1. โครงงาน
เรื่อง ด่านหน้าฟันดี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในโรงเรียนของเราเด็กๆทุกคนได้รับการสอนมาว่าจะต้องแปรงฟันหลังจากรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งอาจารย์ได้บอกพวกเด็กเสมอมาว่าเป็นลักษณะเด่นของนักเรียนโรงเรียนนี้ แม้แต่กระทั่งอาจารย์ทุกคนก็จะต้องแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงเหมือนเด็กๆ แต่จากการที่เป็นเด็กซึ่งมักจะห่วงเล่นประกอบกับความขี้เกียจ
จึงทำให้นักเรียนหลายคน หรือส่วนใหญ่ทีเดียวจะละเลยเรื่องการแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงไปมาก
และจากการที่โรงเรียนได้ให้เด็กทุกห้องเรียนตรวจสุขภาพช่องปากประจำภาค
ก็พบว่านักเรียนหลายคนจากทุกระดับชั้นเป็นโรคฟันผุกันมาก โดยที่พวกเราได้ถามจากอาจารย์ในห้องพยาบาลมา
เพื่อนๆในห้องเรียนหลายคนมีอาการฟันผุ
และปวดมากบางคนถึงกับร้องไห้น่าสงสารมากเลย
พวกเราจึงคิดว่าถ้าจะให้เด็กๆได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาฟัน
เราควรหาวิธีรณรงค์ให้เขาเห็นถึงประโยชน์ในการดูแลพร้อมทั้งชี้ให้เห็นโทษของการละเลยไม่แปรงฟัน พอดีในกลุ่มที่เราทำโครงงานนี้มีคุณพ่อและคุณแม่ของเพื่อนคนหนึ่งเป็นหมอฟัน
คิดว่าน่าจะเชิญท่านมาช่วยเราได้
เราจึงคิดทำโครงงานนี้ขึ้นและได้ตั้งชื่อโครงงานว่า “ด่านหน้าฟันดี”
วัตถุประสงค์
เพื่อหาวิธีการให้นักเรียนของโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
เห็นความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้ดีและสามารถเป็นตัวแทนของคนที่มีทันตสุขภาพที่ดี
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ
ที่ฟันผุของทุกระดับชั้นโดยการสมัครเข้าร่วมโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนที่อยู่ในโครงการให้ความสนใจดูแลสุขภาพช่องปาก
โดยการแปรงฟันหลังจากรับประทานอาหารกลางวันทุกวันและนำไปปฏิบัติจนเป็นสุขนิสัย
สถานที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
ผู้รับผิดชอบ
นักเรียนที่ทำโครงงานจำนวน 6 คน
โดยมีคุณพ่อ คุณแม่ของเพื่อนที่เป็นทันตแพทย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ระยะเวลาในการทำงาน 3 เดือน
งบประมาณ 600 บาท
วิธีการดำเนินงาน
1.
พวกเราได้ไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาถึงขั้นตอนในการทำงานและงานที่ต้องทำโดยตกลงกันว่าควรแบ่งหน้าที่กันไปทำ
ดังนี้
- 2 คน
ทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์แปรงฟันของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น
-
2 คน ไปติดต่อขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ประจำชั้น ช่วยทำการสำรวจโดยการนับจำนวน
นักเรียนที่ละเลยเรื่องการแปรงฟันหลังการรับประทานอาหารกลางวันในชั่วโมงสนทนา
- 2 คน ติดต่อกับอาจารย์ประจำห้องพยาบาลในการขอตรวจสอบข้อมูลจากประวัติสุขภาพของนักเรียน
2.
สำรวจจำนวนนักเรียนที่ไม่แปรงฟันหรือแปรงบ้างไม่แปรงบ้างหลังรับประทานอาหารกลางวัน
โดยการสังเกตและขอความร่วมมือ
จากครูประจำชั้นช่วยสำรวจให้โดยการนับจำนวนนักเรียนดังกล่าว
3.
ขอความช่วยเหลือและความอนุเคราะห์จากอาจารย์ห้องพยาบาล โดยการตรวจสอบจากประวัติ
สุขภาพของนักเรียนที่มีโรคเกี่ยวกับฟันเพื่อจะได้ทราบลักษณะของโรคเกี่ยวกับฟันที่นักเรียนเป็นว่ามีอะไรบ้าง
4
.นำข้อมูลที่ได้มาไปปรึกษากับอาจารย์เพื่อวางแผนการทำงานขั้นต่อไป ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำว่าควรต้องหาวิธีการว่าจะทำอย่างไรที่จะให้นักเรียนที่มีปัญหาเหล่านั้นหันมาดูแลรักษาสุขภาพของช่องปาก
พอดี คุณพ่อ คุณแม่ของเพื่อนคนหนึ่งเป็นทันตแพทย์
เราจึงได้ไปปรึกษาท่านว่าควรจะใช้วิธีใดดี ท่านได้ให้ความคิดเห็นว่าจะต้องพูดให้เขาเข้าใจถึงโทษของการไม่แปรงฟันว่าจะมีโทษกับเขามากน้อยเพียงใด
พวกเราจึงคิดว่าควรให้ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากโดยรวมเสียก่อนเพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ โดยการเชิญทันตแพทย์มาพูดให้ฟังทีละระดับชั้นในวันประชุมรวมของแต่ละระดับ
ให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากของทุกคน
5. หลังจากให้ความรู้แล้วเราจึงได้ทำการประชาสัมพันธ์โครงการโดยการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการจากทุกระดับชั้น
ระดับละ 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 60 คน
6.
จัดวันเวลาให้ทันตแพทย์มาตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่มีปัญหาทีละระดับ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการดูแลรักษาที่ถูกวิธีไปด้วย
ระดับละ 2 ครั้ง
7. หลังจากนั้นในสัปดาห์ที่ 10
เราได้จัดให้มีการประกวด 2 รายการ ดังนี้ คือ
- ด่านหน้าฟันดีประจำระดับ และ
- สุดยอดแห่งด่านหน้าฟันดีของโครงการ
8.
ตัดสินผลการประกวดโดยเชิญอาจารย์ตัวแทนของแต่ละระดับ อาจารย์ที่ปรึกษา และทันตแพทย์ มาเป็นกรรมการตัดสิน
9. ทำพิธีมอบรางวัลหน้าเสาธง โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน
10.
จัดงานเลี้ยงขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการและสรุปผลโครงการพร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนที่ร่วมโครงการทุกคน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.นักเรียนที่ร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและสามารถปฏิบัติได้จริง
2.
ทำให้น้องๆและเพื่อนๆที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพฟันที่ดีขึ้น
3.
ทำให้โครงการแปรงฟันหลังจากรับประทานอาหารกลางวันของโรงเรียนได้สมาชิกที่รักฟันและแปรงฟันมากขึ้นและมีผู้ให้ความสนใจและอยากให้จัดโครงการนี้อีกมาก
สิ่งที่ประทับใจจากการทำโครงการ
อาจารย์ ผู้ปกครองและเพื่อนๆ
ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือดีมาก
ทำให้พวกเรารู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและได้รู้จักผู้คนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ควรจัดโครงงานนี้ให้กับนักเรียนทั้งหมดที่สนใจ โดยอาจทำเป็นทีละระดับชั้น เนื่องจากมีผู้ให้ความสนใจมากมาย
แต่ด้วยเวลาและข้อจำกัดของผู้ทำโครงการซึ่งมีเพียง 6 คนเท่านั้น
ไม่สามารถให้บริการและเก็บข้อมูลได้หมดเนื่องจากมีเวลาน้อย
ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการศึกษาและได้ข้อมูลมากกว่านี้และจะเห็นผลดีกว่าด้วย
…………………………………………..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น