2. โครงงาน เรื่อง ข้าวห่อสาหร่ายเพื่อสุขภาพ
ความเป็นมาของโครงงาน
เมื่อเอ่ยถึงอาหารญี่ปุ่นหลายคนคงจะนึกถึงข้าวห่อสาหร่ายเพราะข้าวห่อสาหร่ายเป็นอาหารญี่ปุ่นที่ถูกปากของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ข้าวห่อสาหร่ายที่เรารับประทานอยู่จะมีหลายแบบหลายไส้แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำข้าวห่อสาหร่ายก็คือสาหร่ายและข้าว
ข้าวที่ใช้ทำข้าวห่อสาหร่ายที่เราชอบรับประทานในปัจจุบันนี้เป็นข้าวญี่ปุ่นที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การทำข้าวห่อสาหร่ายอยู่แล้ว
เนื่องจากมีลักษณะเหนียวนุ่ม
แต่ข้าวญี่ปุ่นก็จะเป็นข้าวที่มีราคาค่อนข้างแพงและที่สำคัญเป็นข้าวที่ขัดสีจนเป็นสีขาวซึ่งเราเรียนมาในวิชาโภชนาการและทราบว่าข้าวที่ถูกสีจนเป็นสีขาวจะเป็นข้าวที่มีวิตามินค่อนข้างน้อย ส่วนข้าวที่ไม่ได้ถูกขัดจนเป็นสีขาวที่ชาวบ้านเรียกว่าข้าวซ้อมมือ
หรือที่เราเรียกกันว่าข้าวกล้องนั้นเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
พวกเราจึงมีความสนใจว่าถ้าเราจะนำข้าวกล้องซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
และมีราคาไม่แพงเกินไปมาทำข้าวห่อสาหร่ายน่าจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่เดียวและราคาที่ไม่แพงด้วย
โดยพวกเราจะผสมอัตราส่วนหรือใช้สูตรการผสมข้าวเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับข้าวญี่ปุ่นมากที่สุด
ที่กล่าวมานี้จึงกลายมาเป็นที่มาของโครงงานของพวกเรา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทำข้าวห่อสาหร่ายที่ใช้ส่วนผสมของข้าวเหนียวขาวและข้าวเจ้ากล้องในอัตราส่วนต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้นป
6 เกี่ยวกับข้าวห่อสาหร่ายทั้ง 3 สูตร ที่คิดค้นขึ้น
สมมติฐาน
ข้าวห่อสาหร่าย
สูตรที่ใช้ข้าวเหนียวขาว 2 ส่วน ผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ส่วน
เป็นข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำข้าวห่อสาหร่ายมากที่สุด
คำจำกัดความ
ข้าวห่อสาหร่ายสูตร 1 หมายถึง
ข้าวเหนียวขาว 1 ½ ส่วน ผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ½ ส่วน
ข้าวห่อสาหร่ายสูตร 2 หมายถึง
ข้าวเหนียวขาว 1 ส่วน ผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 2 ส่วน
ข้าวห่อสาหร่ายสูตร 3 หมายถึง
ข้าวเหนียวขาว 2 ส่วน ผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ส่วน
ขอบเขตของการศึกษา
1.
การศึกษาครั้งนี้จะศึกษาเฉพาะลักษณะของส่วนผสมของข้าวที่ใช้ผสมทั้ง 3 สูตร
2. ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
(เป็นผู้ชิมข้าวห่อสาหร่ายของเรา) เป็นนักเรียนชั้นป. 6
ที่สมัครใจเข้าร่วมในการทดลองจำนวนทั้งสิ้น 10 คน
3.
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ใช้เวลาทดลอง 7 วัน วันละ1ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 14.40 - 15.40 น.
โดยแบ่งเป็นเวลาในการเตรียมงาน
2 วัน เวลาในการทำข้าวห่อสาหร่าย 3 วัน
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้าวห่อสาหร่ายทั้ง
3 สูตร
ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณสมบัติและลักษณะข้าวห่อสาหร่าย
ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ส่วนผสมของข้าวห่อสาหร่าย
วิธีหุงข้าว วิธีการทำข้าวห่อสาหร่าย ผู้ชิมข้าวห่อสาหร่าย ไส้ของข้าวห่อสาหร่าย (ใช้ไส้ปูอัด)
วิธีดำเนินการศึกษา
ในการดำเนินงานครั้งนี้ได้แบ่งการทำงานออกเป็น
3 ขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นโดยทำการศึกษาจากเอกสารหนังสือและสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับ
ส่วนผสมและวิธีการทำข้าวห่อสาหร่าย ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมดังนี้คือ
1. น้ำซูชิ 1 ถ้วย
2. ข้าว 3 ถ้วย
3.
ปูอัด หรือไส้อื่นๆ ตามที่ต้องการ
4.
สาหร่ายสำหรับห่อ
ตอนที่ 2 ขั้นตอนการทดลองทำข้าวห่อสาหร่ายในแต่ละสูตร
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วิธีการทำ
1. เตรียมนำซูชิ
โดยการผสมน้ำส้มสายชู จำนวน ½ ถ้วย น้ำตาล ½ ถ้วย และเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
นำไปตั้งไฟให้อุ่นและคนให้เข้ากัน
2.
ผสมน้ำซูชิกับข้าวที่หุงไว้แล้วตามสัดส่วนของข้าวเหนียวและข้าวเจ้ากล้องดังนี้
สูตรที่ 1 ข้าวเหนียวขาว 1 ½ ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ½ ส่วน
สูตรที่ 2 ข้าวเหนียวขาว 1 ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 2 ส่วน
สูตรที่ 3 ข้าวเหนียวขาว 2 ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ส่วน
3. นำปูอัดมาหั่นเตรียมไว้สำหรับทำเป็นไส้
4.
นำแผ่นสาหร่ายที่เตรียมไว้มาวางบนมู่ลี่ไม่ไผ่และตักข้าวที่เตรียมไว้มาวางบนแผ่นสาหร่ายใส่ปูอัด
ลงไปแล้วม้วนมู่ลี่เข้าหากันให้แน่นพอสมควรเพื่อให้ได้ข้าวห่อสาหร่ายที่เป็นแถวตามความยาวของมูลี่ไม้ไผ่
5.
คลี่มูลี่ออกแล้วนำข้าวห่อสาหร่ายมาตัดเป็นชิ้นขนาดพอคำ
6. จัดใส่จานตกแต่งให้สวยงาม
แล้วนำไปให้เพื่อนอาสาสมัครได้ทดลองรับประทานและบอกผลว่าเป็นอย่างไร
ตอนที่ 3 การทดลองทั้ง 3 สูตร ได้ผลการทดลองดังนี้
สูตรที่ 1 ข้าวเหนียวขาว 1 ½
ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ½ ส่วน
ลักษณะของข้าว ข้าวไม่แข็ง หุงง่าย
การห่อ, การหั่น ห่อง่าย หั่นแล้วไม่แตก ข้าวไม่ร่วงหล่น ข้าวเหนียวเกาะกันดี
รสชาติ อร่อย บางคนบอกว่าข้าวเปรี้ยวไป สาหร่ายเหนียวไป
สูตรที่ 2 ข้าวเหนียวขาว 1
ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 2 ส่วน
ลักษณะของข้าว ธรรมดา
การห่อ,
การหั่น ห่อยากเพราะแห้งและร่วนเกินไป หั่นแล้วจะแตก
รสชาติ อร่อย แต่ข้าวแห้งไป
สูตรที่
3 ข้าวเหนียวขาว 2
ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ส่วน
ลักษณะของข้าว ข้าวนิ่มไป และเละไปหน่อย
การห่อ,
การหั่น ห่อยาก เพราะข้าวนิ่มและเละ
รสชาติ อร่อย แต่นิ่มไป
สรุปผลการศึกษา
จากการทดลองทำข้าวห่อสาหร่ายสูตรต่างๆ
เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ พบว่า
ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า “ข้าวห่อสาหร่ายสูตรที่ใช้ข้าวเหนียวขาว
2 ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ส่วน เป็นข้าวที่เหมาะสมสำหรับทำข้าวห่อสาหร่ายมากที่สุด” แต่จากการทดลองทำพบว่าข้าวที่เหมาะสำหรับการทำข้าวห่อสาหร่ายมากที่สุดคือ
ข้าวเหนียวขาว 1 ½ ส่วนผสมกับข้าวเจ้ากล้อง 1 ½ ส่วน และในด้านความคิดเห็นของนักเรียนผู้ชิมบอกว่าชอบข้าวห่อสาหร่ายทั้ง
3 สูตร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแต่ละคนมีความชอบในเรื่องลักษณะของข้าวแตกต่างกันอยู่แล้ว
เช่นบางคนชอบข้าวแข็ง
บางคนชอบข้าวนิ่ม
จึงทำให้ส่วนใหญ่ชอบทั้ง 3 สูตร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน
1.
ได้ข้าวห่อสาหร่ายที่มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการและยังช่วยประหยัดเงินให้คุณพ่อ
คุณแม่โดยการทำรับประทานเอง
2.
ช่วยประหยัดเงินให้ประเทศชาติโดยการใช้ข้าวของไทย
3.
ได้รับความสนุกสนานกับการทำข้าวห่อสาหร่ายซึ่งเป็นอาหารที่พวกเราชอบรับประทานมาก
4. ได้รู้จักวิธีการทำข้าวห่อสาหร่ายที่ถูกวิธี
5. เมื่อทำจนเกิดความชำนาญ ต่อไปอาจทำเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ โดยการทำข้าวห่อสาหร่ายสูตรไทยๆ
เพื่อสุขภาพและอาจทำขายภายในโรงเรียนได้เงินมากินขนมอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากเรามีเวลาค่อนข้างจำกัด
เพราะในแต่ละครั้งของการทำโครงงานมีเวลาครั้งละ 1 ชั่วโมง เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถทำข้าวห่อสาหร่ายได้ทัน
เราต้องเลยเวลาทุกครั้งโดยเลิกช้ากว่าเพื่อนในโครงงานอื่นๆ
ถ้ามีเวลามากกว่านี้เราคิดว่าอาจจะได้สาหร่ายหลายๆสูตรและหลายๆไส้
หลายรสชาติมากยิ่งขึ้น
ถ้ามีโอกาสเราจะทำโครงงานเรื่องนี้อีกและเราจะออกแบบกล่องใส่และส่งขายด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น