วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานไทยป.3



โครงงาน
  เรื่อง   การอ่านสะกดคำและแจกลูกคำยากจากบทเรียน

                   ผู้จัดทำ…….
                  1………………………………….
                  2………………………………….
                  3………………………………….
                  4. ………………………………..
                  5………………………………….
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
อาจารย์ที่ปรึกษา….
                  1………………………………….
                  2…………………………………
      โรงเรียน……………………………………..
      อำเภอ………………จังหวัด……………………….
      สังกัด……………………………………………….
      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย
                    


บทคัดย่อ
       
        การอ่านเป็นทักษะที่ช่วยให้เราได้รับความรู้  ข้อมูลข่าวสาร  การพัฒนาตนเองด้านความรู้และการทำงานด้วยการเลือกอ่านหนังสือ  ปัญหาการอ่านคำยากไม่ออก  ไม่สามารถสะกดคำได้ถูกต้อง ซึ่งเกิดกับผู้เรียนหลายคน  คณะ
ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษา เรื่องการอ่านสะกดคำและแจกลุกคำยากจากบทเรียน     เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านดังกล่าว โดยวิธีการฝึกการอ่านและเขียนคำยากบ่อย ๆ  ให้เกิดความมั่นใจ  และเปล่งเสียงออกมาได้ถูกต้อง  ชัดเจน


















กิตติกรรมประกาศ
      
       การจัดทำโครงงานเรื่อง  การอ่านสะกดคำและแจกลูกคำยากจากบทเรียนครั้งนี้  ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากได้รับคำปรึกษา ชี้แนะจากครูที่ปรึกษาและ คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน   รวมทั้งการ
ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้  ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือ


                                         คณะผู้จัดทำ












สารบัญ

       บทคัดย่อ
        กิตติกรรมประกาศ
        สารบัญ                                                       หน้า
                บทที่ 1  บทนำ                                      5
                บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                6             
                บทที่ 3  วิธีการศึกษา                               7
                บทที่ 4  ผลการศึกษา                              8
                บทที่ 5  สรุป  อภิปรายผล                         11
                เอกสารอ้างอิง                                        12















บทที่ 1
บทนำ

หลักการและเหตุผล
       
        การอ่านสะกดคำและแจกลูกคำยาก   จะทำให้เราเข้าใจ  และอ่านคำได้ถูกต้อง  ตามหลักวรรณยุกต์  ตามตัวสะกดและรู้ความหมายของคำ

วัตถุประสงค์

        1. เพื่อฝึกการอ่านสะกดคำและแจกลูกคำ    อ่านผันวรรณยุกต์  อ่านสะกดคำ  เขียนสะกดคำ  และรู้ความหมายของคำใหม่













บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

       หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544



















บทที่ 3
วิธีการศึกษา

1.    เสนอหัวข้อโครงงาน
2.    ศึกษาเอกสารและแบ่งหน้าที่ค้นคว้า
3.    สำรวจข้อมูลจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุดภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
4.    รวบรวมข้อมูล บันทึกผลการสำรวจ
5.    เขียนรายงานผลการศึกษา  นำเสนอผลงาน
6.    นำเสนอโครงงาน











บทที่ 4
ผลการศึกษา
การเก็บข้อมูลคำยากในบทเรียน
       บทที่                                                 จำนวนคำ
   บทที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว                 5  คำ
-         มารยาท
-         เกลื่อนกลาด
-         ปฏิบัติการ
-         โขยกเขยก
-         เหม็นฉุน
   บทที่ 2 เรื่อง บึงใหญ่ในป่า                                5  คำ
-         พระชนมพรรษา
-         ทัศนศึกษา
-         ธรรมชาติ
-         ประกาศ
-         อนุรักษ์
   บทที่ 3 เรื่อง พลังงานคือชีวิต                       5   คำ
-         โอดครวญ
-         เอร็ดอร่อย
-         โทรทัศน์
-         คมนาคม
-         รีโมทคอนโทรล
   บทที่ 4 เรื่อง ความฝันนั้นเป็นจริงได้               5  คำ
-         ดาวฤกษ์
-         บรรยากาศ
-         ปฏิบัติ
-         บรรเจิด
-         เครื่องยนต์
  บทที่ 5 เรื่อง  ทายปัญหากับคุณตา                 5  คำ
-         ปลาวาฬ
-         โฆษณา
-         สตรอว์เบอร์รี่
-         เศรษฐี
-         ชายฉกรรจ์
  บทที่ 6 เรื่อง  ภูมิใจภาษาไทยของเรา              5  คำ
-         พจนานุกรม
-         กรกฎาคม
-         คำประพันธ์
-         ซื่อสัตย์
-         พระพุทธรูป


  บทที่ 7 เรื่อง  คนดีมีสัจจะ                                   5 คำ
-         อาศรม
-         พระดาบส
-         อุปการะ
-         ทอดพระเนตร
-         เสด็จเลียบ
  บทที่ 8 เรื่อง  คิดไปรู้ไป                                   9  คำ
-         ออทิสติก
-         โทรศัพท์
-         รถมอเตอร์ไซด์
-         รถแท็กซี่มิเตอร์
-         โอลิมปิก
-         หนังสือพิมพ์
-         ช็อกโกแลต
-         บาสเกตบอล
-         ออสเตรเลีย
  บทที่ 9  เรื่อง  อาหารดีมีคุณภาพ                          14 คำ
-         กรุ๊กกรู
-         สมเด็จย่า
-         สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
-         เหวอะหวะ
-         สารอาหาร
-         ประชาสงเคราะห์
-         ซาบซึ้ง
-         ผลิตภัณฑ์
-         โบสถ์
-         วรรณยุกต์
-         ขนทเค้ก
-         ผัดซีอิ๊ว
-         ก๋วยเตี๋ยว
-         ปักษ์ใต้

สร้างแบบฝึกอ่านสะกดคำและแจกลูกคำยาก
              จำนวน     5       เรื่อง










บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

       ได้รวบรวมคำยากจากบทเรียน  9  บท  จำนวน  58  คำ และสร้างแบบฝึกอ่านสะกดคำและแจกลูกคำยาก  จำนวน    5      เรื่อง




       อภิปรายผล
1.    ควรจัดทำโครงงานที่เกี่ยวกับการอ่านสะกดคำแจกลูกคำยาก
จากบทเรียนอื่น ๆ
2.    ควรศึกษาการอ่านผันวรรณยุกต์  อ่านสะกดคำ เขียนสะกดคำ
เพิ่มเติม









    ประโยชน์ที่ได้รับ
1.     ฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ คำยากจากบทเรียนได้ถูกต้องชัดเจน
2.     สามารถอ่านคำควบกล้ำ  คำอักษรนำ การผันอักษรและแจกลูกคำได้คล่องมากขึ้น
3.   ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม



    เอกสารอ้างอิง

        กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพฯ











โครงงาน

               เรื่อง   สำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

                  ผู้จัดทำ…….
                  1………………………………….
                  2………………………………….
                  3………………………………….
                  4. ………………………………..
                  5………………………………….
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
อาจารย์ที่ปรึกษา….
                  1………………………………….
                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..
      อำเภอ………………จังหวัด……………………….
      สังกัด……………………………………………….
      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย
                    
บทคัดย่อ
      
       ภาษาไทยมีคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น  ๆ ปนอยู่จำนวนมาก   เพราะมีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในด้านการค้าขาย  การศึกษา  การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  และวิทยาการต่าง ๆ ทำให้มีคำในภาษาไทยเพิ่มขึ้น   เพียงพอกับการใช้และสะดวกในการติดต่อสื่อสาร  ภาษาต่างประเทศที่เรานำมาใช้ ได้แก่ ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ  ภาษาชวา-มลายู รวมถึงภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นเทคโนโลยีที่เราต้องเรียนรู้   ฯลฯ โครงงานสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสำรวจภาษาต่างประเทศที่เข้ามาปะปนในภาษาไทย  ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาคำไทยมาใช้ตรงกับความหมายที่ต้องการ  หรือบางคำเป็นชื่อเฉพาะ   จึงมีการใช้คำที่มาจากต่างประเทศหรือทับศัพท์เกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  
      
       
       









กิตติกรรมประกาศ

        โครงงานเรื่อง สำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย          ครั้งนี้  สำเร็จลุล่วงด้วยดี   เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา      และคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน    ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้การสนับสนุน  คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้


                                                        คณะผู้จัดทำ

















สารบัญ

เรื่อง                                                           หน้า
        บทคัดย่อ                                                    
        กิตติกรรมประกาศ                                         
        บทที่ 1 บทนำ                                               18    
                ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                
                วัตถุประสงค์                                        
                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                    
        บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                 19
        บทที่ 3 วิธีดำเนินการ                                       20
        บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า                               21
        บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า                          23
                ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
                ข้อเสนอแนะ
                เอกสารอ้างอิง

  








บทที่ 1
บทนำ

        ที่มาและความสำคัญ
        ประเทศไทย มีการติดต่อกับต่างประเทศมาช้านาน  ทำให้มีภาษาจากต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาคำไทยมาใช้ตรงกับความหมายที่ต้องการ  หรือบางคำเป็นชื่อเฉพาะ  จึงมีการนำคำที่มาจากต่างประเทศหรือทับศัพท์เกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม  เรามีการบัญญัติศัพท์ใช้แทนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศอยู่แล้วจำนวนมาก  หากไม่จำเป็นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มาจากต่างประเทศ  การใช้คำศัทพ์ที่บัญญัติขึ้นหรือการใช้คำไทย  ถือเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยได้วิธีหนึ่ง      คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   โดยได้แบ่งหน้าที่มอบหมายกันในกลุ่มสำรวจ หรือสอบถามผู้รู้และรวบรวมข้อมูล

          จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.      เพื่อสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
2.      สามารถบอกที่มาของภาษาต่างประเทศที่สำรวจได้

ขอบเขตในการศึกษา
        สถานที่ในการทดลอง คือ  โรงเรียน
          การสำรวจในครั้งนี้  จะสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จาก
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   และบอกที่มาของคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่สำรวจได้
         
                  


                                                บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 























บทที่ 3
วิธีดำเนินการ

        วิธีดำเนินการ
1.      ประชุมกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม
2.      แบ่งหน้าที่มอบหมายงานกันภายในกลุ่ม 
3.      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสำรวจคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จากหนังสือ
เรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   และที่มาว่ามาจากภาษาใด  บันทึกลงตารางบันทึกผล
4.      รวบรวมข้อมูลและแยกประเภท
5.      สรุปผลการสำรวจ  บันทึกผล


















บทที่ 4
ผลการสำรวจ

ตารางที่ 1   ตารางบันทึกผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย จากหนังสือเรียน
                    ที่มีการระบุความหมายไว้
         
ลำดับที่
คำภาษาต่างประเทศ
ความหมาย
1
คีย์ข้อมูล
ใส่ข้อมูล
2
แผ่นดิสก์
จานข้อมูล
3
พริ้นท์
พิมพ์
4
คริสต์ศักราช
ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช 543 ปี (พุทธศักราช ลบด้วย 543  เท่ากับ คริสต์ศักราช)
5
เซฟข้อมูล
เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำของเครื่องหรือไว้ในแผ่นข้อมูล
6
ทาวน์เฮาส์
บ้านตึกแถวที่ใช้กำแพงร่วมกัน
7
คอมพิวเตอร์
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ
8
เว็บไซต์
ที่อยู่ของเว็บ (ภาษาคอมพิวเตอร์)
9
สลัด
ชื่อยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตกประกอบด้วยผักสดหลายชนิดและน้ำปรุงรส
10
ออทิสติก
ผู้ที่มีความผิดปกติทางการพัฒนาด้านสังคม การสื่อความหมายและจินตนาการ
11
อีเมล
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรือการส่ง
และรับจดหมายหรือข้อความผ่านทาง
   คอมพิวเตอร์
12
อินเตอร์เน็ต
เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่ช่วย
    ในการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ

 ตารางที่ 2     ตารางบันทึกผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทยจากหนังสือเรียน
                    ที่บอกที่มาของภาษา  
ลำดับที่
คำภาษาต่างประเทศ
ที่มาของภาษา
1
เค้ก
อังกฤษ
2
เกม
อังกฤษ
3
วิตามิน
อังกฤษ
4
ฟรี
อังกฤษ
5
กราฟ
อังกฤษ
6
โปรตีน
อังกฤษ
7
สวิตช์
อังกฤษ
8
เบนซิน
อังกฤษ
9
ปฏิบัติ
บาลี
10
รัฐ
บาลี
11
วุฒิ
บาลี
12
พัฒนา
บาลี
13
ปัสสาวะ
บาลี
14
สุนัข
บาลี
15
ฆราวาส
บาลี
16
ดีบุก
บาลี
17
ทิศ
สันสกฤต
18
สวรรค์
สันสกฤต
19
โฆษณา
สันสกฤต
20
ศีรษะ
สันสกฤต
21
ศุกร์
สันสกฤต
22
พฤษภาคม
สันสกฤต
23
รัตนตรัย
สันสกฤต
24
สัปดาห์
สันสกฤต

ตารางที่ 2     ตารางบันทึกผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทยจากหนังสือเรียน
                    ที่บอกที่มาของภาษา   (ต่อ)
ลำดับที่
คำภาษาต่างประเทศ
ที่มาของภาษา
25
บวช
เขมร
26
เกิด
เขมร
27
เจริญ
เขมร
28
ชนะ
เขมร
29
ประชุม
เขมร
30
กระท่อม
เขมร
31
เสบียง
เขมร
32
บรรทัด
เขมร
33
ทลาย
เขมร
34
ก๊ก
จีน
35
หมี่
จีน
36
ปุ๋ย
จีน
37
เต้าหู้
จีน
38
ก๋วยเตี๋ยว
จีน
39
โอเลี้ยง
จีน
40
พะโล้
จีน
41
สลัก
ชวา -มลายู
42
สาคู
ชวา - มลายู
43
กำยาน
ชวามลายู
44
ทุเรียน
ชวา  -มลายู
45
บุหลัน
ชวา มลายู
46
กระดังงา
ชวา - มลายู
47
น้อยหน่า
ชวา - มลายู
48
มังคุด
ชวา -มลายู

บทที่ 5
ผลการทดลอง
        ผลการสำรวจภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   สรุปได้ดังนี้
          จากการสำรวจพบว่า  มีคำศัพท์ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  มีที่มาจากหลายชาติหลายภาษา  เพราะประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในด้านการค้าขาย  การศึกษา  การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  และวิทยาการต่าง ๆ ทำให้มีคำในภาษาไทยเพิ่มขึ้น  จากการสำรวจพบภาษาต่างประเทศที่เรานำมาใช้  มาจากภาษาต่างประเทศดังนี้   ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาอังกฤษ  ภาษาชวา มลายู
นอกจากนั้นก็ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์  ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน

          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
1.      ได้รู้จักคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยมากขึ้น
2.      ได้ฝึกทักษะการสังเกต  การวิเคราะห์ผล  การจำแนกและการสรุปผล



ข้อเสนอแนะ
1.      ควรสำรวจคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยจากหนังสืออื่น ๆ
 เพิ่มเติม
2.      ควรสังเกตลักษณะอื่น ๆ ของภาษาต่างประเทศด้วย
 
เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพฯ









                                                      ภาคผนวก
                   -  ภาพประกอบกิจกรรม
                                   








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น