3. โครงงาน เรื่อง การลดน้ำหนักด้วยการวิ่งเปี้ยวที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันความอ้วนถือเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนถ้าไม่มีการระวังและควบคุมตนเอง
เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้จะมีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่าง เช่น
อยู่บ้านจะซักเสื้อผ้าก็ใช้เครื่องซักผ้าแทนที่จะซักด้วยมือ การเดินทางไปโรงเรียนต้องอาศัยรถยนต์
ทำให้สะดวกสบายและไม่ได้ออกกำลังกาย ชีวิตแสนสุขสบาย การรับประทานอาหารก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคอ้วน
ปัจจุบันจะมีอาหารจานด่วนประเภท พิชซ่า โดนัท ซึ่งอุดมไปด้วยแคลอรีและไขมัน ซึ่งให้พลังงานมาก
เมื่อรับประทานเข้าไปมากพลังงานที่ได้รับก็มาก แต่การใช้พลังงานมีน้อย จึงทำให้พลังงานที่เหลือกลายเป็นไขมันใต้ผิวหนัง มีผลทำให้อ้วน ซึ่งความอ้วนไม่มีผลดีต่อร่างกายเลย
รูปร่างไม่สวย ขาดความคล่องตัว และยังเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆตามมาอีกด้วย เมื่อเป็นผู้ใหญ่จึงไม่สามารถลดได้เพราะเซลล์ไขมันมีมาก
แต่ละเซลล์จะขยายออกทำให้อ้วนมากขึ้น การดูแลตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
แนวคิดในการทำโครงงาน
เนื่องจากคณะผู้จัดทำทั้ง 3 คน
มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ตามโครงการเฝ้าระวังของโรงเรียนที่มีการชั่ง น้ำหนัก วัดส่วนสูง
โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงภาคเรียนละ
2 ครั้ง คณะผู้จัดทำรู้สึกว่าตัวเราแตกต่างจากเพื่อนส่วนใหญ่ที่มีรูปร่างสมส่วน
รู้สึกตัวเองอ้วน ขาดความเชื่อมั่น ทำให้ขาดความคล่องตัวในการทำงานต่างๆ
จึงคิดหาวิธีในการลดน้ำหนักจากการเรียนในห้องเรียนและค้นคว้าจาก ห้องสมุด ทำให้รู้สึกว่าการที่จะมีสุขภาพดีจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ
5 หมู่ตามหลักโภชนาการ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อให้มีสมรรถภาพทางกายแข็งแรง มีร่างกายที่สมบูรณ์ และมีรูปร่างที่สมส่วน จากแนวคิดนี้ จึงคิดว่าการออกกำลังกายจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงสมส่วนและลดน้ำหนักได้
การออกกำลังกายมีหลายวิธี แต่คณะผู้จัดทำได้เลือกวิ่งเปี้ยว ซึ่งเป็นการละเล่นของไทยที่สนุกและได้ออกกำลังด้วย
และยังส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรมในด้านความซื่อสัตย์ต่อการเล่นตามข้อตกลง
มีความสามัคคี รู้จักการรอคอย มีการจัดลำดับก่อนหลัง มีความอดทนต่อความเหนื่อย มีความพยายามที่จะต้องทำให้ครบตามกำหนดเวลา
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังการวิ่งเปี้ยว
2.
เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการวิ่งเปี้ยว
สมมติฐานของการศึกษา
การวิ่งเปี้ยวจะทำให้น้ำหนักลดลงและสมรรถภาพทางกายดีขึ้น
ตัวแปรในการทดลอง
ตัวแปรต้น การวิ่งเปี้ยว
ตัวแปรตาม น้ำหนัก สมรรถภาพทางกายที่เปลี่ยนแปลงหลังการวิ่งเปี้ยว
ตัวแปรควบคุม การรับประทานอาหารตามปริมาณที่เคยรับประทานปกติ การนอนตามปกติ คือนอนเวลา
22.00
น. และตื่นเวลา 06.00 น. ทุกวัน
ขอบเขตของการศึกษา
1.
ศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังการวิ่งเปี้ยว
2.
ศึกษาสมรรถภาพทางกายตามแบบทดสอบ KASETSART Youth Fitness Test ก่อนและหลังการวิ่งเปี้ยว
ผลการศึกษา
จากการที่คณะผู้จัดทำโครงงานทุกคน(3 คน) ได้ออกกำลังกายตามโปรแกรมวิ่งเปรี้ยว โดยได้รับคำปรึกษาจากอาจารย์สมพงษ์ วัฒนาโภคยกิจ ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะผู้จัดทำได้ทดลองฝึกปฎิบัติในวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 16.00-17.00 น. เป็นเวลา 8 สัปดาห์
มีการชั่งน้ำหนักและทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการวิ่งเปรี้ยวและทดสอบหลังการวิ่งเปรี้ยว
ครบ 8 สัปดาห์ ผลของการวิ่งเปรี้ยวทำให้แต่ละคนในคณะผู้จัดทำโครงงานเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของแต่ละคนเป็นไปตามความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้ผลของการลดและการเพิ่มของทั้ง 3 คนไม่เท่ากัน แต่ในภาพรวมเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา คือ
การวิ่งเปรี้ยวจะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้
และทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้น
สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอ้วนของ ดร.สิรินทร์ พิบูลนิยม
ซึ่งได้กล่าวว่า “การควบคุมน้ำหนักตัว
ควรให้ดัชนีมวลกายหรือไขมันใต้ผิวหนังมีความหนาอยู่ระหว่าง 20-24.99 %
จะเห็นว่าเดิมไขมันใต้ผิวหนังของทุกคนจะอยู่ที่ 30 %
หลังจากการวิ่งเปรี้ยวแล้วลดลงตามลำดับ
พร้อมทั้งร่างกายมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
ไม่เหนื่อยง่ายเหมือนเมื่อยังไม่ได้วิ่งเปรี้ยว มีความคล่องตัวในการทำงาน มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ร่างกายดูทะมัดทะแมง สมส่วน
จนเพื่อนๆทักว่ารูปร่างดีขึ้น
และจากการวัดรอบเอวของทุกคนพบว่ารอบเอวจะลดลง เช่น เอวของเด็กชาย.ลดลงถึง 3.5 นิ้ว ก่อนการฝึกมีลักษณะอ้วนเอวจะใหญ่มาก
หลังฝึกแล้วดูหน้าท้องหายไป ร่างกายพร้อมที่จะรับการปฏิบัติกิจกรรมตลอดเวลา มีความรู้สึกว่าดีกว่าก่อนการทดลอง
โครงงานนี้นับว่าเป็น
ความสำเร็จที่คณะผู้จัดทุกคนจะปฏิบัติต่อไปเพื่อสุขภาพที่ดีและจะชวนเพื่อนๆร่วมกันออกกำลังกายต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น