วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานภาษาไทยม.3



โครงงาน ม.3

                             เรื่อง   การทำเครื่องจักสานปลาตะเพียนจากใบตาล
 
                  ผู้จัดทำ…….
                  1………………………………….
                  2………………………………….
                  3………………………………….
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
อาจารย์ที่ปรึกษา….
                  1………………………………….
                  2…………………………………

      โรงเรียน……………………………………..
      อำเภอ………………จังหวัด……………………….
      สังกัด……………………………………………….
      รายงานนี้เป็นส่วนประกอบโครงงานวิชาภาษาไทย


บทคัดย่อ

       โครงงานการประดิษฐ์เครื่องแขวนปลาตะเพียนจากใบตาล  นีกทำขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่าในท้องถิ่นของผู้จัดทำมีต้นตาลมาก  ผล   ยอดตาล  จะนำมาประกอบอาหารคาวหวาน  ได้แล้วใบตาล  ยังสามารถนำมาทำเครื่องจักสานได้หลายชนิด  เช่น  เครื่องแขวน  ของใช้  ของเล่นต่าง ๆ       คณะผู้จัดทำจึงคิดทำโครงงานการทำเครื่องแขวนปลาตะเพียนจากใบตาล   เพื่อเป็นการนำใบตาลมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์     และยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  ประเพณีท้องถิ่นเอาไว้ให้คนรุ่นหลังอีกด้วย
















กิตติกรรมประกาศ

        โครงงานการการทำเครื่องจักสานปลาตะเพียนจากใบตาล  สำเร็จลุล่วงด้วยดีเพราะได้รับความอนุเคราะห์  การให้ความรู้  คำแนะนำปรึกษาต่าง ๆ ในการจัดทำอย่างดียิ่งจากกลุ่มแม่บ้าน   บ้านโนนจาน    และคณะครูกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี  อาจารย์ที่ปรึกษาในการจัดทำโครงงาน    จึงขอขอบพระคุณไว้ ร โอกาสนี้  และขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียน  ที่ได้ให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนกิจกรรมโครงงานนี้ด้วยดีตลอดระยะเวลาการจัดทำ  คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณมา ณ  โอกาสนี้


                                                คณะผู้จัดทำ














สารบัญ

        เรื่อง                                                          หน้า
        บทคัดย่อ
        กิตติกรรมประกาศ
        บทที่ 1                                                       4
                บทนำ
                ที่มาและความสำคัญ                                       5
                วัตถุประสงค์                                         5
                ขอบเขตของการศึกษา                             6
                นิยามศัพท์                                           6
        บทที่ 2                                                       6
                เอกสารที่เกี่ยวข้อง
        บทที่ 3                                                       8
                อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
                วิธีการศึกษา                                         9
                วิธีการทำจักสานปลาตะเพียน
        บทที่ 4                                                       11
                ผลการศึกษาและอภิปรายผล
        บทที่ 5                                                       12
                สรุปผลการศึกษา
                ประโยชน์ที่ได้รับและข้อเสนอแนะ               12
        เอกสารอ้างอิง                                              13
        ภาคผนวก                                                    14


บทที่ 1
บทนำ

        ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                ต้นตาลเป็นพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นทุกภาคของประเทศไทย  ในท้องถิ่นมักนิยมนำต้นตาลมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น  ทำขนม  สิ่งของเครื่องใช้
งานประดิษฐ์  การประยุกต์ใช้ในงานฝีมือต่าง ๆ   เช่น  เครื่องแขวนปลาตะเพียน  กลุ่มผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำโครงงาน  เรื่องนี้เพราะต้องการใช้ประโยชน์จากต้นตาลซึ่งมีมากมายหาได้ง่ายในท้องถิ่น  แทนที่เราจะทิ้งไปเป็นสิ่งเหลือใช้หรือขยะ ในหมู่บ้าน   และต้องการสืบสานวัฒนธรรม  ประเพณีที่เป็นงานฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้   เพราะในปัจจุบันการทำเครื่องแขวนปลาตะเพียนกำลังจะเลือนหายไป   ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้


วัตถุประสงค์

1.     เพื่อศึกษาวิธีการประดิษฐ์เครื่องจักสานปลาตะเพียนจากใบตาล
2.     นำใบตาลมาใช้ให้เป็นประโยชน์
3.     เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น



ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.     ได้เครื่องแขวนปลาตะเพียนจากใบตาล
2.     เป็นการใช้เศษวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์มากขึ้น
3.     เป็นการฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่ม
4.     เป็นส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


ขอบเขตของการศึกษา

1.     ศึกษาการทำเครื่องแขวนปลาตะเพียนจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
บ้านโนนจาน        ตำบล โนนจาน       อำเภอ  เมือง    จังหวัด    สกลนคร
2.     ระยะเวลาในการทำการศึกษาค้นคว้าและจัดทำโครงงาน
  ระหว่างวันที่  13  มกราคม  2548  ถึงวันที่  15  กุมภาพันธ์  2548


นิยามศัพท์

1.     ใบตาล  หมายถึง  ส่วนของใบตาลจากต้นตาล  ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น
2.     เครื่องแขวน หมายถึง  สิ่งประดิษฐ์ที่มักจะทำขึ้นมาเพื่อแขวนไว้
ตามแปลนอนของเด็ก  หน้าต่าง  ประดับบ้านเรือน



บทที่ 2
เอกสาร

          การจักสาน

        ชาวบ้านสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชิวิตประจำวันและเพื่อสนองความเชื่อของตนในพิธีกรรมต่างๆเนื่องจากคนไทยและผู้ปกครองบ้านเมืองล้วนเป้นผู้มีความละเอียดประณีต  อีกทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจึงมีทั้งประโยชน์ใช้สอยและความงามทางศิลปะ
       เครื่องจักสาน เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์จากไม้ไผ่  ใบลาน ที่ชาวบ้านมักจะนำมาทำเป็นของใช้และเครื่องมือประกอบอาชีพ ได้แก่ สุ่มไก่ ข้อง ชะลอม ฝาชี กระบุง  ตะกร้า งอบ ตะกร้อสอยผลไม้ และทำเป็นของเล่น เช่นสานปลาตะเพียนให้เด็กนอนดูในเปล
  









บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

  วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเครื่องแขวนปลาตะเพียนจากใบตาล
                1.ใบตาล
               2.ไม้ไผ่
               3.เชือกและด้าย
              4.เข็ม
              5.สีเมจิก (สำหรับใช้ในการตกแต่งตา ปาก หาง)
              6.สีสเปรย์  สำหรับพ่นตัวปลา
              7.กาว
              8.มีดเล็กหรือกรรไกร

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
                1. หนังสือเรียนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ชั้นประถมศึกษาที่3
                2 .หนังสือเรียนการงานพื้นฐานอาชีพ  ชั้นประถมศึกษาที่ 3
                3. ฟิวเจอร์บอร์ด
                4. กระดาษ A4   กระดาษสี
                5. อุปกรณ์การเขียน เช่น ดินสอ ยางลบ  ไม้บรรทัด
                6. กระดาษกาว
                7. ลวดเย็บกระดาษ



  วิธีการศึกษา
1.     ศึกษาจากเอกสารหนังสือเรียนกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
2.     สอบถามผู้รู้  ภูมิปัญญาชาวบ้าน
3.     ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมจากห้องสมุด  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด
4.     นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบข้อมูล
5.     จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำเครื่องจักสานปลาตะเพียน
6.     ฝึกปฏิบัติจริงโดยการฝึกหัดสานปลาตะเพียน  ร่วมกันในกลุ่มให้
ชำนาญและได้รูปทรงที่สวยงาม
7.     รวบรวมข้อมูล  บันทึกผล  เขียนรายงาน
8.     นำเสนอผลงาน
9.     สรุปและรายงานผล


        วิธีการสานปลาตะเพียน
        1.นำใบตาลมาตัดเป็นเส้นขนาดเท่าๆกัน  2 เส้นยาวพอสมควร
        2.เริ่มต้นโดยใช้หัวแม่มือซ้ายจับวัสดุ  ใช้มือขวาจับส่วนที่เหลือพันรอบมือ 2 รอบ แล้วใช้หัวแม่มือกดไว้
        3.ใช้มือขาวจับวัสดุ ทบปลายเข้าหากัน แล้วสอดเข้าไปในห่วงของวัสดุ ทางด้านขวามือ แล้วให้คล้องห่วงที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ จับปลายวัสดุ  เส้นล่างทับบนห่วงของวัสดุ ทางด้านซ้ายมือ จับปลายวัสดุ เส้นบนอ้อมใต้ห่วงของวัสดุ ที่อยู่ทางด้านขวาแล้วสอดเข้าในห่วงวัสดุ แล้วใช้มือค่อยๆดึงปลายเส้นทุกเส้นให้กระชับ
        4.กำหนดหมายเลข 1,2,3,4 ประจำเส้น พันเส้น 1 ให้ขนานกับเส้น 3 แล้วพันเส้น 4 ให้ขนานกับเส้น 2 เสร็จแล้วพันเส้น 1 พันเส้น 4 และ 2  แล้วพันเส้น 2 ข้ามเส้น 1 สอดเข้าใต้เส้น 3 ให้สอดขึ้นบน แล้วดึงปลายเส้นทุกเส้นให้กระชับ
         5.พลิกตัวปลาหงายขึ้น พันเส้น 4 ให้ขนานกับเส้น 2 แล้วพันเส้น 3 พันเส้น 4 สอดเข้าใต้เส้นที่มีเครื่องหมายลูกศรชี้ให้สอดขึ้นบน แล้วดึงปลายเส้นให้กระชับจะเป็นตัวปลา
         6.ตัดเศษวัสดุ  เพื่อตกแต่งเป็นหางปลา  แล้วใช้กรรไกรตัดตกแต่งเป็น ครีบ-หาง ให้สวยงาม

  
          การทำเครื่องแขวน
        1.นำไม้ไผ่  ซึ่งเหลาให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวน 3 อัน มามัดตรงกลางหาจุด
สมดุลย์ให้ได้
        2.นำตัวปลาตะเพียนซึ่งสานไว้  และตกแต่งตัวปลาสวยงามแล้ว ใช้เข็มร้อยด้ายเย็บส่วนที่เป็นหลังตัวปลา  ผูกร้อยตัวปลาให้เป็นเครื่องแขวน หรืออาจจะนำวัสดุอื่นมาประกอบด้วยก็ได้  โดยต้องระวังให้มีความสมดุลย์ด้วย   
 
 







บทที่ 4
ผลการศึกษา
       จากการศึกษาค้นคว้า  เรียนรู้ด้วยตนเองจากการทำโครงงานการทำจักสานปลาตะเพียนจากใบตาล  ได้ฝึกทำตามขั้นตอน  วิธีการจนเป็นผลสำเร็จ  สามารถนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น   ทำให้เห็นคุณค่าของงงานจักสาน  งานประดิษฐ์ของไทย  ภูมิปัญญาชาวบ้าน  และยังเป็นการเผยแพร่  อนุรักษ์งานประดิษฐ์ในเรื่องเครื่องแขวนอีกด้วย



















บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

        สรุปผล
        การประดิษฐ์เครื่องจักสานปลาตะเพียนจากใบตาล  ทำให้เราได้ทราบถึงขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์  ได้ฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และมีความภาคภูมิใจในผลงาน  เห็นความสำคัญของงานประดิษฐ์  งานจักสาน  ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ซึ่งมีคุณค่า  ควรแก่การเรียนรู้และช่วยกันรักษาไว้และสืบทอดต่อไป


          ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.     ได้เครื่องแขวนปลาตะเพียนจากใบตาล  ซึ่งสามารถนำมาประดับตกแต่งได้
2.     ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  จากผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.     ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำให้เกิดประโยชน์
4.     เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5.     ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะ
1.     ในการประดิษฐ์ครั้งต่อไปควรทดลองเปลี่ยนรูปแบบอื่น ๆ เช่น  ตะกร้อ  ตั๊กแตน  นก  เป็นต้น




เอกสารอ้างอิง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ
                    พระเจ้าอยู่หัว  เล่มที่ 13  หน้า  58
 หนังสือเรียนกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 2533





























                                                ภาคผนวก

                     - ภาพประกอบกิจกรรมโครงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น