเสือกินหมู่ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติผู้คิดค้นไว้ให้ทราบ
แต่เป็นเกมการละเล่นที่นิยมในหมู่ผู้ชาย
เพราะได้ให้ความคิดกลเม็ดในการหลบหลีก
หรือการตัดสินใจเสี่ยงเข้าแกลก
เพื่อความอยู่รอดนำไปสู่ชัยชนะให้ได้
กฎกติกา เบี้ยเสือกินหมูได้ เบี้ยหมูกินเสือไม่ได้
แต่สามารถเดินปิดทางเดินหมากของเบี้ยเสือให้ถึงทางตันได้ เบี้ยหมูสามารถให้ลงในช่อง 2
ตัว พร้อมกันได้
ถ้าเสือกินหมูหมดเสือชนะ ถ้าหมูปิดทางเดินของเสือได้หมูชนะ วิธีที่เสือกินหมูได้
คือหมูปล่อยให้มีช่องว่างให้เสือข้ามไปลงและกินหมูได้
อุปกรณ์การเล่น
1.
กระดานตาราง 16 ช่อง ไม่มีการลงลายตามช่องเหมือนหมากฮอส
2. เบี้ยหมูให้ผู้เล่นถือไว้ แล้วทยอยวางลงที่ละตัว หรือพร้อมกัน
2 ตัวก็ได้ลงตามช่องปิดไม่ให้เสือมีทางเดินได้
3.
การวางเบี้ยหมูลงจะต้องหลีกไม่ให้มีช่องว่าง ซึ่งเสือจะข้ามหมูไปลงที่ช่องว่าง
ถือว่ากินหมูได้เบี้ยหมูที่ถูกกินก็จะถูกยกออกมา ที่เหลือก็เล่นต่อไป
4.
เบี้ยเสือก็พยายามเดินหาทางข้ามกินเบี้ยหมูให้ได้
5.
ผลแพ้ชนะอยู่ที่ฝ่ายใดเดินหมากได้ดีกว่า เช่น เสือกินหมูหมด
หรือหมูปิดทางให้เสือตายได้ เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้จากการละเล่น
1.
ให้เกิดความสนุกสนานในหมู่ผู้เล่นและผู้ชม
2.
ให้รู้จักยอมรับในกฎกติกาที่สังคมกำหนด
3.
ให้เกิดความคิดและทักษะการแก้ปัญหาในการเล่น
4.
ให้เป็นผู้มีเหตุผลว่าเกมการเล่นประเภทนี้ให้ข้อคิดอะไร แก่ผู้เล่นและผู้ชมบ้าง
5.
ให้เป็นผู้รู้จักการมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะ
6.
ฝึกให้เป็นผู้มีวัฒนธรรมไม่หมกหมุ่นในการพนัน
ปัจจุบันงานศพนิยมการเล่นไพ่ ไฮโล
กันมาก
อีกทั้งสังคมได้เปลี่ยนค่านิยม
ในการละเล่นเห็นชอบไปตามกระแสของวัฒนธรรมชาติตะวันตกมากกว่า วัฒนธรรมเก่าแก่
ที่บรรพบุรุษได้คิดค้นและวางพื้นฐานไว้ให้ลูกหลานได้สืบต่อ กลับถูกมองข้ามไม่ฟื้นฟูหรืออนุรักษ์ไว้จึงเป็นที่น่าเสียดาย “ของดี” ที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านกำลังจะสูญหายไป (บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time
line ) : 13-16
พฤษภาคม 2548)
2.5.9 หมากคล้องช้าง เป็นการละเล่นอย่างหนึ่ง ที่ชาวบ้านในชนบทจังหวัดนครพนม ใช้เล่นในงานศพเป็นการละเล่นง่าย ๆ
ในหมู่คนหนุ่มสาวอาจถือเป็นการละเล่นเพื่อความคุ้นเคยต่อกัน หรืออาจเป็นการเล่น
เพื่อลบภาพแห่งความโศกเศร้าของเจ้าภาพลงบ้างนอกจากนั้นยังเป็นการละเล่นเพื่อดึงดูดให้แขกที่มาในงานศพที่อยู่คบงันนาน
ๆ เพื่ออยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพอีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบันการละเล่น “คล้องช้าง” กำลังจะสูญหายไปจากความทรงจำของชาวจังหวัดนครพนมแล้ว เนื่องจากขาดผู้สืบทอดโดยเฉพาะหนุ่มสาวในปัจจุบัน
มีค่านิยมที่เปลี่ยนไปหันไปนิยมการละเล่นอย่างอื่น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมต่างชาติ เช่น
การเที่ยวธิสโก้เทค หรือเล่นไพ่
ไฮโล เป็นต้น
จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ถ้าหากการเล่น
“คล้องช้าง” ได้สูญหายไปจากความทรงจำของชาวจังหวัดนครพนม
ความเป็นมาของการละเล่นคล้องช้าง
จากการได้ศึกษาและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของการเล่น “คล้องช้าง”
นางสวาท เทพกรรณ์
อายุ 77ปี ชาวบ้านท่าควาย ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เล่าว่า
การเล่น “คล้องช้าง”
นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏแต่เท่าที่ทราบนั้นเป็นการละเล่นที่หนุ่มสาวใช้เป็นสื่อในการสร้างความคุ้นเคย
และหยอกล้อกันนอกจากจะเล่นในกลุ่มคนคุ้นเคยกัน
แล้วยังเปิดโอกาสให้แขกหน้าใหม่ที่มาขอร่วมวงเล่นด้วยก็มี การละเล่นคล้องช้างนั้น
จะเล่นเฉพาะในงานศพเท่านั้น จะนำไปเล่นในงานอื่น ๆ
ที่เป็นงานมงคลไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่า
จะต้องมีสิ่งแฝงอยู่ในกิจกรรมการเล่นประเภทนี้บ้าง ไม่มากก็น้อย เช่น
เล่น เพื่อให้ผู้มางานศพได้อยู่กับเจ้าภาพนาน ๆ
เล่นเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
กลบเกลื่อนเรื่องทุกข์โศกของเจ้าภาพบ้าง
เล่นเพื่อความระหว่างหมู่คณะและถือเป็นการทดสอบสมรรถภาพ ไหวพริบและความคล่องตัวของบุคคลได้ด้วย
จำนวนผู้เล่น แบ่งเป็นทีม ๆละ2 คนโดยแยกทีมชาย หญิง ( หนุ่ม-สาว)
อุปกรณ์
1
.ผ้าขาวม้า 1 ผืน
อาจใช้ผ้าอื่น ๆ แทนก็ได้
2. ปั้นข้าวเหนียวหรือผลไม้ต่าง ๆ ที่เป็นอาหารช้างได้เช่น กล้วย แตงกวา
เป็นต้น
วิธีการเล่น
1.
เสี่ยงทายหรือตกลงกันเพื่อกาทีมที่จะเป็นผู้คล้องช้าง กับทีมที่จะเป็นช้างให้ได้ก่อน
2.
เมื่อได้ฝ่ายที่เป็นช้างและผู้คล้องแล้ว
ฝ่ายผู้คล้องจะใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน
พันให้เป็นเกลียวคล้ายเชือกสอดมัดทำเป็นบ่วงไปหยิบเอาอาหารช้างโดยเริ่มต้นให้ฝ่ายคล้องช้างดึงผ้าขาวม้ารัดข้อมือไว้ได้
3. เมื่อทำบ่วงคล้องช้างไว้แล้ว หาบั้นข้าวหรือแตงกวาไว้ทางด้านของฝ่ายคล้องให้ตรงกับบ่วงที่คล้องไว้
4. ฝ่ายเป็นช้างซึ่งอยู่ด้านหน้าบ่วง
จะต้องใช้มือแทนงวงช้างฉกเอาสิ่งของที่วางอยู่อีกฝ่ายหนึ่งของบ่วง โดยล้วงผ่านบ่วงไปหยิบเอาอาหารช้าง
โดยเริ่มต้นให้ฝ่ายคล้องช้างดึงผ้าขาวม้ารัดข้อมือไว้ได้
5.
ฝ่ายคล้องช้างก็จะต้องตั้งสติเตรียมรัดมือผู้เล่นฝ่ายช้างให้ได้
6.
ฝ่ายเป็นช้างอาจชวนคุยหรือใช้กลเม็ดหลอกหล่อให้ฝ่ายคล้องช้างตายใจก็ได้ เพื่อจะได้ล้วงเอาสิ่งของมาให้ได้
7. ถ้าหากฝ่ายคล้องช้างรัดมือหรืองวงช้างไว้ได้ ฝ่ายช้างก็จะถูกลงโทษต่าง ๆ เช่น ให้ฟ้อน
ให้ร้องเพลง หรือดื่มเหล้าแล้วแต่ฝ่ายคล้องช้างจะให้ทำ
(บางทีขณะที่ผ้าขาวม้ารัดมืออยู่นั้นฝ่ายชนะ
จะถามถึงความรักว่าเจ้ารักใครต้องตอบให้ตรงกับความจริง หากบิดเบือนก็จะรัดผ้าแน่นอีก ต้องตอบว่ารักคนนั้น คนนี้ให้ได้)
ผู้แพ้ก็ต้องจำยอม สร้างความสนุกสนานไม่น้อย
8.
ถ้าหากฝ่ายช้างล้วงได้โดยไม่ถูกบ่วงรัดก็เปลี่ยนมาเป็นอีกฝ่ายคล้องช้างต่อไป
การละเล่นประเภทนี้ไม่ได้กำหนดแน่นอน
ขอให้ได้เวลาที่เหมาะสมไม่ชักช้าเกินไปก็นับว่าใช้ได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการละเล่นคล้องช้าง
1.
เป็นการละเล่นที่ทำให้เกิดการคุ้นเคยระหว่างหนุ่มสาว
ถึงขั้นนำไปสู่ความรักได้แต่งงานกันจากการเล่นนี้ก็หลายคู่
2. ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
3. ทำให้เจ้าภาพงานศพลดความโศกเศร้าลงได้บ้าง
4. อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพได้นาน
5. ฝึกสมาธิให้กับผู้เล่นรวมถึงการใช้เทคนิควิธีได้ดียิ่ง
6. สนุกสนานเพลิดเพลิน
7. ให้รู้จักรับผิดชอบตามกติกา
(บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time line) : 13 – 14 พฤษภาคม 2548)
2.5.10 ประเพณีแข่งเรือ
การแข่งเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน โดยชาวไทแสกบ้านอาจสามารถ
จัดแข่งขันเรือยาวทุกปีในระหว่างบุญออกพรรษา
เรือยาวที่ชาวบ้านอาจสามารถนำมาแข่งจะเป็นเรือขนาดกลาง มีความสามารถจุคนได้ไม่เกิน 30 คน
รูปแบบหรือลักษณะของเรือจะคล้ายรูปกระสวยทอผ้า
เพราะรูปร่างเพรียวและวิ่งได้เร็ว
จากการสัมภาษณ์ชาวไทแสกบ้านอาจสามารถ
การแข่งเรือยาว
บ้านอาจสามารถ เริ่มมาเมื่อปีพุทธศักราช 2509
การแข่งขันเรือยาวในสมัยก่อนจะมีช่วงระยะเวลาที่ประชาชนในท้องถิ่นว่างจากงานต่าง ๆ
และเป็นช่วงที่มีน้ำหลาก ซึ่งอยู่ในช่วงเดือน 11 – 12
ในการแข่งขันนั้นจะเป็นการแข่งขันตามประเพณีเท่านั้น ไม่มีรางวัลเป็นเงิน ทอง
เหมือนปัจจุบัน
การจัดทำเรือยาว
เรือยาวแต่ละรำชาวบ้านถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญสำหรับหมู่บ้าน
ดังนั้นในการจัดทำเรือยาวจึงมีความเกี่ยวพันทางด้านพิธีกรรม
และไสยศาสตร์ซึ่งเป็นแนวความเชื่อ และค่านิยมของคนในสังคมชนบทเป็นอันมาก ความเชื่อต่าง ๆ
เกี่ยวกับการจัดทำเรือยาวนั้นมีมากมายหลายประการ
ซึ่งถือว่าเป็นธรรมเนียมในการจัดทำเรือยาวสำหรับที่จะแข่งขัน
เพื่อที่จะได้ชัยชนะและความเป็นหนึ่งในลำน้ำนั้น ดังกล่าวเช่น
การเลือกไม้
การเลือกไม้ที่จะนำมาขุดเป็นเรือยาวนั้น
ตามความเชื่อของชาวบ้านหรือคนเก่าแก่
จะมีลักษณะดังนี้
1.
จะต้องเป็นต้นไม้ที่ใหญ่
โดยวัดรอบต้นไม้ไม่ต่ำกว่า
300 เชนติเมตร และจะต้องมีความยาวประมาณ 15 – 20 วา
2.
ไม้ที่นำมาขุดนั้นต้องเป็นไม้ที่ตรง และมีความสวยงามพอที่จะนำมาเป็นเรือแข่งได้
3. จะต้องเป็นไม้ตะเคียน เพราะมีความทนทาน
และไม่จมน้ำเมื่อเวลาเข้าแข่งขัน
การตัดไม้
ชาวบ้านอาจสามารถ มีความเชื่อว่า ต้นไม้ตะเคียนที่มีขนาดใหญ่นั้น
จะต้องมีนางไม้ประจำอยู่ทุกต้น
ฉะนั้นหลังจากที่ได้ทำการเลือกไม้ได้ตามเกณฑ์แล้ว ก่อนที่จะตัดไม้ชาวบ้านจะมีการเสี่ยงทายเสียก่อน
เพื่อความหวังว่าต้นไม้ที่เลือกนั้นพอที่จะนำมาขุดเป็นเรือยาวได้หรือไม่ เมื่อขุดเป็นเรือยาวแล้ว สามารถวิ่งได้เร็วพอที่จะสู้กับเรือยาวรำอื่น ๆ
ได้หรือไม่
ในการเสี่ยงทายนั้นก็จะมีการบวงสรวงเทพารักษ์ นางไม้ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้นั้น ให้มาเข้าฝันยายเถิบ หาวัง
การบวงสรวงเทพารักษ์
นางไม้นั้นจะใช้ข้าวตอกดอกไม้
ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ ดอกไม้ 5 คู่ โดยจัดทำเป็นขัน 5 ผู้ทำพิธีเป็นผู้อันเชิญนางไม้ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้นั้นให้มาเข้าในผู้ทำพิธีเพื่อเป็นนิมิตอันดีงามของอนาคตแห่งการชนะเลิศ ของนางไม้ผู้ที่จะเป็นเรือยาวอันสวยสง่า
คณะผู้ทำการเสี่ยงทายจะต้องนอนป่า ประมาณ 1 – 5 วัน
จนกว่านางไม้จะมาเข้าฝัน
สำหรับเรือคำแสนฟ้า เดิมชื่อนางคำแสน ต่อมาในปีพุทธศักราช 2537
ได้เพิ่มชื่อเป็น นางพญาคำแสนฟ้า
โดยชาวบ้านอาจสามารถได้ไปซื้อต้นตะเคียนมาจากวัดบึงหล่ม อำเภอธาตุพนม
จังหวัดนครพนม
สาเหตุเพราะที่บ้านบึงหล่มได้ตัดต้นตะเคียนซึ่งเป็นต้นคู่แฝด แล้วแบ่งขายให้บ้านอาจสามารถ 1
ต้น
ชื่อว่านางคำแสนเป็นพี่และคู่แฝดอีกต้นหนึ่งชื่อ นางแว่นฟ้า
เป็นน้อง
ชาวบ้านอาจสามารถซื้อนางคำแสนมา
ในปีพุทธศักราช 2533
การขุดเรือ
เมื่อได้ต้นตะเคียนตามที่ต้องการแล้ว ชาวบ้านได้จ้างช่างปุ๊ก ไม่ทราบนามสกุล เป็นคนลาวบ้านนาเซ็ง อยู่สุวรรณเขตมาขุดเรือ ในการขุดเรือนั้นแล้วแต่ช่างที่ขุดเรือ การขุดเรือนั้นช่าง จะระมัดระวังเป็นอย่างมาก และใช้ความพยายามจะสุดความสามารถ โดยเลือกดูเหลี่ยมไม้ให้เหมาะสมเสียก่อนว่าจะเป็นส่วนท้องหรือส่วนบนในการขุด ช่างจะขุดให้มีลักษณะคล้ายกระสวยทอผ้า โดยแบ่งท่อนไม้ที่ขุดนั้นเป็น 3
ส่วน ส่วนหัว ส่วนกลาง
และส่วนท้าย
ส่วนกลางของลำที่ขุดนั้นจะมีความกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนหัวกับส่วนท้ายก็จะเล็กลงตามความเหมาะสม
การตกแต่ง
หลังจากที่ขุดเรือเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ช่างและยาวบ้านได้ทำการทดลองพายเล่นดูในน้ำก่อน
เพื่อเป็นการทดสอบดูว่าเรือที่ขุดทำใหม่นั้นวิ่งเร็วหรือไม่ และมีสิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างไร
เมื่อทดสอบดูเป็นที่น่าพอใจว่าเป็นเรือที่พอจะนำลงสนามแข่งขันได้
ช่างจะเริ่มตกแต่งประดับประดาให้เกิดความสวยงาม
โดยจะเริ่มจากการเขียนลายที่สวยงามตามลำเรือในส่วนที่เรือพ้นจากน้ำเมื่อลอยอยู่กลางน้ำ ลายที่ใช้เขียนจะเป็นลายไทยหรือลายกนกที่สวยงาม โดยจะเริ่มเขียนจากส่วนหัวของเรือลงมาเรื่อย ๆ
ตามลำเรือและส่วนท้าย ในปี พ.ศ.
2541
ชาวบ้านอาจสามารถให้ช่างคำพา
ไม่ทราบนามสกุลอยู่อำเภอกมลาไสย
จังหวัดกาฬสินธุ์ และนายสุวรรณ จันทร์เกษม
อยู่จังหวัดนครพนมเป็นคนซ่อมเรือและแต่งลายไทยพร้อมทั้งให้สี (บัญญัติ ชนะพจน์, 2548 : สัมภาษณ์)
การเก็บรักษา
เรือจะได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี โดยสร้างเป็นเรือนโรงมุงหลังคา
นางไม้แม่ย่านางเรือจะมีหอให้อยู่เป็นพิเศษ
เรือจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเก็บรักษาไว้ที่วัด
การฝึกซ้อมฝีพาย
ฝีพาย
เป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะทำให้เรือยาวเข้าสู่เส้นชัยได้
ก่อนที่จะนำเรือเข้าสู่สนามแข่ง
ฝีพายจะมีการฝึกซ้อมกันเป็นอย่างหนัก
โดยคัดเลือกเอาชายฉกรรจ์ที่มีอายุประมาณ
20 – 30 ปีมาฝึกซ้อม
จำนวนฝีพายก็จะคัดเลือกประมาณ 30 – 40 คน การฝึกซ้อมจะเป็นการเตรียมความพร้อมเพรียง และพละกำลังให้คงที่ โดยจะฝึกในตอนเช้าตรู่และตอนหัวค่ำทุกวันก่อนการแข่งขันประมาณ 5 – 7
วันเป็นอย่างน้อย
ฝีพายที่มีส่วนสำคัญที่สุดของการแข่งขันเรือ คือ หมอหัวและหมอท้าย หมอหัวจะเป็นผู้ให้จังหวะแก่ฝีพายทั้งหมด ว่าจะให้เล่นเร็วเล่นช้า หมอท้ายจะเป็นผู้บังคับให้เรือไปตามจุดมุ่งหมาย
การแข่งขัน
การแข่งขันเรือยาวของบ้านอาจสามารถนั้น
จัดแข่งขันเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปีมาแล้ว เพราะบ้านอาจสามารถอยู่ติดกับลำน้ำโขง ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจัดแข่งขันในช่วงวันออกพรรษาทุกปี แต่สำหรับในปี
พ. ศ. 2541 ทางคณะกรรมการหมู่บ้านอาจสามารถได้จัดให้มีการแข่งขันเรือกีบ ซึ่งเป็นเรือหาปลาขนาดเล็ก จุดฝีพายได้ไม่เกิน 12 คน
แข่งขันกันในวันกินเตดเดนด้วย
ในการจัดการแข่งขันเรือกีบเป็นการแข่งขันที่เร้าใจ มีความสนุกสนาน เป็นการร่วมมือกันระหว่างฝีพายของแต่ละทีม กองเชียร์ของแต่ละคุ้มก็มีส่วนช่วยเชียร์ทีมของตนเองในวันแข่งขัน
จึงก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
และเป็นการพักผ่อนหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานตลอดปีอีกด้วย
นับได้ว่าการแข่งเรือที่มี
โยชน์อย่างมากต่อสังคมไทยทั้งในด้านสังคม การปกครองและด้านอื่น ๆ อีกด้วย
(บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม : 27 พฤษภาคม 2548)
2.6
ประเพณีการเกิด
2.6.1 การเตรียมตัวก่อนคลอด
พิธีกรรมการเกิดของชาวไทแสกบ้านอาจสามารถ
ก็คือ เมื่อแม่ตั้งครรภ์แก่
ต้องอยู่บ้านเพื่อเตรียมตัวคลอด
การคลอดมีความเสี่ยงมากโดยมีความเชื่อว่า
วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่ ชาวไทแสกจึงมีพิธีกรรมหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้เป็นแม่ คือ “การผูกไก่ขาวก่อนคลอดลูก” ประเพณีนี้แต่ก่อนเห็นว่าเป็นการผูกแขนเป็นเพื่อนกับไก่ขาว เมื่อผูกแขนแล้วก็จะทำให้คลอดลูกง่ายเหมือนไก่ออกไข่ แต่ถ้าไม่ผูกแขนจะทำให้ไม่สบายใจ
สำหรับการเอาไก่สีขาวนั้นก็เพราะต้องการความบริสุทธิ์ขาวสะอาด
เพราะเด็กที่เกิดใหม่คือผู้บริสุทธิ์
ขั้นตอนการผูกไก่ขาว คือ
เมื่อพราหมณ์และญาติมิตรที่มาร่วมงานพร้อมกัน ผู้ที่จะคลอดลูกก็ต้องแต่งตัวสวย ๆ
มานั่งตรงกลางวง ทุกคนจะนั่งล้อมเป็นวงรอบแม่มาน (คำว่า “แม่มาน” เป็นภาษาแสก คือ คนตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด) เมื่อแม่มานมานั่งอยู่ตรงกลางแล้ว
คนที่เป็นญาติก็จะอุ้มไก่ขาวตัวใหญ่มาให้แม่มานอุ้มไว้ในมือ ขณะนั้นพราหมณ์และผู้ใหญ่ก็เริ่มผูกขาไก่ขาวผูกข้อมือแม่มานเพื่อให้เป็นเพื่อนกัน จะคลอดลูกง่ายเหมือนไก่ออกไข่
การผูกแม่ไก่ขาวนั้นเมื่อผูกเสร็จก็นำออกไป ส่วนแม่มานเมื่อเป็นเพื่อนไก่แล้ว จะให้ญาติพี่น้องมิตรสหายผูกข้อมือต่อไปเรื่อย
ๆ จนหมดคนผูก
หลังจากการผูกข้อมือแม่มานแล้ว ผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีอาหารคาว หวาน
มาเลี้ยงญาติมิตรที่มาในงานพิธี
เมื่อผู้ใดกินอิ่มแล้วก็จะนั่งพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ
สุดท้ายต่างก็อวยพรให้แก่เจ้าภาพและแม่มานให้คลอดลูกง่าย ๆ เหมือนไก่ออกไข่ หลังจากนั้นต่างก็ลากลับ
2.6.2 วันคลอดลูก
การคลอดลูกของชาวไทแสกส่วนใหญ่จะกลับไปคลอดที่บ้านเกิดตัวเอง หากฝ่ายหญิงไปอยู่บ้านสามี เมื่อจะคลอดลูก
ฝ่ายหญิงจะไปหาแม่บังเกิดเกล้าของตัวเองรวมถึงน้อง ๆ ลูกหลาน ญาติใกล้ชิดของฝ่ายหญิงไปเฝ้าดูแล
เพื่อจะได้ช่วยเหลือเมื่อคลอดอย่างไม่เกรงใจ ส่วนผู้เป็นแม่ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ ที่จะต้องดูแลลูกและอยู่กับลูกทั้งก่อนคลอด ขณะคลอดและหลังคลอดอีกหลายวัน เมื่อแม่มานปวดท้องจวนจะคลอดสามีหรือลูกของนางหรือญาติ
ๆ จะเป็นคนเชิญหมอตำแยไปที่บ้าน
ห้องคลอดมักจะเป็นห้องนอนหรือมุมใดมุมหนึ่งของบ้านที่เตรียมไว้ก่อนปวดท้อง ไม่นานนักขณะที่ปวดท้องจวนจะคลอด
แม่หรือพี่สาวของนางจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิดกับหมดตำแย ส่วนผู้ชายจะถูกห้ามไม่ให้เข้าช่วยเหลือใด ๆ
นอกจากเตรียมต้มน้ำไว้รอ
เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว
หมอตำแยจะผูกสายสะดือด้วยด้ายสีดำห่างจากสะดือประมาณ 2
นิ้ว ผูกเป็น 2
เปลาะ รักให้แน่นทิ้งให้มีระยะห่างกันเล็กน้อย ที่ผูกแน่นเพื่อไม่ให้เลือดลมเดินสะดวก เด็กจะรู้สึกชาเวลาตัดสายสะดือ ส่วน “รก”
นั้นนำไปล้างให้สะอาด คำว่า “รก” ภาษาแสกเรียกว่า “หน่วง”
หน่วงนี้ชาวแสกจะนำไปฝังดินใต้ถุนบันใดบ้าน
เมื่อฝังดินก็จะมีผู้หญิงอาวุโสท่านหนึ่งไปก่อกองไฟเล็ก ๆ อยู่ตรงที่ฝังหน่วง
การก่อกองไฟเพื่อเป็นกลอุบายช่วยให้สายหน่วงแห้งเร็วและช่วยป้องกันไม่ให้หมาคุ้ยดิน
ตรงบริเวณที่ฝังหน่วง
หมาจะเข้าใกล้ไม่ได้เพราะมันร้อน
การฝังหน่วงใต้บันใดเพื่อเอาเคล็ด
เพราะเชื่อว่าเมื่อโตขึ้น
จะได้เป็นคนซื่อตรง
เมื่อถึงเวลาที่สายสะดือของเด็กหลุดพ่อแม่จะเก็บไว้เพื่อนำมาแช่น้ำให้น้องคนต่อ
ๆ ไปกินเพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้พี่น้องรักกัน
การอยู่ไฟของมารดาของชาวไทแสกบ้านอาจสามารถนิยมอยู่บนบ้าน
วันแรกถ้าคลอดเวลากลางวันก็จะอยู่ไฟในตอนเย็น
หรือถ้าคลอดเวลากลางคืนก็จะอยู่ไฟในวันต่อมา สามีจะก่อไฟให้โดยยกร้านขึ้นสูงห่างจากพื้นกระดานประมาณ
1 เมตร ตรงกับที่ภรรยาของตนคลอดลูก
โดยแม่ลูกอ่อนจะนอนคว่ำหน้าลง
เพื่อให้ความร้อนของกองไฟรนขึ้นมาทั่วร่างกาย
ขณะที่อยู่ไฟนั้นแม่ลูกอ่อนจะดื่มน้ำต้มสมุนไพรและอาบน้ำร้อนจนกว่าจะออกไป ระยะเวลาที่อยู่ไฟส่วนมากถ้าลูกคนแรกจะอยู่ไฟประมาณ 10 – 15 วัน
ถ้าคลอดลูกคนต่อไปจะอยู่ไฟประมาณ 7
– 10 วัน ชาวแสกเชื่อว่าคนที่อดทนอยู่ไฟได้ตามกำหนด จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ในเรื่องอาหารการกินระหว่างอยู่ไฟต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดมิให้ผิดขะลำ
(ข้อห้าม) จะกินได้เฉพาะข้าวจี่กับข่าดำหรือเกลือ
หลังจากนั้น 5 วันจึงจะกินของแห้ง ๆ ได้ เช่น ปลาแห้ง
ไก่แห้ง ของแสลงที่ห้ามกิน เช่น ไข่เป็ด
ไข่ไก่ เนื้อวัว เนื้อควาย ปลาที่มีเงี่ยงห้ามกินเด็ดขาด
เพราะถ้ากินเข้าไปจะมีอาการเหมือนเป็นตะคริว อ่อนเพลีย
ปวดเมื่อย และหมดความรู้สึก ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงกินข้าวจี่กับเกลือและหมกข่าดำ เพื่อความปลอดภัย มารดาบางคนไปคลอดที่โรงพยาบาลแล้วก็ตาม
เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านก็ต้องอยู่ไฟเหมือนกัน เมื่ออยู่ไฟจนครบกำหนดก็ออกไฟได้
การออกไฟ ภาษาแสกว่า “ออกคอยกรรม” การออกคอยกรรม
เจ้าภาพจะเชิญผู้หญิงรอบ ๆ บ้าน ประมาณ
9 – 10 คน มาร่วมดื่มน้ำร้อน ก็คือ กาบ
แกน ราก ใบ ดอก ผล เมล็ดพืชต่าง ๆ ถ้าจะเรียกรวม ๆ ก็คือ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านเอามาต้มใส่หม้อใหญ่ให้เดือด
เมื่อทุกคนไปถึงก็จะมีกระบวยมะพร้าวมีด้ามยาว ๆ ตักน้ำร้อยยาต้มจากหม้อใหญ่ คนแรกไปถึงก็จะตักน้ำร้อนเป็นสองส่วน ส่วนที่ 1
ตักให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ส่วนที่ 2
ตักให้ตัวเอง ใครไม่พอก็แถมได้ ทุกคนที่ไปจะต้องปฏิบัติอย่างนั้น
ถ้าแม่ลูกอ่อนออกลูกเป็นชายควรจะดื่มน้ำร้อนถึง 9 ถ้วย ถ้าออกลูกผู้หญิงควรดื่ม 7
ถ้วย กินได้หรือไม่ได้ต้องอดทน
การที่ผู้หญิงไปรวมกันวันที่จะออกจากการอยู่ไฟนั้น
หลาย ๆคนที่มีลูกเป็นเด็กหญิงก็จะนำไปด้วย
เพื่อทำให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างเด็กหญิงกับแม่ลูกอ่อน และทารกมากขึ้น ภายหลังเมื่อแม่ลูกอ่อนอุ้มลูกไปที่ไหน ๆ
เด็กหญิงเหล่านั้นได้คุ้นเคยจะขออุ้ม
ขอจับ เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเกิดความคุ้นเคยอย่างสนิทใจ เด็กก็จะมีความรักความเข้าใจ ปรับตัวเข้าหากันได้ สิ่งที่พ่อ
แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ทำเอาไว้จึงถือว่าเป็นสิ่งดีงามโดยแท้ (สุมาลี สาระชัย, 2548 : สัมภาษณ์)
ปัจจุบันชาวไทแสก
บ้านอาจสามารถยังคงยึดถือปฏิบัติและรักษาประเพณีการเกิดไว้จนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าส่วนมากแม่มานจะไปคลอดที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล
เจ้าหน้าที่หรือหมอก็ไม่ได้ห้ามเรื่องอาหารการกิน แต่ชาวบ้านก็ยังยึดถืออย่างเคร่งครัดเรื่องประเพณีการเกิดและปฏิบัติตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่
(บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time line)
และกิจกรรมสนทนากลุ่ม : 3 – 7 มิถุนายน 2548)
2.7
ประเพณีการแต่งงาน (พิธีแต่งหอกแต่งพา)
ชาวไทแสกจะปฏิบัติตามเกณฑ์ของสังคมในกลุ่มตนเอง เช่น
การแต่งงานในสมัยก่อนเมื่อประมาณ
30 ปีที่ผ่านมา การแต่งงานจะแต่งเฉพาะในกลุ่มชาวไทแสกเท่านั้น ปัจจุบันไม่ได้ห้ามจะแต่งงานกับชนกลุ่มอื่นก็ได้ จากการสัมภาษณ์ชาวไทแสกบ้านอาจสามารถ เรื่องประเพณีการแต่งงาน จะเห็นว่าการสืบทอดตระกูลส่วนใหญ่คนไทแสกบ้านอาจสามารถอยากได้ลูกชายสืบสกุลดูแลมรดก เพราะคนไทแสกบ้านอาจสามารถยังเคารพผู้ชาย ยังให้เกียรติผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
แต่ถ้ามีลูกชายกันหลายคนพ่อแม่จะพิจารณาคนสุดท้องหรือคนที่อ่อนแอกว่าเพื่อนในทุก
ๆ ด้าน จะให้ครองเรือนหรือแทนมูล (คำว่า “มูล” หมายถึง มรดก)
การแต่งงานเป็นการสร้างสถาบันครอบครัวที่หัวหน้าครอบครัวหลีกเลี่ยงไม่พ้น หัวหน้าครอบครัวก่อนที่จะแต่งงานจะต้องรู้จักคุ้นเคยสนิทสนมกับคนที่จะได้เป็นคู่สมรสก่อน
นานเข้าก็จะกลายเป็นความรักและตกลงแต่งงานเป็นคู่ชีวิตกัน การแต่งงานจะอยู่ด้วยกันยืนยาวหรือไม่
ขึ้นอยู่กับนิสัยใจคอของคู่สมรสว่าจะสามารถดำเนินชีวิตร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ การตัดสินใจแต่งงานของผู้ชายชาวไทแสกจะเลือกผู้หญิงที่จะมาเป็นแม่บ้านที่มีความเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถในการทำงานบ้าน เลี้ยงดูลูกเป็นเหตุผลสำคัญที่สุด ส่วนความสวยงามของรูปร่างหน้าตา เป็นเหตุผลรองลงมาจากเหตุผลข้างต้น เมื่อทั้งสองมีความชอบพอกัน
ทั้งนี้ก็ต้องเป็นที่ยินยอมของผู้ใหญ่ของทั้ง 2
ฝ่าย ก็ให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอ
เพื่อตกลงค่าสินสอดและกำหนดฤกษ์ยามเป็นสำคัญ โดยผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะส่งตัวแทนหรือ “ล่าม” ไปตกลงรายละเอียดกับฝ่ายหญิง
เมื่อตกลงกันได้และไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ
คณะผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายก็จะพูดคุยกันในเรื่องต่าง ๆ ของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เช่น ความประพฤติของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และการประกาศค่าสินสอดของหมั้นอย่างเป็นทางการและเปิดเผย กำหนดวันเวลาแต่งงานด้วย เมื่อทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยกันอย่างเต็มที่ในทุก
ๆ เรื่องแล้ว
ฝ่ายหญิงก็จะเรียกของหมั้น
ค่ามัดจำอาจจะประมาณ 1 ใน 3
หรือ 1
ใน 4 ของค่าสินสอด
เพื่อฝ่ายหญิงจะได้นำเงินไปใช้จ่ายในการจัดเตรียมงานตามประเพณีไทแสก ในอดีตเมื่อ
30 ปีที่แล้วค่าสินสอดประมาณ 2 – 3 พันบาท แต่ในปัจจุบันค่าสินสอดจะเป็น 2 – 3 หมื่นบาท
ถ้าเป็นข้าราชการค่าสินสอดประมาณ 6
– 7 หมื่นบาทหรือมากกว่านั้น
วันทำพิธีแต่งงานของชาวไทแสก คือ ถ้าคูสมรสใดมีฐานะดี มีความพร้อม
จะมีการกินเลี้ยงหรือจัดอาหารแก่ผู้ที่มาร่วมงานอย่างเต็มที่ เมื่อถึงฤกษ์ทำพิธีแต่งงานในตอนเช้า ฝ่ายชายจะนำขบวนมาพร้อมกับพาขวัญ ฝ่ายชายโดยจะมีคนถือร่ม ถือว่าเป็นการอยู่อย่างร่มเย็น ขณะที่ฝ่ายชายแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาว ภาษาแสกเรียกว่า “แหร่โต๋ย” พอขบวนการแห่มาถึงประตูรั้วบ้าน
ฝ่ายเจ้าสาวจะมีผู้นำเชือกควายหรือผ้าขาวม้ามากั้นทาง โดยมีใบตอง
หิน รับมีด หญ้าแพรก
มาวางไว้ทางเดิน
เพราะมีความเชื่อว่า
1. ใบตอง สามารถอุ้มน้ำได้ ไม่ซึมหายเท่ากับให้อุ้มชูซึ่งกันและกัน
2. หินรับมีด ทำให้เกิดความหนักแน่น ความมั่นคงของครอบครัว
3. หญ้าแพรก
ทำให้เงินทองไหลมาเทมาเหมือนกับหญ้าแพรกที่แพร่ขยายได้เร็ว
จะไม่ยอมให้เจ้าบ่าวผ่านประตูได้ ต้องยอมเสียสุราหรือของกำนัลอื่น ๆ
เล็กน้อยให้แก่ฝ่ายที่มาช่วยงานในบ้านเจ้าสาว
เมื่อฝ่ายเจ้าสาวอนุญาตให้เข้าบ้าน
ก่อนที่เจ้าบ่าวจะขึ้นบันใดจะเด็กคนหนึ่งล้างเท้าให้บนใบตอง
หลังจากนั้นเจ้าบ่าวต้องเสียเงินค่าผ่านประตูบ้านแก่เด็กที่ล้างเท้าให้
แล้วนำพาขวัญฝ่ายชายวางคู่กับพาขวัญฝ่ายหญิง หลังจากนั้นก็ทำพิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาวและทำพิธีทางศาสนา คือ จะมีพราหมณ์ในหมู่บ้านมาเป็นหมอสูตร เมื่อพราหมณ์สู่ขวัญบอกกล่าวคู่สมรสแล้ว ก็จะมีพิธีผูกด้ายข้อมือให้กับคู่สมรส
และนำค่าสินสอดที่เหลือมอบให้ฝ่ายหญิงจนครบเสร็จสมบูรณ์ หากในบริเวณงานมีแขกบุคคลสำคัญ เจ้าภาพอาจเชิญท่านนั้นให้กล่าวเอให้โอวาทแก่คู่บ่าวสาวได้นำไปปรับใช้ในชีวิตการครองรักครองเรือน
และในขณะเดียวกันเจ้าภาพก็ถือโอกาสเลี้ยงอาหารแขกที่มาและเครือญาติไปด้วย ก็ถือว่าเป็นเสร็จพิธี
จึงถือว่าคู่บ่าวสาวเป็นสามีภรรยากันอย่างถูกต้อง
ต่อมาเมื่อแต่งงานแล้วนิยมมีการจดทะเบียนสมรสไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งมีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.
2487
เพราะการจดทะเบียนจะดีต่อไปในวันข้างหน้าเกี่ยวกับทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆ
ตามกฎหมาย
ซึ่งให้ความยุติธรรมแก่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายและทายาทที่เกิดขึ้นในอนาคต
อนึ่งหากฝ่ายหญิงจะไปอยู่บ้านฝ่ายชายก็จะทำพิธีนำฝ่ายหญิงไปบ้านฝ่ายชายภายหลังการเสร็จพิธี โดยผู้อาวุโสจะนำไปไหว้ที่ห้องพระ กราบไหว้พ่อแม่และจูงสู่ห้องหอต่อไป (บทสรุปจากกิจกรรมเส้นแบ่งเวลา (Time line)
และกิจกรรมสนทนากลุ่ม : 13 – 16 มิถุนายน 2548)
2.8 ประเพณีงานศพ
จากกิจกรรมสนทนากลุ่ม พบว่า
การตายของชายไทแสก
แบ่งออกเป็น 2 กรณี
คือ
1. ป่วยตายจะนำศพไปไว้ที่บนบ้าน
2.
อุบัติเหตุตายจะไม่นำศพไปไว้บนบ้าน
เพราะชายไทแสกมีความเชื่อว่าผีจะเกรงจากการสัมภาษณ์ในงานศพชาวไทแสกบ้านอาจสามารถ
จะไม่บอกให้ชาวบ้านทราบ
นอกจากจะรู้เองแล้วมาช่วยงาน
งานที่ร่วมกันปฏิบัติในเบื้องต้นของงานศพก็คือ
กลุ่มญาติใกล้ชิดจะแต่งตัวให้ศพ
เอาเงินใส่ปากเพราะเชื่อว่าเป็นการจ้างไม่ให้พูดหรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการนำทรัพย์สินไปใช้
ในภายภาคหน้า บางกลุ่มจะทำความสะอาดบ้านและบริเวณบ้าน
บางกลุ่มจะเตรียมน้ำใช้
บางกลุ่มก็นำไม้มาทำบ้าน ทำหอ ทำโลงศพและบางกลุ่มจะเตรียมอาหาร เพื่อให้แขกที่มาช่วยในงานรับประทาน
ทุกคนที่มาช่วยงานต่างมีความตั้งใจในการช่วยงาน แล้วจัดสำรับกับข้าวไว้ใกล้โลงศพ เพื่อให้คนตายได้กินด้วย ส่วนอาหารที่ทำในงานศพไม่ให้ทำขนมจีน แกงวุ้นเส้นหรืออะไรที่เป็นเส้นยาว ๆ
เพราะมีความเชื่อว่ามิให้มีความสัมพันธ์กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่
และเชื่อว่าการตายจะเกิดขึ้นอีกไม่มีที่สิ้นสุด
เมื่องานทุกอย่างใกล้เสร็จเจ้าภาพจะนิมนต์ระสงฆ์มาสวดมนต์ที่บ้าน เพื่อให้เป็นกุศลแก่ผู้ตาย ในงานศพบ้านอาจสามารถส่วนใหญ่จะเอาศพไว้ 1 วัน หรือ
2 วัน ทั้งนี้แล้วแต่เจ้าภาพ
เมื่อเก็บศพไว้ตามสมควรแล้วนำศพไปป่าช้าเพื่อทำพิธีเผา เชื่อกันว่าไม่ให้เผาศพวันอังคาร
และวันพระ
พิธีกรรมเมื่อศพอยู่บนเมรุเรียบร้อยแล้ว
ก็จะเปิดศพทำพิธีโดยการล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว
คนที่ไปล้างหน้าผู้ตายส่วนใหญ่จะเป็นญาติผู้ใกล้ชิดหรือเพื่อนที่รู้จักกับผู้ตาย เมื่อล้างหน้าศพเรียบร้อยแล้วก็จะปิดโลงศพ และทำพิธีถวายทาน ชักผ้าบังสุกุล ถวายผ้าบังสุกุลพระผู้รับและผู้ถวายจะลำดับความอาวุโสจากผู้ใหญ่จนถึงผู้น้อย
เสร็จแล้วก็จะถวายปัจจัยรวมของผู้บวชหน้าศพทั้งสามเณรและชีพราหมณ์ (บทสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม : 29 มิถุนายน 2548)
ในงานพิธีเผาศพจะมีการละเล่นอย่างหนึ่ง คือ “ขึ้นบั้ง”
เป็นการละเล่นเกมส์สนุก ๆ ในหมู่ผู้อาวุโส
หรือแม้คนหนุ่มก็แสดงได้เช่นเดียวกัน
(หมายถึงผู้ที่ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมมาแล้วเท่านั้น) การเล่นขึ้นบั้ง จะใช้ผู้เล่น
3 คน หรืออาจจะมากกว่านี้ก็ได้
หากมีคนที่สงสัยจะขอเล่นร่วมวงด้วยในภายหลัง
เขาก็ไม่ขัดข้องเรียกว่าเป็นการร่วมออกกำลังกายทางหนึ่งก็ยังได้
อุปกรณ์การเล่นก็จะหาจากงานศพนั่นเอง
แรกเริ่มทีเดียวจะต้องหาไม้ไผ่สดที่ปล้องยาวและใหญ่ไล่เลี่ยกับโคนขายาว 2
ปล้อง ตัดให้เรียบแล้วทะลวงให้กลวงเพียงด้านเดียว เมื่อได้ไม้ไผ่แล้ว ผู้เล่นจะหยิบเอาถ่านจากที่เผาศพมาอีกจำนวน 7
ก้อน (ถ่านที่ดับแล้ว) จากนั้นให้ คนสองคนจับปล้องไม้ไผ่ไว้คนละด้าน โดยหันทางที่กลวงขึ้นบนในแนวดิ่ง 90
องศา
ส่วนผู้เล่นอีกคนหนึ่งจะยืนอยู่ใกล้
ๆ และเริ่มบริกรรมคาถา
เป็นภาษาแสกเสียงพึมพำ
โดยส่วนมากจะเป็นผู้อยู่ในวัยอาวุโส
ส่วนสองคนที่จับปล้องไม้ไผ่จะใช้คนหนุ่ม ๆ ก็ได้ พอบริกรรมคาถาได้สักครู่เขาจะหยิบเอาถ่านไฟที่หยิบออกมาจากเตาเผาศพ
หยิบลงไปในปล้องไม้ไผ่ด้านบนที่ทะลวงให้กลวงทีละก้อน ถ่านไฟนั้นค้างอยู่ในปล้องไม้ไผ่นั้นเอง
ซึ่งในขณะที่แสดงปล้องไม้ไผ่ที่สองคนจับอยู่ ด้านล่างจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2
ฟุต
ทันใสปล้องไม้ไผ่ปล้องนั้นจะมีพลังเหมือนมีอะไรเข้าไปอยู่ข้างใน และพยายามจะพุ่งขึ้นมาด้านบน คนสองคนที่จับไว้จะต้องคอยดึงเอาไว้ให้อยู่ คือ
พยายามกดลงดิน
ต่อให้ออกแรงจนสุดแรงเกิดก็กดเอาไว้ไม่อยู่
บางรายจนเท้าลอยขึ้นไปพ้นดินสูงขึ้นเป็นคืบเป็นศอกไปทีเดียว เมื่อสองคนกดพยายามกดปล้องไม้ไผ่ใกล้ถึงดินแต่จากการบริกรรมคาถาของผู้แสดงรายแรก แล้วหยอดถ่านไฟลงไปในปล้องไม้ไผ่อีกปล้อง ไม้ไผ่ก็ลอยขึ้นอีก คนเล่นข้างเคียงที่มองดูแล้วไม่เชื่อจะเข้าร่วมวงเล่นด้วยก็ได้
ถึงจะกดอย่างไรปล้องไม้ไผ่ก็จะพุ่งขึ้นท่าเดียว บางคนสู้แรงปล้องไม้ไผ่ไม่ไหวก็ขอเลิกล่น
การละเล่นนี้ผู้เล่นจะเหนื่อยมากในที่สุดก็จะขอเลิกเอาดื้อ ๆ
เพราะเหนื่อย คนที่ไม่เหนื่อย คือ
คนที่บริกรรมคาถานั่นเอง
มีอยู่บางครั้งผู้บริกรรมคาถาว่าอยู่นาน
แต่ปล้องไม้ไผ่ไม่ขยับเขยื้อนอย่างนี้ต้องเปลี่ยนคนว่าคาถาใหม่ ส่วนคนภายนอกผู้เห็นเหตุการณ์ที่ขอเข้าไปเล่นด้วย
เพื่ออยากพิสูจน์ยิ่งเข้าไปกดกระบอกไม้ไผ่สองปล้อง ยิ่งมีแรงต้านหนักขึ้นจนต้องยอมดังกล่าว มีบางรายเอามือไปปิดด้านบนกระบอกไม้ไผ่
ปรากฏว่ากระบอกไม้ไผ่จะหยุดดิ้นและตกลงพื้นดินทันที
เมื่อเล่นบั้นขึ้นจบก็เรียนเชิญแขกทุกท่านได้วางธูปเทียนซึ่งเจ้าภาพได้แจกไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว เมื่อดูว่าทุกคนวางธูปเทียนเสร็จแล้ว เจ้าภาพก็จุดไฟ แล้วนิมนต์พระรูปที่อาวุโสที่สุด จุไฟเผาศพให้ก่อน
หลังจากนั้นคนใกล้ชิดก็จะนำไฟที่เตรียมไว้แล้วเริ่มเผา ไฟก็จะลุกไหม้อย่างรวดเร็วเพราะมีน้ำมันราดด้วย
ตอนนี้เจ้าภาพก็จะให้ทานทำบุญเป็นครั้งสุดท้ายในพิธีเผาศพ ก็คือ
หว่านขนม เงินเหรียญหน้าไฟ แขกที่ไปในงานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างก็แย่งกันเก็บขนม เก็บเงินเหรียญ ตอนนี้ดูเหมือนจะสนุกพอสมควร
หลังจากการแย่งกันไประยะหนึ่งสิ่งของเหล่านั้นหมด ทุกคนก็มาเริ่มหยุดสงบอีกครั้ง เพื่อให้พระสงฆ์กลับ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็กลับ จะมีบางกลุ่มที่รอดูการเผาไหม้หน้าศพ จึงถือว่าเสร็จการเผาศพ หลังจากนั้น
3 วัน ก็ทำบุญแจกข้าว ทำปราสาทโดยใช้กาบกล้วย ข้างในใช้ไม้ทำโครง
ใส่สมุดดินสอโดยปักไว้ที่ตัวปราสาทจนถึงยอดปราสาทหลังจากนั้นนำไปถวายพระ ชาวไทแสกมีความเชื่อว่า เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ตาย (ประสิทธิ์
ทักษิณ,
2548 : สัมภาษณ์)
2.9
การจัดสร้างที่อยู่อาศัย
บ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับมนุษย์ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
สมัยก่อนมนุษย์ยังไม่รู้จักการสร้างที่อยู่อาศัย ก็อาศัยอยู่ตามใต้ต้นไม้ ตามเพิงหินหรือตามถ้ำต่าง ๆ
เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนและที่พักพิงหาเลี้ยงชีพ
ปัจจุบันมนุษย์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก
สามารถรวมกลุ่มเป็นชุมชน
สามารถหาวัสดุที่มั่นคงมาสร้างบ้านที่มาตรฐานถาวรมั่นคงยิ่งขึ้น การสร้างบ้านของมนุษย์ที่อยู่อาศัยในแต่ละส่วนของโลกมีรูปร่างแตกต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิศาสตร์และสภาพทางธรรมชาติของถิ่นนั้น ชาวไทแสกบ้านอาจสามารถมีบ้านเป็นที่อยู่อาศัยของตัวเองทุกครอบครัว ชาวบ้านไทแสกบ้านอาจสามารถเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีความขยันมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ รู้จักเก็บออมทรัพย์สินทีละเล็กทีละน้อย จนมีเงินพอซื้ออุปกรณ์สร้างบ้านเอง
มีความภาคภูมิใจในการที่ได้อยู่บ้านของตนเอง ได้สร้างเอง
ส่วนจากการรับมรดกนั้นเป็นที่ได้จากการตกทอดจากบรรพบุรุษ ส่วนมากเป็นบ้านโบราณที่สร้างมานานแล้ว สำหรับบ้านที่ได้จากการซื้อเป็นการซื้อจากบ้านเก่าคนอื่นในหมู่บ้าน ซื้อทั้งบ้านและที่ดิน แต่ถ้าเป็นการซื้อจากหมู่บ้านอื่น
ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
หมู่บ้านอาจสามารถจะซื้อมาปลูกใหม่ในที่ดินของตนซึ่งมีอยู่แล้วในบ้านอาจสามารถ ชาวไทแสกมีความรักและความสามัคคีในกลุ่มเครือญาติ ชาติพันธ์เดียวกันมาก จะเห็นจากวิธีการสร้างบ้านส่วนมากจะใช้วิธีการของแรงจากชาวบ้านที่เป็นญาติพี่น้องช่วยกันสร้างให้
รองลงมาก็มาเป็นเจ้าของบ้านสร้างเองร่วมกับเครือญาติใกล้ชิด
โดยไปบอกหรือวานเพื่อนบ้านช่วยส่วนมากเป็นหลังเล็กพออาศัยอยู่ได้
ส่วนการสร้างบ้านโดยใช้วิธีจ้างสร้างบ้านที่สำหรับอาศัยอยู่ ในบ้านอาจสามารถส่วนมากสร้างใหม่เป็นบ้านทันสมัย สร้างแบบใหม่
บางบ้านมีขนาดเล็กแต่ดูสวยงามขึ้น
สภาพบ้านส่วนมากสร้างด้วยไม้
ส่วนบ้านที่สร้างนาน ๆ สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง เป็นบ้านแบบโบราณ
หลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่วเป็นบ้านมีใต้ถุนบ้านสูง
2.10
เนื้อเพลงภาษาแสก
2.10.1 เนื้อเพลงในการละเล่นแสกเต้นสาก
แต่โหม่ะไทแถรก เทวแซกฮุนแต่เดนไตร อยู่บันไทป้องไฮง่าไร้ย่วนเงา
(แต่ก่อนไทแสก) (อพยพมาแต่แดนไกล) (อยู่ดินไทยใต้ร่มไทรพระบารมี)
ประเพณีเคยมีแซกสากถ่วยเจ้า หลั่งถร่อเอา แซกสากอ่วดถ่วยเห่อหนอม
(ประเพณีเคยมีเต้นสากถวายเจ้า) (จึงขอเอา) (เต้นสากถวายให้ชม)
โบ่ะไหโซ่ยเสาะ ถร่อพันเทียนธูปบรอกไหม่ น่อมเถร่าไหล่องค์ท่านเจ้าจอม
(ไม่สวยขออภัย) (เอาดอกไม้ต่างธูปเทียน)
(น้อมกราบไหว้องค์ท่านเจ้าจอม)
เคียกกู๊กรุกรานข้าถร่อนอบน้อม แหละถร่อยอม พลีชีพซื่อเผ่าแถรกไท
(ศึกเสือรุกรานเราขอปกป้อง)
(และขอยอม) (พลีชีพรักษาเผ่าแสกไว้)
โรมกินเฮาหนาแถรกโรม
ตั้งแต่โซ่โองย่านำเผ่าผักหล่าย
ห้ามแหร็กหร่อย ถ้วนบิ๊กหน่อย
(รวมกันเข้าไว้ชาวแสก) (ตั้งแต่ต้นปู่ย่านำเผ่ายากเข็ญ) (ข้ามห้วยเขาป่าใหญ่น้อย)
ลอดหล่ำลอดปราย กว่าตั้งเพียงได่ อยู่ได่โค่นพลั่วลำพัน
(แทบล้มแทบตาม) (กว่าจะตั้งเมืองได้) (คงอยู่ได้แสนยากลำเค็ญ)
โรมแถรกเตร้อไตรพันส่ายลวดไถ้เดียวกิน โบ่ะซื่อสิ่น ภาษาประเพณีนั้น
(รวมแสกใกล้ไกลเป็นสายเลือดเส้นเดียวกัน) (ถ้าไม่รักษา) (ภาษาประเพณีไทแสก
นั้นจะสูญสิ้น)
ถร่อเทวาโซ่ยหรักษาซื่อเผ่าแถรกมั่น
อยู่สุขสำราญเบ่งบานอยู่โต๋ยโลกา
(ขอเทวาช่วยรักษาเผ่าแสกให้คงมั่น)
(อยู่สุขสำราญเบิกบานอยู่คู่โลก)
เบ่งบานอยู่โต๋ยโลกา
(เบ่งบานอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป)
ป้าด โถ
ทะ หร่าย แทระ
เฒ่าแป๊ะ
โอ่ม หะ หลี่
ส่วง
(ปั๊ด โถ
จริง ๆ นะ คนแก่ป่วยก็ยังหายป่วย)
ซงหล่าวมันละซี แน๊กหน่วง ย่างไปตามทางหลวง
(น่ากลัวว่ามันจะหนักมาก เดินไปตามทางหลวง)
เพื่อนไป่ นวนหน่วน
(กระเทือนไปเรื่อย ๆ)
(คนอ้วนเวลาเดินร่างกายจะกระเทือนไปด้วย)
เร่อหรางนางอู่น จู่นผู่น
อยู่ แหน่น ถูบห่องมัน
(ไม่รู้เป็นอะไร เมื่อเห็นหน่อไม้ต้นอ่อน ๆ
กองพะเนินอยู่ในก่อของมัน)
ทั้งเผื่อเอ่าไป๊ หร่อมไป๊หว่าน อยู่แหน่น รางเหรอนั้น
(ถึงคราวเอาไปต้ม กลัวตาข้างในนั้น)
หัวแมงจ๊อด เถรี่ยงกะแดน
(จะมีแมงเจาะเนื้อ ข้างในให้แข็งกระดัน)
แด๊กส่าวหรุ่นหม่อหนี่ไห เทียวเอ๊กุ่งหล่ายไป่ตามแรงแง็น
(ผู้สาวรุ่นใหม่นี่สวย มีเครื่องประดับมากไปตามแรงเงิน)
ฮุน โข่น
แห่ว ทรู ด่านกะแต่น โข่ทรูทัวแจ๊กแจ่น
(คนจนเหี่ยวเหมือนเห็ดแห้ง แห้งเหมือนตัวจักจั่น)
หว่านอยู่อ่างโข่ไหม่
(ร้องอยู่ตามต้นไม้)
เตร่งเอ๋ย
ไก่หล่อง หละเลย
(นางเอ๋ย
แพงเอ๋ย อย่าหลงละเลย
ประเพณี แถรกไทย จื๋อเห่อหนั๊กกว่าหริ่นกว่าใหม่
(ประเพณี ไทแสกใจ ให้หนักแน่นเหนือกว่าหินกว่าไม้)
ไก่ เห่อ
เหร่า จั๊บ เหร่า
บ๋าย ราคามันซิหนึ่ง (
ๆ ๆ ๆ ๆ )
(อย่าให้เขาจับเขาต้อง ราคาสินสอดมันจะได้น้อย)
“บ่เฮียน บ่ฮู่
บ๋ดู บ๋เห็น บ่เฮ็ด
บ่เป็น
(โบะเรียน โบะเหราะ
โบะหนอม โบะแหร่น โบะหิด
โบะพัน)
บ่พูด บ๋ปาก บ่อยาก
เห็ดหยัง (สมควรเป็นขันที)”
(โบะหน่อย
โบะตร่าว โบะหมั่นหิดตุ่งทา)
(โบะพันตาหิดแนว)
“แหม่น มีความฮู่
เต็มพุงเพียงปากกะตามถอน
คันแหม่น สอนโต๋เองบ่ได้ ไผ่สิย่องหว่าดี”
หน่วง
เฮ้ย แอง, เจ่าไป๋เหน๋อ, เจ่ไป๋ส่วนเต๋น, แฮะ เจ่า ไป๋, ส่วนคืน(---)
(น้องเอยพี่เอย เจ้าจะไปไหน
เจ้าจะไปส่านใต้
หรือเจ้าจะไปส่วนทางเหนือ)
คันเจ่าไป๋, ส่วนเตร่อ, เห่อเจ่า
เหย่อน่า
(ถ้าเจ้าไปส่วนใต้ ให้เจ้าจดจำ
ว่า)
กิ๊บ เอ๋า
หมาด เก่, กั๊บหมากคุงขั๊ว
(เก็บเอามะเขือ กับเก็บเอามะเขือคาย)
กั๊บทังหมากถรั๊ว, เถร่าจะเพรอ เป๋อหร่อง
(กับทั้ง ถั่ง
หัวตะไคร้ ใบตอง)
เจ่าไป๋ส่วนคึน, เห่อเจ่าดหย่อน่า
(เจ้าไปส่วนทางเหนือให้เจ้าจดจ้าว่า)
คูคเอ๋า แอ่ง โข หล่วง,
กั้บแอ๋ง มันหน๊อก
(ขุดเอา มันแกว
กับขุดเอา มันนกอยู่ในป่า)
แร๊ค โค่น
จะปรุ๊ก, เห่อเม่, ไป๋ก๋วย
(ข้างริมโคลนจอมปลวก เอาให้แม่ไปขาย)
ก๋วยตะหลาด, หมื่อทอก, ไค่แง็น, ได่สื่อ
(ขายที่ตลาด วันพรุ่งนี้
ได้เงิน ไปใช้ไปซื้อ
เหง่าปู่น, เหง่าป่าด, กระดาษ, ส่อหรำ
(ขนมจีน
ขนมป่าด กระดาษ ดินสอ)
กั๊บสื่อรำ, เอ๋าหม่า,
กั๋วไก่
(กับซื้อ รำ
เอามา เลี้ยงไก่)
เห่อ มัน
เตริ่ง , มันไหง่,
ไต่ผุ่น จ่อนา
(ให้มันไข่ มันขี้
ได้ปุ๋ยใส่นา)
เจ่าไป๋ทุ่งนา
, เห่อหร่ากั๊บ หร่าแถร้
(เจ้าไปทุ่งนา ให้หากบหาเขียด)
ร็องส่ายหรี่
, ส่ายแหร่ก , เห่อ ,งุมโอก , งุมเป๋า
(ลงห้วย ลงหนอง
ให้งมหอยงมปู)
เห่าถร้วน
, เห่าด๋อง , เห่อกิ๊บผรั๊ก หร่าด่าง
(เข้าป่า เข้าดงให้เก็บผักเก็บเห็ด)
คันเจ่าเปร่อเห่าบ่าน ,
เห่อควด หวึ๋นหม่านำ
(ถ้าเจ้ากลับมาบ้าน ให้แบกฟืนมาด้วย)
เอ๋าหม่าแหล่ว
, หวันรอน หนึ่งเหง่า
(เอาฟืนมาแล้ว ฟันเป็นท่อนไว้นึ่งข้าว)
หิดรังงาย ,
หร่อมแจ่ว หรุ่งแกง
(ทำกับข้าว ,
ต้มแจ่ว , ต้มแกง)
ทังยามแลง ดังแง็น
สะหมูด
(เวลาตอนเย็น ตะวัน
ค้อยต่ำ ใกล้ค่ำ)
เห่อเจ่าเถรี่ยว เจ่าถรูด
เตร๋าหวึ่น เตร๋าวี
(ให้เจ้ารีบ เจ้าเร่ง
ติดฟืน ติดไฟ)
คันแหม่น หน่ำโบะมี
แหน่นอุ๊ แหน่นแอ่ง
(ถ้าหากน้ำไม่มี ในโอ่งในอ่าง)
เห่อเจ่าถร่ายหลึก ถร่ายหลาน
ไป๋ตั๊ก
(ให้เจ้าใช้ลูกใช้หลานไปตัก)
เอ๋าหม่า กื่อ โส่ยหน่า
โส่ยปร๋า
(เอามาไว้ ล้างหน้า
ล้างตา)
โส่ยมือ โส่ยเง่ง
โส่ยผรั๊ก โส่ยหมี
(ล้างมือล้างเท้า ล้างผักล้างหมี่)
คันเจ่าหิดทรูหนี่ พันฮุนคร๋อ
ฮุนดี๋
(ถ้าเจ้าทำอย่างนี้จะเป็นคนขยัน คนดี)
หิด ดร๋อ
หมื่อ ดร๋อปี๋ พ่อเม่พี่หน่วงเสื่องหราย
(ทำประจำทุกปี พ่อแม่พี่น้อง
รักใคร่มาก)
แด็กส่าว แด็กบ่าว
หมั่นเอาหิดหอกหิดพา
(ผู้สาว ผู้บ่าวสาวอยากได้เอาไปเป็นผัว เป็นเมีย
เอ๋าไป๋ดร๋ำนา เห่อพ่อเม่เหร่ากิ๋น
(เอาไปดำนาให้พ่อแม่ได้กิน)
แม่นเด๋อเหยี่ย เด๋อหรอ
โบะหาดกิ๋นทังเหง่า
(ถ้าใคร ได้ยินได้รู้
ไม่อยากกนข้าวกินปลา)
ขิดทังถร่อเจ่า จนหล่ำ
จนปร๋าย
(มัวแต่คิดถึงเจ้า จนแทบล้มแทบตาย)
หน่วงเอ๊ย แอ๊งเอ๊ย
(น้องเอ๋ย พี่เอ๋ย)
เฮยปิ่บ เฮยปิ่บ
เฮ้ยปิ่บ เฮ้ยปิ่บ
แต่งโดย
คุณตาเหลือ ราชลัย
|
(ออกรายการโทรทัศน์ ช่อง
5 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม
2523)
ไทห่อยหน่อยหุ่นแถรก ฮุนแซกสากถ่วยเห่อ แหน่นวียหมื่อเกิด
(ไทข้าน้อยชาวแสก) (มาเต้นสากถวายให้) (เนื่องในงานวันพระราชสมภพ)
ห่องพาองค์หวั่วสร่างเถร่า ถร่อเห่อ
พาองค์หวั่วสร่างเถร่า
เห่อมีมายุหร่อต่วย พันต่วยเทอญ
(ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ)
(ขอให้) (มเหสีของพระเจ้าอยู่หัว) (ให้มีอายุ 100 ปี) (พันปีเทอญ)
|
โอ๋ นอ
แอง หนี่ พัน
ปุ ฮุน โค่น
(โอ๋นอ พี่นี่เป็นคนทุกข์ คนยาก)
นูน ทน
เสร่ง พัน ถร่อ ลุม ถรุ่ง
ผ่อ เจ่า หวี่
ฮี้ว
(ทนนอนหนาวคนเดียว ลมก็พัดมาเรื่อย ๆ)
ปลิ๋ เป๋อ
หร่อง เจ้า หร่อน
ล็ง
(ใบไม้แห้งก็ร่วงลง)
ทนนูนด๋อง และนูนทร่อง
กล๋างหิดนา ได่ก๋วยเหง่า
(ทนนอนดงนอนทุ่ง หลังทำนาได้ขายข้าว)
ฮูน แต่ง
เจ่า ไป่ อยู่
ย่อย นางสิหน่อย กะ
ทรู เนอ
(มาแต่งเจ้าไปอยู่ด้วย น้องจะพูดว่าอย่างไร)
เหรอ เหรอ
ทาง สะ เล่า เหล่า เอ๋า
ไป๋ เพรกตะแหล่ว
(ลึก ลึก
ในหมู่บ้านไผ่ล้อม เขาเอาสาวสวยไปหมดแล้ว)
หรั่ว ตั่ง
ถร่อ ยูด แก้ว ทางบ๊ะหว่า ผี่หน่วงโร
(เหลือตั้งแต่ยอดแก้ว ทางบ๋ะหว้า พี่น้องบ้านแสกเรา)
มีเหล่าโท ไก่หย๋อกื่อ เอ๋าฮูนกิ๋นว่าว จ่อถรุ่ง
(มีเหล้าโท อย่าเก็บไว้ เอามากินลงใส่ท้อง
สักป่วยลุงแหละป้าหลุ่ก ย็องแตร้วเห่าจ่อ จิ๋น(โอ๋
นอ)
(สักครู๋ ลุงและป้าลุกขึ้นยืนฟ้อนเกี้ยวเข้าหากัน)
เหล่า โร
กิ๋น ซือ หนี่
นั่น ห่อง นายพรานเหล่าหน่ำโฝ่ง
(โอ๋นอเหล้าที่เรากินอยูเดี๋ยวนี้ ได้มาจากนายพรานเป็นเหล้าจากโพรงไม้)
คาวผะองต์หวั่วหิ่นโผด เอา เมาหวั่ว
อยู่ ตร๋าว
(เมื่อคราวพระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดเอาแม่ท่านอยู่ชั้นดาวดึงส์)
เห่อหน่าส่าว แหละลุงป้า
มี งำ (คำ)
จ่อ เจ่าด๋อ ฮูน
(ให้น้าสาวและลุงป้า มีทองใส่ทุกคน)
เห่อ ได่
บุญ เรง กิ๋น สู่นิพพาน ด๋อถ่าน
โอละหน่อ
(ให้ได้บุญเท่า
ๆกัน ตายไปให้ขึ้นสรวงสวรรค์ทุก
ๆ คน)
แต่งโดย
คุณลุงติ๊ก อาสามารถ
|
โห่ 3
ครั้ง
โอ่เฮาโอ เฮาโอ้ เฮาโอ
เอ๋าพันทา เอ๋าแอ๋ง พันทา
(เอาพี่ไหม เอาพี่ได้ไหม)
เอ๋าพันทา หมากโหม่ก หมากหวั่ก
(เอาได้ไหม หมากฟัก หมากแฟง)
โบะพันตาหมั่ก ห่องแอ๋ง หม่อลำ
(ไม่น่ารัก คือ ของพี่หมอลำ)
ห่องหมั่นหย่ำ ห่างปิ๊ด เก๋งไก่
(ของที่พี่ต้องการกิน
คือ คั่วเป็ด แกงไก่)
กิ๋นอิ่มแหล่ว ไหง่หร่อด
จ๊วก จ๊วก
(กินอิ่มแล้ว ขี้ไหล
ท้องร่วงเสียงดังจ๊วก จ๊วก)
หรอดจ๊วก จ๊วก
จ่อโส่ง เจ่าน่า
(ขี้ไหลจ๊วกจ๊วก ใส่กางเกงของเจ้า)
เหง่าตุ่งทา เหง่าโส่ง
ไหง่หรอด
(เหม็นอะไร เหม็นกางเกง
ถูกขี้ไหล)
เฮยปิ่บ เฮยปิ่บ
โอ่เฮาโอ เฮาโอ
เฮาโอ
ห่อยหมักเจ่า หมักถร่อยเยือเยือ
(
พี่รักเจ้ารักตั้งแต่นาน ๆ )
เยือ โบะเยือเจ่างาย แต่นเพี่ย
แต่นสิ่น
(นานไม่นาน ตั้งแต่เจ้ายังไม่ได้ใส่เสื้อใส่ผ้าซิ่น)
ติ่นลินติน แอ๋งเสื่อง
เจ่าหล่าย
(ติ่นลินติน พี่รักเจ้ามาก)
แต่โข่หมากเก่ หง่ายแท็นปร่องเบร๋อ
(รักตั้งแต่ ต้นมะเขือยังไม่แตกใบ)
เถร่าจะเทอง่ายทันได้หึ่น
(หัวตะไคร้ ปลูกแล้วยังไม่ขึ้น)
ยามบึ๋นหวึ่นเจ่าเส่งเจ่าหวาน
(เวลาฝนตก เจ้าหนาว
เจ้าตกใจแล้วร้อง)
เสืองแองหนี่ อู่นเก่
สะเหม่อโย่ย
(รักของพี่นี้ อ่อนแข็งเหมือนทราย)
หร่าวบ่ส่มหน่วง ทรางอหง่ำเหวียเ
(กลัวไม่สมน้อง กินแล้วคาคอ
ขมฝาด)
แอ๋งตุ่มหน่วง ยู่รูดดว่อแอ๋ง
(พี่กอดน้อง น้องเยี่ยวใส่พี่)
ยุดจ่อแหล่ว ยังโบะ
เสื่องแอง
(เยี่ยงใส่แล้ว ยังไม่รัก
ไม่เห็นใจพี่)
แองเสื่องหน่วง หน่วงต้อง
เสื่องแอ๋ง
(พี่รักน้อง น้องต้องรักพี่)
เฮยปิ่บ เฮยปิ่บ
เฮ้ยปิ่บ เฮ้ย ปิ่บ
2.11 การฟ้อนรำของชาวไทแสก
ท่ารำการเต้นสาก
การเต้นสากปัจจุบันเต้นทั้งหญิงและชายท่ารำที่ใช้ประกอบการเต้นสากจะใช้ท่าหลักซึ่งมีทั้งหมด 4 ท่า ชายหญิงจะใช้ท่าเดียวกันทุกท่า คือ
2.11.1 ท่าสร้อยลอยลม
ลักษณะของท่าสร้อยลอยลม คือ
1) ม้วนมือซ้ายจีบแล้วปล่อยออกหงายมือ ระดับแง่ศีรษะด้านซ้าย มือขวางอแขนจีบคว่ำระดับหน้า ก้าวเท้าซ้าย แตะเท้าขวา
2) ม้วนจีบขวาปล่อยออกหงายระดับแง่ศีรษะด้านขวา มือซ้ายงอแขนจีบคว่ำระดับหน้า ก้าวเท้าขวา
แตะเท้าซ้าย
3) ก้มตัวลง
ม้วนจีบขวาปล่อยออกหงายมือข้างตัวด้านซ้าย
มือขวาจีบคว่ำลง ก้าวเท้าซ้าย แตะเท้าขวา
ภาพประกอบที่ 29
การแสดงแสกเต้นสากของกลุ่มหนุ่ม
สาว ไทแสก
4) ยังก้มตัวอยู่ จีบขวาปล่อยออกหงายมือข้างตัวด้านขวา มือซ้ายจีบคว่ำลงก้าวเท้าขวา แตะเท้าซ้าย
2.11.2 ท่าสะบัดจีบ
ลักษณะของท่าสะบัดจีบ คือ
1) จีบหงายมือขวาออกข้างตัวระดับไหล่ มือซ้ายตังวงกลางข้างตัวระดับไหล่
2) ปล่อยจีบมือขวาออกหงาย พร้อมกับมือซ้ายจีบคว่ำลง
3) พลิกมือทั้ง
2 ขึ้น
มือขวาจะตั้งวงระดับไหล่มือซ้ายจะหงายจีบขันลักษณะของมือ จะปฎิบัติสลับกันไปเรื่อยๆ
4) ลักษณะของเท้า
ก้าวเท้าขวา
ชิดเท้าซ้ายจะปฎิบัติสลับกันตลอด
2.11.3 ท่ากาตากปีก
ลักษณะของท่ากาตากปีกมี ดังนี้
1) จีบเข้าอก
ไขว่มือที่อก
ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
2) ปล่อยจีบอกตั้งวงทั้ง 2 มือระดับไหล่
ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
2.11.4 ท่าสอดสร้อยมาลด มีลักษณะดังนี้
1) มือซ้ายม้วนจีบอกตั้งวงระดับแง่ศีรษะ มือขวงจีบหงายระดับชายพกก้าวเท้าซ้ายแตะเท้าขวา
2) มือขวาม้วนจีบอกตั้งวงระดับแง่ศีรษะ มือซ้ายจีบหงายระดับชายพก ก้าวเท้าขวาแตะเท้าซ้าย
(ผลจากการสังเคราะห์ “แสกเต้นสาก” ชิษณุพงค์ พลหาราช “แสกเต้นสาก” ณรงค์ ป้อมบุปผา)
2.12 อาชีพชาวไทแสก
2.12.1 ภูมิปัญญาชาวไทแสกเกี่ยวกับการจับปลาเลี้ยงชีพ - เนื่องจากบ้านอาจสามารถเป็นพื้นที่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง ดังนั้นอาชีพรองหลังจากฤดูกาลทำนา จึงเป็นอาชีพจับปลกซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนไทแสก โดยมีภูมิปัญญาการจับปลาดังนี้
1) การประดิษฐ์เครื่องมือจับสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง เป็นประเภทเครื่องจักสาน มีตั้งแต่ขนาดเล็กสุดจนถึงขนาดใหญ่สุด การประดิษฐ์เครื่องจักสานจะต้องมีการออกแบบเฉพาะใช้ในแม่น้ำโขง เพราะเป็นแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
ดังนั้นจึงมีการออกแบบให้ลดแรงต้านจากกระแสน้ำไหล
รวมทั้งการยึดเครื่องมือจับสัตว์น้ำให้ทนต่อการพัฒนาของกระแสน้ำ เครื่องมือจับสัตว์น้ำมีกระบวนการผลิตที่สืบทอดภูมิปัญญา จากบรรพบุรุษ ดังนี้
-จั่น ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ มีกลไกทางปากจั่น
เวลาปลาว่ายขึ้นเหนือน้ำก็จะเข้าไปทางปลาจั่น แล้วก็ถูกจับได้
-ไซ
ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นดอก
แต่แข็งกว่าและถักให้รูปกลม
ทำงาเพื่อให้ปลาหรือปลาไหลเข้าไปแล้วออกไม่ได้
-
โทง ทำด้วยไม้ไผ่สาน มี
3 ส่วน ส่วนล่างสุดมีปล้องกลมเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 20
เซนติเมตร
มีงาสวมเข้าไปภายในรอบงาสานห่าง ๆ
และบางทำให้เหยื่อที่ล่อบางส่วนลอดออกมา
ทำให้ปลามากินเหยื่อและหลงเข้าไปภายในแล้วออกไม่ได้ตัวทองของโทงกว้างใหญ่และเรียวเล็กไปทางปากโทง มีฝาปิด
โทงมี 2 ชนิด
คือ โทงใหญ่ และโทงเล็ก
- โทงเล็ก รูปร่างคล้ายโทงใหญ่ แต่เล็กกว่าใช้สำหรับน้ำตื้น ปลาที่เข้า
คือ ปลากะแตบ
-
ลอบ ทำด้วยไม้ไผ่รูปร่างกลม ยาวประมาณ
2.50 เซนติเมตร ใช้ไม้ไผ่ เหลากลมโตขนาดดินสอดำแล้วถักด้วยเครือซูด
(เถาว์วัน) หรือไนล่อน
ระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตร
ที่ปากลอบจะมีงาสำหรับปลาเข้าไปแล้วออกไม่ได้
-ขา
ทำด้วยไม้ไผ่
ภายในเอากิ่งไหม้แห้งใส่เข้าไป
เพื่อให้ปลาเข้าไปซ่อนตัว ใส่ลงไปในน้ำสัก
2-3 วัน แล้วจึงกู้
- ผีน้อย นำกอไม้แห้ง
เช่น ตันหูลิง
มารวมกันมัดให้แน่น ผูกหัวผูกท้าย โตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร
ทิ้งลงไปยังริมฝั่งเวลาประมาณ
1 ทุ่ม ชาวบ้านก็จะดึงผีน้อยและเขย่าลงในท้องเรือ
- ตุ้ม ใช้ตักปลาบริเวณน้ำดิ้นลึกไม่เกินหัวเข่า ในตุ้มเป็นเหยื่อปละทั่ว ๆไป โดยเอาขี้ควายตากแห้งทาให้ทั่วก่อนใช้ตักปลา เพื่อให้ปลาตามกลิ่นเหยื่อเข้าตุ้ม (บทสรุปจากการสนทนากลุ่ม : 2-
3 กรกฎาคม 2548)
2) เครื่องมือจับสัตว์ประเภทใช้วัตถุดิบจากเส้นใย มีการสานอวน ,
ตาข่าย (มอง), แห,
สะดุ้ง
, ยอ, สวิง, กระต่อง
3) การเลี้ยงปลาในกระชัง นับว่าเป็นหมู่บ้านที่เป็นต้นแบบของการเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลาในกระชัง จะแบ่งได้เป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ คือ
3.1)
การเลี้ยงปลาจากธรรมชาติ คือ การจับปลาในแม่น้ำโขงด้วยเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ
แล้วนำมาขังไว้ในกระชังที่ประกอบขึ้นจากไม้ไผ่ขนาดความกว้าง 2 เมตร
ยาว 3 เมตร
ลึก 1 เมตร เป็นโครงสร้าง และมีถังบรรจุยางแอสฟัลต์เปล่า ขนาด
200 ลิตร ปิดฝาเป็นทุนลอย เนื่องจากทนต่อการเป็นสนิมได้ดี
ส่วนที่ใช้ขังปลาจะใช้ผ้าตะแกรงที่ผลิตจากใยพลาสติกสังเคราะห์สีฟ้า ลักษณะคล้ายมุ้งลวดประกอบกันขึ้น 5
ด้าน คือด้านกว้าง 2 ด้าน
ด้านยาว 2 ด้าน และด้านพื้น
1 ด้าน
พอเย็บประกอบกันขึ้นจะมีรูปทรงคล้ายกับบ่อเลี้ยง ปลา 4
เหลี่ยม ซึ่งการติดตั้งจะให้ของบนพื้นน้ำประมาณ 20
เซนติเมตร
และสามารถยกบ่อนี้ขึ้นให้พ้นผิวน้ำได้เมื่อต้องการจับปลาขึ้นมา
อาหารสำหรับเลี้ยงปลา สามารถแยกได้เป็น 2
ประเภท คือ 1)
อาหารจากธรรมชาติ เช่น
ไส้เดือนฝอยจากริมแม่น้ำโขง ผสมกับเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรือจากร้านอาหารในตัวเมือง
วิธีนี้จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารปลาจากบริษัท และ
2) อาหารจากบริษัทจำหน่ายอาหารปลาทั่วไป
3.2 )
การเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาจากพันธุ์ปลาที่เพาะเลี้ยงจากกรประมง จะมีปลานิล
ปลาทับทิม ปลาสวาย ซึ่งผู้เลี้ยงจะไปซื้อลูกปลาจากสถานีประมงน้ำจืด ตำบลหนองญาติ
อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นำมาปล่อยลงกระชังชนิดเดียวกันกับการ
เลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาชนิดนี้นิยมใช้อาหารจากโรงงานที่มีจำหน่ายจากร้านขายอาหารปลาทั่วไป และมีต้นทุนในการเลี้ยงสูงขึ้น
การเลี้ยงปลาในกระชังทั้ง 2 รูปแบบ
เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการศึกษาดูงานเฉพาะทางจากต้นแบบในการเลี้ยงปลาในกระชังได้ รวมทั้งทางชุมชนมีวิทยากรสามารถบรรยายได้ (บทสรุปจากการสนทนากลุ่ม : 23- 24
กรกฎาคม 2548)
4.) การจับปลาในแม่น้ำโขง วิธีชีวิตของชาวบ้านอาจสามารถเป็นตำนานการจับปลาในแม่น้ำโขงที่เป็นมานานจากบรรพบุรุษ โดยจะมีเทคนิคการใช้เครื่องมือจับปลา เช่น การตกปลาแบบต่าง ๆ
เช่น การไหลมอง การดักปลาโดยใช้ลอบ การใช้ตุ้มจับปลา การใช้อวนจับปลา การเหวี่ยงแห
การสะดุ้งในการจับปลา
(บทสรุปจากการสนทนากลุ่ม : 23 - 24 กรกฎาคม
2548)
2.12.2
การทำเกษตรอินทรีย์ บริเวณริมฝั่งลำน้ำโขง ชุมชนไทแสก
บ้านอาจสามารถ จะมีแผนการทำเกษตรอินทรีย์บริเวณนี้ค่อนข้างชัดเจน คือ
เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขง เริ่มลดลง
ริมฝั่งน้ำจะมีพื้นที่สามารถทำการเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
เนื่องมาจากฤดูฝนกระแสน้ำได้พัดพาเอาอินทรีย์ธาตุที่เป็นอาหารสำคัญของพืชมาตกตะกอนไว้ที่บริเวณนี้ ชาวบ้านอาจสามารถจะทำการเกษตรอินทรีย์ที่มีผลผลิตที่ดีมาก
ส่วนใหญ่จะเป็นพืชผักสวนครัวทุกอย่างที่ปลูกไว้รับประทานในครอบครัว หากเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายในตัวเมืองได้ นอกจากนี้ยังมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับไว้ด้วย ดังนั้น
การทำเกษตรอินทรีย์
สามารถนำมาส่งเสริมให้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานสำหรับผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม (บทสรุปจากการสนทนากลุ่ม : 23- 24 กรกฎาคม 2548)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น