4. โครงงาน เรื่อง ผลของการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยวที่มีต่อฟันที่มาและความสำคัญ
ขณะนี้มีลูกอมและขนมขบเคี้ยวประเภทขนมหวานและขนมอบกรอบบรรจุถุง
จำหน่ายมากมายหลายชนิด การโฆษณา การบรรจุห่อที่สวยงาม
และสิ่งแจกแถม ทำให้เด็กๆ โดยเฉพาะวัยเรียนหลงใหลสิ่งเหล่านี้มาก
เด็กส่วนมากคิดว่า ลูกอมและขนมขบเคี้ยวเป็นอาหารหลัก ถ้ารับประทานมากเกินไปทำให้ร่างกายขาดอาหาร
สิ้นเปลื้องค่าใช้จ่าย และการปฏิบัติไม่ถูกต้องหลังการรับประทาน
เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ฟันผุได้ ทำให้มีปัญหาที่มีมีผลกระทบต่อการเรียนการสอน จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหานี้โดยศึกษาการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยวที่มีต่อฟันผุของนักเรียน
เพื่อให้ทราบข้อมูลสำหรับการป้องกันฟันผุ และรณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
กรอบแนวคิด
เด็กส่วนมากชอบ
แป้ง
รับประทานลูกอม และ
กระบวนการหมัก
กรด
และขนมขบเคี้ยว น้ำตาล โดยจุลินทรีย์ในช่องปาก
ทำลายเคลือบฟัน
ฟันผุ
วัตถุประสงค์
1. สำรวจการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นม.
1-6 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 ฉะเชิงเทรา
ปีการศึกษา 2545
2.
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยวของนักเรียน
3. ศึกษาปัญหาฟันผุของนักเรียน
4. รณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
วิธีดำเนินงาน
สถานที่
โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 ฉะเชิงเทรา ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราระยะเวลา
1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2545
อุปกรณ์
1. แบบสอบถาม
400 ชุด
2. กระจกส่องฟัน
10 อัน
ประชากร
ประชากรเป็นนักเรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี
3 ฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2545 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 20 ห้องเรียน
รวมทั้งสิ้น 840 คน
กลุ่มตัวอย่าง
สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนที่เคยรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
ทุกห้องเรียน ห้องละ 10 คน แบ่งเป็นชาย 5 คน และหญิง 5 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน
(ประมาณ 25% ของประชากรนักเรียน)
วิธีการและการเก็บข้อมูล
1. สัมภาษณ์และตรวจสุขภาพฟันครั้งที่ 1 ก่อนรณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูล รับคืนด้วยตนเอง และตรวจฟันผุ
ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2545 โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง มีลักษณะดังนี้
ตอนที่
1 ข้อมูลส่วนตัว เป็นคำถามปลายปิด
จำนวน 4 ข้อ ได้แก่
1.1
เพศ
1.2
อายุ
1.3
รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
1.4
จำนวนเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆต่อวัน
ตอนที่ 2 ข้อมูลการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว เป็นคำถามปลายปิด จำนวน 9 ข้อ ได้แก่
2.1 สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับประทาน
2.2 ประเภทที่ชอบมากที่สุด
2.3 ช่วงอายุที่เริ่มรับประทานครั้งแรก
2.4
จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการรับประทาน
2.5
จำนวนเงินที่จ่ายต่อวัน
2.6
จำนวนครั้งที่รับประทานต่อวัน
2.7
ช่วงเวลาที่ชอบรับประทาน
2.8
การปฏิบัติหลังรับประทาน
2.9
ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และโทษ
ตอนที่
3 ผลการตรวจสุขภาพฟัน
ผู้วิจัยตรวจฟันผุของกลุ่มตัวอย่างด้วยตาเปล่าและกระจกส่องฟันภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
เป็นคำถามปลายปิด จำนวน 1 ข้อ แบ่งเกณฑ์เป็นฟันปกติ และฟันผิดปกติ (ระดับน้อย
ระดับปานกลาง และระดับมาก)
2. รณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
1. จัดบรรยายสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่กลุ่มตัวอย่าง
และจัดบรรยายเรื่องฟันและปัญหาสุขภาพฟัน โดยคณะวิทยากรจากโรงพยาบาลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ในวันที่ 16 กันยายน 2545 จำนวน 1 ครั้ง
2.
ประชาสัมพันธ์หน้าเสาธงทุกๆวันจันทร์ของสัปดาห์
จำนวน 7 ครั้ง
3. สัมภาษณ์และตรวจสุขภาพฟัน ครั้งที่ 2
หลังรณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยวผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปให้กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูล
รับคืนด้วยตนเอง และตรวจฟันผุ
ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2545 โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง
มีลักษณะดังนี้
ตอนที่
1
ข้อมูลส่วนตัว เป็นคำถามปลายปิด จำนวน 2 ข้อ ได้แก่
1.1
เพศ
1.2
อายุ
ตอนที่ 2
ข้อมูลการรับประทานลูกอมและขนมคบเคี้ยวเป็นคำถามปลายปิด จำนวน 2 ข้อ คือ
2.1
จำนวนครั้งที่รับประทานต่อวัน
2.2
การปฏิบัติหลังการรับประทาน
ตอนที่ 3 ผลการตรวจสุขภาพฟัน เช่นเดียวกับครั้งที่ 1
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า
ก่อนรณรงค์ลดการรับประทานลูกอมและขนมขบเคี้ยว
นักเรียนมีฟันผุ 42.5 % มากที่สุดในช่วงอายุ 13-15 ปี
มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 3,000 บาท
และได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆต่อวันน้อยกว่า 50 บาท นักเรียนใช้กลิ่น รสชาติ
เพื่อน และโฆษณาในการตัดสินใจเลือกรับประทาน
ส่วนมากชอบขนมอบกรอบบรรจุถุง
เริ่มรับประทานครั้งแรกอายุ 2-6 ปี
โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้หิว ใช้จ่ายวันละ 10-20 บาท รับประทานน้อยกว่า 5
ครั้งต่อวัน และมีช่วงเวลาไม่แน่นอน ส่วนมากไม่ทำอะไรหลังรับประทานและคิดว่าลูกอมและขนมขบเคี้ยวมีประโยชน์มากกว่าโทษ
ต่อมาหลังรณรงค์ลดรับประทานพบว่านักเรียนมีฟันผุ ลดลง 19 %
โดยลดจำนวนครั้งที่รับประทานต่อวัน
และเพิ่มการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยหลังรับประทาน คือ แปรงฟัน บ้วนปาก
และดื่มน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น