วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ
หมวก 6 ใบ มีสี 6 สี คือ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน ...
แต่ละสีล้วนมีความหมาย
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการคิดว่า
การคิดเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ อุปสรรคสำคัญของการคิดคือความสับสน ทั้งนี้เพราะเราพยายามจะกระทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
เช่นในขณะที่คิด เราได้ใช้อารมณ์ ข้อมูล เหตุผลเชิงตรรกะ ความคาดหวัง และความคิดสร้างสรรค์มารวมปะปนกันไป การคิดจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและใช้เวลามาก คล้ายกับนักเล่นกายกรรมที่เล่นโยนลูกบอลเพื่อสลับมือรับหลายลูกเกินไป จึงรับลูกบอลไม่ได้
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงเสนอวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ ไว้ว่าในการดำเนินชีวิตของคนเรา
บางคนสวมหมวกหลายใบ คือการแสดงบทบาทในหน้าที่หลายอย่าง แม้ว่าคนเราจะมีหมวกหลายใบ แต่ก็สวมได้ทีละหนึ่งใบเท่านั้น เมื่อสวมหมวกใบไหนก็ต้องคิดและปฏิบัติในหน้าที่นั้น ที่เฉพาะเจาะจง
วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลได้ใช้ความคิดที่แตกต่างกันใน 6ลักษณะ คือ คนสวมหมวกสีขาว จะต้องคิดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง คนที่สวมหมวกสีแดง จะต้องแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา คนที่สวมหมวกสีดำ จะต้องพูดถึงแต่จุดด้อย ข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง ข้อเสีย หรือสิ่งที่เป็นด้านลบ คนที่สวมหมากสีเหลือง จะต้องพูดถึงแต่จุดที่ดี ประโยชน์ คุณค่า จุดเด่นหรือความคิดในเชิงบวก คนที่สวมหมวกสีเขียว จะต้องแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์เป็นทางเลือกที่แปลกใหม่ คนที่สวมหมวกสีน้ำเงิน จะต้องเป็นคนคอยสรุป มักจะเป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือประธานการประชุม
ในการอบรมบุคลากรของหน่วยงานหนึ่งเกี่ยวกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ หลังจากที่วิทยากรนำเสนอรายละเอียดวิธีคิดนี้ แล้วก็มีการแบ่งกลุ่มให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกการคิดด้วยวิธีคิดแบบนี้ในประเด็นที่วิทยากรกำหนด โดยวิทยากรได้นำหมวกให้ผู้เข้ารับการอบรมคนละ 6 ใบ ครบตามสีที่กำหนด เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดตามบทบาทของหมวกที่สวมแต่ละใบ
ระหว่างที่แต่ละกลุ่มกำลังดำเนินการอภิปรายและสมาชิกต่างสวมหมวกตามบทบาทที่กลุ่มร่วมกันกำหนดอยู่นั้น ปรากฏว่ามีประธานกลุ่มหนึ่ง เอาหมวกของสมาชิกคนหนึ่งมาคืนทั้ง 5 ใบ ขาดไปแต่สีดำสีเดียว วิทยากรสงสัย จึงถามไปว่า
“ทำไมไม่ให้สมาชิกสวมหมวกให้ครบทั้งหกสี”
ประธานกลุ่มก็ตอบอย่างหัวเสียว่า
“มีอย่างที่ไหน กลุ่มเขาเปลี่ยนประเด็นการอภิปรายไปหลายหัวข้อแล้ว
คุณปรัศนีย์สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม แกก็ยังพูดแต่ปัญหา อุปสรรค โทษคนโน้นคนนี้ไปเสียทุกเรื่อง
จนกลุ่มเขารำคาญ เตือนเท่าไรแกก็ไม่เปลี่ยนแปลง ผมเลยจะให้แกสวมหมวกสีดำใบเดียวตลอดไป”
โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูเขา หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญ
โลกนิติคำโคลง
เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงเสนอวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ ไว้ว่าในการดำเนินชีวิตของคนเรา
บางคนสวมหมวกหลายใบ คือการแสดงบทบาทในหน้าที่หลายอย่าง แม้ว่าคนเราจะมีหมวกหลายใบ แต่ก็สวมได้ทีละหนึ่งใบเท่านั้น เมื่อสวมหมวกใบไหนก็ต้องคิดและปฏิบัติในหน้าที่นั้น ที่เฉพาะเจาะจง
วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลได้ใช้ความคิดที่แตกต่างกันใน 6ลักษณะ คือ คนสวมหมวกสีขาว จะต้องคิดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง คนที่สวมหมวกสีแดง จะต้องแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา คนที่สวมหมวกสีดำ จะต้องพูดถึงแต่จุดด้อย ข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง ข้อเสีย หรือสิ่งที่เป็นด้านลบ คนที่สวมหมากสีเหลือง จะต้องพูดถึงแต่จุดที่ดี ประโยชน์ คุณค่า จุดเด่นหรือความคิดในเชิงบวก คนที่สวมหมวกสีเขียว จะต้องแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์เป็นทางเลือกที่แปลกใหม่ คนที่สวมหมวกสีน้ำเงิน จะต้องเป็นคนคอยสรุป มักจะเป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือประธานการประชุม
ในการอบรมบุคลากรของหน่วยงานหนึ่งเกี่ยวกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ หลังจากที่วิทยากรนำเสนอรายละเอียดวิธีคิดนี้ แล้วก็มีการแบ่งกลุ่มให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกการคิดด้วยวิธีคิดแบบนี้ในประเด็นที่วิทยากรกำหนด โดยวิทยากรได้นำหมวกให้ผู้เข้ารับการอบรมคนละ 6 ใบ ครบตามสีที่กำหนด เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดตามบทบาทของหมวกที่สวมแต่ละใบ
ระหว่างที่แต่ละกลุ่มกำลังดำเนินการอภิปรายและสมาชิกต่างสวมหมวกตามบทบาทที่กลุ่มร่วมกันกำหนดอยู่นั้น ปรากฏว่ามีประธานกลุ่มหนึ่ง เอาหมวกของสมาชิกคนหนึ่งมาคืนทั้ง 5 ใบ ขาดไปแต่สีดำสีเดียว วิทยากรสงสัย จึงถามไปว่า
“ทำไมไม่ให้สมาชิกสวมหมวกให้ครบทั้งหกสี”
ประธานกลุ่มก็ตอบอย่างหัวเสียว่า
“มีอย่างที่ไหน กลุ่มเขาเปลี่ยนประเด็นการอภิปรายไปหลายหัวข้อแล้ว
คุณปรัศนีย์สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่ม แกก็ยังพูดแต่ปัญหา อุปสรรค โทษคนโน้นคนนี้ไปเสียทุกเรื่อง
จนกลุ่มเขารำคาญ เตือนเท่าไรแกก็ไม่เปลี่ยนแปลง ผมเลยจะให้แกสวมหมวกสีดำใบเดียวตลอดไป”
โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูเขา หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญ
โลกนิติคำโคลง
********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น