วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานไทยป.4



โครงงาน ป. 4

                เรื่อง   การอ่านบทร้อยกรอง
                   ผู้จัดทำ…….
                  1………………………………….
                  2………………………………….
                  3………………………………….
                  4. ………………………………..
                  5………………………………….
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
อาจารย์ที่ปรึกษา….
                  1………………………………….
                  2…………………………………
      โรงเรียน……………………………………..
      อำเภอ………………จังหวัด……………………….
      สังกัด……………………………………………….
      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย
                    

บทคัดย่อ
       
        การอ่านบทร้อยกรองเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง ผู้อ่านต้องรู้จักใช้การ
ทอดเสียง   การเอื้อนเสียง  การหลบเสียง  จึงจะทำให้การอ่านเกิดความไพเราะผู้เรียนหลายคนไม่ชอบอ่านบทร้อยกรอง เพราะไม่ถนัด  คิดว่าทำได้ยาก อ่านไม่ไพเราะ  อายเพื่อน ไม่กล้าเอื้อนเสียง  คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษา เรื่องการอ่านบทร้อยกรอง     เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านดังกล่าว โดยวิธีการฝึกการอ่านบทร้อยกรองบ่อย ๆ  โดยฝึกจากแถบเสียง   ให้เกิดความมั่นใจ  และเปล่งเสียงออกมาได้ถูกต้อง   ไพเราะ ชัดเจน



                                               













กิตติกรรมประกาศ
      
       การจัดทำโครงงานเรื่อง  การอ่านบทร้อยกรอง  ครั้งนี้  ประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากได้รับคำปรึกษา ชี้แนะจากคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน  รวมทั้งการได้รับคำแนะนำจากผู้รู้  ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือ


                                         คณะผู้จัดทำ












สารบัญ

       บทคัดย่อ
        กิตติกรรมประกาศ
        สารบัญ                                                       หน้า
                บทที่ 1  บทนำ                                      5
                บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                6             
                บทที่ 3  วิธีการศึกษา                               7
                บทที่ 4  ผลการศึกษา                              8
                บทที่ 5  สรุป  อภิปรายผล                         9
                เอกสารอ้างอิง                                        10















บทที่ 1
บทนำ

หลักการและเหตุผล
       
        การอ่านเป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญ  เพราะเป็นการถ่ายทอด
ความรู้สึก ความคิด ของผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสาร ผู้ที่จะอ่านได้ถูกต้อง  ต้องรู้หลักการอ่าน   โดยเฉพาะการอ่านบทร้อยกรอง    ซึ่งต้องใช้ศิลปะการอ่านอย่างหลากหลาย เช่น การทอดเสียง  การเอื้อนเสียง  การหลบเสียง  จึงจะทำให้การอ่านเกิดความไพเราะ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
เราคนไทยจึงควรอ่าน  เขียนภาษาไทยอย่างถูกต้อง     และเผยแพร่สืบสานแก่คนรุ่นหลังต่อไป



วัตถุประสงค์

1.     เพื่อรวบรวมบทร้อยกรองจากบทเรียน
2.     ปฏิบัติตนเกี่ยวกับการอ่าน






บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

       หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  วรรณคดีลำนำ    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544



















บทที่ 3
วิธีการศึกษา

1.    เสนอหัวข้อโครงงาน
2.    ศึกษาเอกสารและแบ่งหน้าที่ค้นคว้า
3.    รวบรวมข้อมูล
4.    เขียนรายงานผลการศึกษา  นำเสนอผลงาน
5.    นำเสนอโครงงาน














บทที่ 4
ผลการศึกษา

นำเสนอในรูปของการอ่านบทร้อยกรอง และการคัดบทร้อยกรองดังนี้
                                    ลอยกระทง
              ลอยเอยลอยกระทง            ลอยลงน้ำใส
       ธูปเทียนปักไว้                         ที่ในกระทง
              ลอยทุกข์ลอยบาป             ขอลาภเสริมส่ง
       น้ำพัดกระทง                          ลอยลงไกลตา
              แม่เอยแม่น้ำ                    มากล้ำคุณค่า
       เคารพบูชา                            รักษาน้ำไว้
              กระทงลอยวน                  อยู่บนน้ำใส
       สว่างไสว                               ชื่นใจจริงเอย

                           ชมป่า
              มะปริงมะปราง                 ขึ้นข้างมะพร้าว
       มะกรูดมะนาว                        ร่วงกราวมะยม
              กระจิบกระจอก                กระรอกเสียงขรม
       กระต่ายตากลม                       ประสมเสียงใส
              เสื่อโคร่งวิ่งมา                  หมาป่าวิ่งไป
       กระทิงวิ่งไล่                           ช้างใหญ่งวงยาว
              ดอกแก้วร่วงพรู                ประดู่ร่วงพราว
       สีเหลืองแกมขาว                      งามราวปูพรม

                                  ผีใบกล้วย
              สองเกลอกลัวผี                 กลัวที่ดงกล้วย
       พลบค่ำกลับบ้าน                     เดินผ่านดงกล้วย
              ใจเต้นเหมือนกลอง            ไม่มองดงกล้วย
       เผลอเหลือบไปเห็น                   ไม่เป็นต้นกล้วย
              เห็นเงาตะคุ่ม                   ในกลุ่มต้นกล้วย
       ขี้ขลาดเต็มที                          ต้องผีต้นกล้วย
              วิ่งหนีตัวกลม                   ลื่นล้มเปลือกกล้วย
       ล้มลุกคลุกคลาน                      จนผ่านดงกล้วย

                                  สระน้ำใส
              ในสระน้ำใส                    ปลาใหญ่ปลาน้อย
       ปลาซิวปลาสร้อย              ล่องลอยอวดลาย
              ต้นไทรใบหนา                  พุทราเรียงราย
       เกลื่อนกลาดหาดทราย               ใบส่ายตามลม
              ศาลาริมทาง                    สร้างไว้ให้ร่ม
       คนแวะมาชม                          สุขสมเพลินตา

                                  เด็กดี
              เด็กเด็กต้องกล้าหาญ          หมั่นทำงานและศึกษา
       เรียนดีมีปัญญา                       แก้ปัญหาได้เร็วไว
กตัญญูรู้คุณท่าน               ตามโบราณท่านสอนไว้บำเพ็ญประโยชน์ไป                   พาชาติไทยให้เจริญ


             

บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

บทร้อยกรองเรื่อง   ลอยกระทง
บทร้อยกรองเรื่อง  ชมป่า
บทร้อยกรองเรื่อง   ผีใบกล้วย
บทร้อยกรองเรื่อง   สระน้ำใส
บทร้อยกรองเรื่อง  เด็กดี


       อภิปรายผล
1.    ควรศึกษาการอ่านบทร้อยกรองจากหนังสือประเภทต่าง ๆ
เพิ่มเติม

    ประโยชน์ที่ได้รับ
1.     ฝึกทักษะการอ่าน การเขียน
2.     มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการอ่านบทร้อยกรองมากขึ้น
3.     สามารถอ่านคำและเขียนได้คล่องมากขึ้น
3.   ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม





    เอกสารอ้างอิง

       ศึกษาธิการ, กระทรวง.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  วรรณคดีลำนำ    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544 .  กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2548.







โครงงาน ป. 4

               เรื่อง   สำรวจคำราชาศัพท์

                  ผู้จัดทำ…….
                  1………………………………….
                  2………………………………….
                  3………………………………….
                  4. ………………………………..
                  5………………………………….
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
อาจารย์ที่ปรึกษา….
                  1………………………………….
                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..
      อำเภอ………………จังหวัด……………………….
      สังกัด……………………………………………….
      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย
                    
บทคัดย่อ
      
       คำราชาศัพท์   หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป  แต่บางตำรารวมถึงถ้อยคำที่ใช้กับพระภิกษุสงค์  และถ้อยคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป  คำราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาและมีวิธีใช้ถ้อยคำตามฐานะของบุคคล  มีทั้งที่ใช้เป็นคำนาม  คำสรรพนาม  และคำกริยาโครงงานสำรวจคำราชาศัพท์  มีจุดมุ่งหมาย   เพื่อสำรวจ รวบรวมคำราชาศัพท์   จากสื่อต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน    เช่น  โทรทัศน์   หนังสือพิมพ์   หนังสือแบบเรียน     อินเตอร์เน็ต    เอกสารวารสาร       ซึ่งเป็นคำที่เราใช้กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์  ซึ่งเป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย  เป็นการแสดงความจงรักภักดี   และต้องใช้ให้ถูกต้อง    เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทยและเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนรุ่นหลัง   ให้เห็นคุณค่าของภาษาไทย     ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย 
      
       
       









กิตติกรรมประกาศ

        โครงงานเรื่อง สำรวจคำราชาศัพท์    ครั้งนี้  สำเร็จลุล่วงด้วยดี   เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา   และคณะครูกลุ่มสาระ
ภาษาไทยทุกท่าน    ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนที่ให้การสนับสนุน  คณะผู้จัดทำ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้


                                                        คณะผู้จัดทำ

















สารบัญ

เรื่อง                                                           หน้า
        บทคัดย่อ                                                    
        กิตติกรรมประกาศ                                         
        บทที่ 1 บทนำ                                               16    
                ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                
                วัตถุประสงค์                                        
                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                    
        บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                 17
        บทที่ 3 วิธีดำเนินการ                                       18
        บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า                               19
        บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า                          21
                ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
                ข้อเสนอแนะ
                เอกสารอ้างอิง

  







บทที่ 1
บทนำ

        ที่มาและความสำคัญ
        คำราชาศัพท์   เป็นคำที่เราใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์   ซึ่งเราจะพบคำราชาศัพท์ในหนังสือต่าง ๆ  การรายงานข่าวในราชสำนัก  หรือพระราชกรณียกิจต่าง ๆ    และพบในวรรณคดีจักร ๆ วงศ์ ๆ  ที่มีการใช้คำราชาศัพท์หลายเรื่อง   เราควรใช้ให้ถูกต้อง ทั้งการอ่าน การเขียน และต้องรู้ความหมายของคำราชาศัพท์ที่ถูกต้อง  เพื่อเป็นการเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทย  และอนุรักษ์เผยแพร่ภาษาไทย  คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาสำรวจคำราชาศัพท์   ที่พบจาก  สื่อ
ต่าง ๆ   เช่น  เอกสาร  วารสาร    หนังสือ  หนังสือพิมพ์     โทรทัศน์   อินเตอร์เน็ต   พจนานุกรม  โดยได้แบ่งหน้าที่มอบหมายกันในกลุ่มสำรวจ หรือสอบถามผู้รู้และรวบรวมข้อมูล

          จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.      เพื่อสำรวจคำราชาศัพท์ที่ใช้ในหนังสือ   หนังสือพิมพ์    เอกสาร 
วารสาร   พจนานุกรมหรือสื่อต่าง ๆ  เช่น โทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต
2.      สามารถบอกความหมายของคำราชาศัพท์ที่สำรวจได้

ขอบเขตในการศึกษา
        สถานที่ในการสำรวจ คือ  ห้องสมุดของโรงเรียน 
          การสำรวจในครั้งนี้  จะสำรวจคำราชาศัพท์ จากหนังสือ  วารสาร  
สื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  อินเตอร์เน็ต    บันทึกคำราชาศัพท์และบอกความหมายของคำราชาศัพท์ที่สำรวจได้
         
                  
                                     

          บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        หนังสือพระราชกรณียกิจ   ข่าวในราชสำนัก   หนังสือราชาศัพท์   หนังสือเรียนพจนานุกรม      สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 























บทที่ 3
วิธีดำเนินการ

        วิธีดำเนินการ
1.      ประชุมกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม  กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม
2.      แบ่งหน้าที่มอบหมายงานกันภายในกลุ่ม 
3.      สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสำรวจคำราชาศัพท์ จากสื่อต่าง ๆ เช่น  หนังสือ 
เอกสาร  วารสาร   พจนานุกรม    โทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต  ภาษาพาที    ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   และความหมายของคำราชาศัพท์   บันทึกลงตารางบันทึกผล
4.      รวบรวมข้อมูลและแยกประเภท
5.      สรุปผลการสำรวจ  บันทึกผล

















บทที่ 4
ผลการสำรวจ

ตารางบันทึกผลการสำรวจคำราชาศัพท์ จากสื่อต่าง ๆ
         
ที่
คำราชาศัพท์
ความหมาย
1
กระแสพระราชดำรัส
คำพูด
2
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันเกิด
3
กันแสง
ร้องไห้
4
ตรัส
พูด
5
ทอดพระเนตร
ดู
6
พระทัย
ใจ
7
สรงน้ำ
อาบน้ำ
8
พระเกศา
ผม
9
พระเนตร
ตา
10
พระนาสิก
จมูก
11
พระหัตถ์
มือ
12
พระกรรณ
หู
12
เสด็จ , เสด็จพระราชดำเนิน
เดิน
13
ประทับ
นั่ง
14
ทรงพระสรวล
หัวเราะ
15
พระสนับเพลา
กางเกง
16
พระราชทาน
ให้ ,มอบให้
17
บรรทม
นอน
18
ประสูติ
เกิด
19
ประชวร
เจ็บ , ป่วย
20
พระเศียร
ศีรษะ

ที่
คำราชาศัพท์
ความหมาย
21
พระปราง
แก้ม
22
พระโอษฐ์
ปาก
23
พระทนต์
ฟัน
24
พระศอ
คอ
25
พระพาหา
แขน
26
ถุงพระหัตถ์
ถุงมือ
27
พระอุระ , พระทรวง
อก
28
สร้อยพระศอ
สร้อยคอ
29
ฉลองพระองค์
เสื้อ
30
พระภูษา
ผ้านุ่ง
31
รองพระบาท
รองเท้า
32
ถุงพระบาท
ถุงเท้า
33
พระธำมรงค์
แหวน
34
รัดพระองค์
เข็มขัด
35
พระอัยกา
ปู่ , ตา
36
พระอัยกี
ย่า , ยาย
37
พระมารดา , พระชนนี
แม่
38
พระราชโอรส ,พระโอรส
ลูกชาย
39
พระราชธิดา , พระธิดา
ลูกสาว
40
พระราชนัดดา,พระนัดดา
หลาน
41
พระราชอุทยาน
สวน
42
พระบรมราชโองการ
คำสั่ง
43
พระบรมราโชวาท
คำสอน
44
วัง
ที่อยู่ของเจ้านาย
45
พระบรมมหาราชวัง,พระราชวัง
ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน


ลำดับที่
คำราชาศัพท์
ความหมาย
46
พลับพลา
ที่พักชั่วคราว
47
พระแท่น
เตียง
48
พระเขนย
หมอน
49
ทรงม้า
ขี่ม้า
50
เสวยพระกระยาหาร
รับประทานอาหาร



บทที่ 5
ผลการสำรวจ

        ผลการสำรวจคำราชาศัพท์ จากสื่อต่าง ๆ    สรุปได้ดังนี้
          จากการสำรวจพบว่า  มีการใช้คำราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป  แต่บางตำรารวมถึงถ้อยคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์  และถ้อยคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไปด้วย     คำราชาศัพท์ที่ใช้มีทั้งที่เป็นคำนาม  คำสรรพนาม   และคำกริยา

          ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
1.      ได้รู้จักคำราชาศัพท์มากขึ้น และใช้ได้ถูกต้อง
2.      ได้ฝึกทักษะการสังเกต  การวิเคราะห์ผล  การจำแนกและการสรุปผล


ข้อเสนอแนะ
1.      ควรสำรวจคำราชาศัพท์จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ   เพิ่มเติม
2.      ควรสังเกตลักษณะอื่น ๆ ของคำราชาศัพท์ด้วย
 
เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว  กรุงเทพฯ















                                                      ภาคผนวก
                   -  ภาพประกอบกิจกรรม
                                   









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น