บทที่ 1
บทนำ
1. หลักการ เหตุผล สภาพปัญหา
1.1 หลักการและเหตุผล
โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และทางสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายให้โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ซึ่งระบุไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หรือ 2543 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหาร คณะครูในโรงเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถจัดการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และในปีการศึกษา 2545 นี้ ทางโรงเรียนได้รับการจัดให้พัฒนาการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งคณะครูทั้งสองสายชั้นต้องนำหลักสูตรส่วนท้องถิ่นมาจัดทำการวิเคราะห์หลักสูตรจัดทำแผนการสอน จัดทำแบบประเมินและเอกสารอื่น ๆ มากมาย ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 3, 5,6 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) โดยยึดหลักสำคัญดังนี้
1. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อปวงชน
2. เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
3. เป็นการศึกษาที่มุ่งเอกภาพของชาติ โดยมีเป้าหมายหลักการร่วมกัน แต่ให้ท้องถิ่นมีโอกาสได้พัฒนาบางส่วนให้เหมาะสม
สำหรับโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้ง
2 ระดับ แต่เนื่องจากในแต่ละสายชั้นมีจำนวนนักเรียน เป็นจำนวนมาก ข้อมูลสภาพแต่ละครอบครัวและแต่ละบุคคลของนักเรียนแตกต่างกัน ทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ในฐานะที่เป็นครูผู้สอน
ผู้รายงานได้ศึกษาและหาวิธีแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนมาโดยตลอดได้จัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
มีทักษะ เจตคติที่ดีต่อการเรียนและ
การทำงาน ได้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติเป็นเครื่องมือสื่อสาร
ความเข้าใจระหว่างคนในชาติ
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนในชาติคำนึงถึงความเป็น ชาติเดียวกัน
นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้คนไทยเกิดการเรียนรู้วิทยาการสิ่งแวดล้อมช่วยให้เกิดความคิดแตกฉาน
คิดอย่างมีเหตุผลและคิดในลักษณะริเริ่มสร้างสรรค์ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529) ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนภาษาอื่นใดในโลก ถ้าพิจารณาการใช้ถ้อยคำในสถานการณ์ต่าง ๆ จะเห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำอย่างมีจังหวะ
มีความไพเราะ มีความหมายลึกซึ้ง
สื่อความหมายได้แจ่มแจ้งและสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมไทย หลายแง่หลายมุม (ฐาปะนีย์, 2534) ดังพระราชดำรัสของพระเทพ
รัตนสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเมื่อวันที่ 11
พฤศจิกายน พุทธศักราช 2530 เนื่องในงานสัมมนาวิชาการภาษาไทยกับการพัฒนาชาติ ณ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความตอนหนึ่งว่า “ภาษาไทยมีความสำคัญอย่างมากในการถ่ายทอด วัฒนธรรมและส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ
ผู้รู้ภาษาไทยจะเรียนวิชาอื่นได้ดีไปด้วย”(สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี, 2530) เมื่อตระหนัก ในคุณค่าของภาษาไทยเช่นนี้แล้วเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องรักษาภาษาไว้ อย่างดีที่สุด (ฐาปะนีย์, 2534) วิธีหนึ่งที่จะรักษาวิชาภาษาไทยให้อยู่สืบไปก็คือ
การถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังด้วยการให้การศึกษา
ดังนั้นการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการศึกษาเล่าเรียนของคนไทย (บุญเหลือ, 2520)
1.3 ความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย
ภาษาไทยมีความสำคัญในฐานะเป็นภาษาประจำชาติของไทยเป็นมรดกทาง วัฒนธรรม
เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและศิลปวิทยาการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างคนไทยด้วยกัน
หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช
2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กำหนดวิชาภาษาไทยให้อยู่ในกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้
โดยตั้งจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยไว้ดังนี้ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2533)
1.
ให้มีทักษะในการฟัง
พูด อ่าน เขียน โดยมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา
2.
ให้สามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารทั้งการรับรู้และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
อย่างมี ประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
3.
สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ตลอดจนสามารถใช้ภาษาเชิงสร้างสรรค์
4. ให้มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักเลือกหนังสือและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ สื่อมวลชน และแหล่งความรู้อื่น
5.
สามารถใช้ประสบการณ์จากการเรียนภาษาไทยในการคิด ตัดสินใจแก้ปัญหา และวินิจฉัยเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล
6. ให้มีความรู้ ความเข้าใจและเจตนคติที่ถูกต้องต่อการเรียนภาษาไทยและ วรรณคดีทั้งในด้านวัฒนธรรมประจำชาติและสร้างความงดงามในชีวิต
ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามตามหลักเกณฑ์ทางภาษา (กรมวิชาการ.
2537 : 7) การเรียนการสอนภาษาไทย มีจุดมุ่งหมายเน้นให้ผู้เรียนมีลักษณะดังนี้
1) ใช้ภาษาสื่อความได้ โดยผู้เรียนจะต้องมีพฤติกรรมดังนี้
- ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา
- ใช้ภาษาได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
- มีความคิดและมีวิจารณญาณในการใช้ภาษา
2) ให้คุณค่าและความงามของภาษาไทย
- ตระหนักในความสำคัญของภาษา
- เห็นความงามของภาษาไทย
- มีความภูมิใจในการใช้ภาษาไทย
3) มีนิสัยรักการอ่าน (กรมวิชาการ, 2539 : 11)
จะเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นมิได้มุ่งเพียงแต่การอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่เน้นทักษะความเข้าใจภาษา (การฟัง, การอ่าน, การเขียน,
การพูด) จนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อความคิด ความเข้าใจ
การแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529)
1.4
ปัญหาในการสอนทักษะการเขียน
สุรศักดิ์ กาญจนการุณ (2531 : 2
อ้างในวนิดา สุขวนิช 2535 : 3) ได้กล่าวว่า การเขียนเป็นทักษะการแสดงออกที่สำคัญแทนคำพูดนอกเหนือไปจากประโยชน์ในชีวิตประจำวันแล้วในการเรียนการสอนเกือบทุกวิชาต้องอาศัยการเขียน
เพื่อบันทึก เพื่อรวบรวมถ้อยคำ ของครู ของเพื่อน
หรือของวิทยากร เพื่อรายงานหรือย่อสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง และเพื่อเขียนตอบปัญหาต่าง ๆ การเขียนในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเขียนข้อความ
ประโยค กลุ่มคำ วลี จะต้องเขียนให้ถูกตามอักขระวิธี ถ้าหากเขียนผิดพลาดหรือบกพร่องไปจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป
ผู้สื่อหรือผู้รับไม่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกันและ บางครั้งทำให้เข้าใจไขว้เขวไปได้
ประทิน มหาขันธ์ (2509 : 604 – 605) ได้กล่าวว่า การเขียนสะกดคำเป็นทักษะ ที่สำคัญในการวางพื้นฐานของการเขียนด้านอื่น
ๆ เพราะการเขียนสะกดคำผิดความหมายของประโยค ข้อความและเรื่องจะผิดไปทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของเรื่องผิดพลาดจากความจริง ดังนั้นครูจึงควรสอนเขียนสะกดคำอย่างถูกวิธี
จากประสบการณ์การสอนกลุ่มทักษะภาษาไทย ผู้รายงานสนใจและตั้งใจที่จะ แก้ปัญหาในด้านการเขียน เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกออกมาเป็นอักษรทำให้คนอื่นเข้าใจทั้งยังเป็นเครื่องมือพัฒนาความคิด
สติปัญญา ตลอดจนเจตคติ ซึ่งการเขียนมีความจำเป็นต้องฝึกให้สัมพันธ์กับทักษะอื่น จากประสบการณ์ด้านการสอน ผู้สอนได้รวบรวมปัญหาในด้านการเขียนดังนี้
1. เขียนลายมือไม่สวย เช่น เขียนตัวผอมลีบเล็ก ตัวอ้วนเกินไป ตัวไม่เต็มบรรทัด ตัวเกินบรรทัด พยัญชนะไม่มีหัว
2. เขียนพยัญชนะ, สระกลับทาง เช่น กลับหัวเข้าหรือออก ซึ่งไม่ถูกต้องตามลักษณะของตัวอักษร
3. เขียนไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเขียนอักษรไทย เช่น เติมวรรณยุกต์ เติมสระไม่ถูกที่ เช่น ตโ ออน่ เป็นต้น
4. นักเรียนเขียนสะกดคำผิด เช่น ผิดตัวสะกดหรือตัวพยัญชนะต้นที่หนักใจมากที่สุด ได้แก่ เขียนพยัญชนะโดยไม่มีสระประสม เช่น กสมนย
5. เขียนประโยคไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ จับใจความไม่ได้
6. เขียนบรรยายภาพ เขียนแสดงความคิดเห็นหรือเขียนเรื่องต่างๆ ตามลำดับความคิดไม่ได้
จากปัญหาการเขียนที่กล่าวมา ผู้รายงานสนใจและตั้งใจที่จะแก้ปัญหาในด้านการเขียนโดยจะแก้ปัญหาการเขียนที่การแต่งประโยคภาษาไทยเพราะเป็นขั้นตอนกลาง
ๆ ในการสอนเขียนซึ่งไม่ง่ายและไม่ยากจนเกินไปและจะเป็นพื้นฐานในการเขียนบรรยายภาพ
เขียนแสดงความคิดเห็นและเขียนเรื่องราวต่างๆ ตามลำดับความคิด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเขียนในการเรียนชั้นสูงต่อไป
ในปีการศึกษา 2543 ผู้รายงานได้จัดทำแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับการเขียน การแต่งประโยคแบบโดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1/1 ทุกคน แบบฝึก ไม่จัดเป็นรูปเล่ม ไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม ทำเก็บผลงานแล้ว เย็บเล่ม รวมเป็นชุด ๆ ปรากฏว่าเมื่อตรวจแบบฝึกการแต่งประโยค
นักเรียนมีพัฒนาการด้านการแต่งประโยค
ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น ผู้รายงานจึงได้คิดที่จะพัฒนาแบบฝึกให้ได้มาตรฐานสมควรที่จะเย็บเป็นรูปเล่ม
มีรูปแบบที่สวยงามนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2543 ผู้รายงานได้เริ่มจัดทำแบบฝึกปรับปรุงและพัฒนาแบบฝึกเดิมโดยได้ปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ ด้วย ตั้งใจว่าจะแก้ปัญหาการเขียนของนักเรียน โดยเฉพาะการแต่งประโยคเพื่อที่จะนำมาสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2544 ต่อไป
ผู้รายงานได้จัดทำชุดฝึกและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มทักษะภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2544 โดยการทดสอบก่อนเรียน ทดลองให้นักเรียนทำแบบฝึกการแต่งประโยคโดยใช้คำอย่างง่าย
ๆ สั้น ๆ ตามความสามารถ พบว่า
นักเรียนส่วนหนึ่งแต่งประโยคได้ถูกต้องแต่นักเรียนส่วนใหญ่ยังแต่งประโยคได้ไม่ถูกต้อง
ไม่สมบูรณ์ดังผลสัมฤทธิ์จากแบบฝึกหัดการแต่งประโยคเมื่อวันที่ 2
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544
ดังนี้
ผลคะแนนจากแบบฝึกการแต่งประโยคภาษาไทย
ตารางที่ 1
ผลคะแนนจากคะแนนจากแบบฝึกการแต่งประโยคภาษาไทย
จำนวนนักเรียน
|
คะแนนเต็ม
|
คะแนนที่ได้ |
คะแนนเฉลี่ย
|
ร้อยละ |
37
|
370
|
203
|
5.48
|
54.8
|
จากตาราง พบว่า
อัตราการแต่งประโยคภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1/7 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา
2544 อยู่ในเกณฑ์ ต่ำมาก
หากปล่อยไว้จะทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทยและวิชาอื่น ๆ ต่ำไปด้วย
ซึ่งจะ กลายเป็นปัญหาในการเรียนชั้นสูงต่อไป
จากข้อมูลการแต่งประโยคภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544
นี้เองทำให้ผู้รายงานตัดสินใจใช้ชุดฝึกเพื่อแก้ปัญหาการแต่งประโยคภาษาไทย
นักเรียนทุกคน โดยใช้ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ที่ผู้รายงานได้จัดทำไว้ มาใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544 เมื่อวันที่ 25
กรกฎาคม พ.ศ. 2544
1.5 สาเหตุของปัญหา
1.
จากประสบการณ์การสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 มาหลายปี
2. ผู้รายงานได้พบปัญหาการเขียน
การแต่งประโยค การเขียนเรื่องการบรรยายและการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียน
จากตารางคะแนนแบบฝึกทักษะการแต่งประโยค คะแนนจากการแต่งประโยค จากการสอบภาคปฏิบัติภาคเรียนที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ต่ำอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ เป็นสาเหตุให้ผู้รายงานต้องการแก้ปัญหาในการเขียนของนักเรียน
ซึ่งปัญหานั้นอาจมีสาเหตุและ องค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1.5.1 สาเหตุจากครู
1.5.1.1 ครูรับผิดชอบหลายกลุ่มประสบการณ์ ไม่สามารถจัดกิจกรรม เตรียมการเรียนการสอนได้เต็มที่
1.5.1.2 ครูใช้วิธีสอนแบบเดิมไม่ได้คิดค้นนวัตกรรม
เทคนิควิธีสอนใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5.1.3 ครูขาดทักษะในการสอน
1.5.1.4 ครูขาดงบประมาณในการจัดทำ จัดซื้อสื่อและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดกิจกรรม
1.5.2 สาเหตุจากนักเรียน
1.5.2.1 นักเรียนขาดความสนใจ ไม่ตั้งใจ ไม่เห็นความสำคัญของการเขียน
1.5.2.2 นักเรียนมีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
1.5.2.3 นักเรียนขาดทักษะในการอ่านและเขียน
1.6 แนวทางในการแก้ปัญหา
จากปัญหาดังกล่าวผู้รายงานจึงได้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาการสอนโดยการจัดทำแบบฝึกทักษะ คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะเสริมบทเรียนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนี้
1.6.1 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
10 ชุด จำนวน 60 แบบฝึก
1.6.2 คู่มือการใช้ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
1.6.3 แผนการสอนประกอบชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่
1 จัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กลุ่มทักษะภาษาไทยเป็นแกน
1.6.4
รายงานการพัฒนาชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
1.6.5 เอกสารประกอบอื่น ๆ ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก
4 เล่ม คือ สองพี่น้อง พรพญานาค เพลงกล่อมลูกภาคอีสาน เล่ม
1 เล่ม 2 ปริศนาคำทายบทร้อยกรองสำหรับครูจำนวน 1 เล่ม
เหตุที่ผู้รายงานเลือกใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย เนื่องจาก
1. แบบฝึกทักษะจะทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น
2. เป็นการฝึกพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนชั้นสูงต่อไป
3. เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตัวเอง
4.
เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องเพิ่มทักษะในการทำงาน
5.
เป็นการประเมินผลการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด
6. เป็นการส่งเสริมคุณภาพด้านการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนสูงขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
2.1 เพื่อแก้ปัญหาการแต่งประโยคภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1/7 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2544
2.2
เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลังการใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการ แต่งประโยคภาษาไทย
2.3
เพื่อประเมินหาคุณภาพและประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป
3.
ขอบเขตของการศึกษา
3.1 กลุ่มตัวอย่าง
3.3.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1/7 ปีการศึกษา 2544
โรงเรียนอนุบาล
ชัยภูมิ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองชัยภูมิ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 37 คน
3.2 ระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 2 ปี ย้อนหลัง ดังนี้
ปีที่ 1 ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2543
- 16 พฤษภาคม 2544
ปีที่ 2 ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2544
- 16 พฤษภาคม 2545
3.3 ตัวแปรที่ศึกษา
3.3.1 ความก้าวหน้าทางการเรียนระหว่างเรียน
และผลของการใช้ชุดฝึกพัฒนาการ แต่งประโยคภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 จำนวน
10 ชุด
3.3.2
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกพัฒนากรแต่งประโยคภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.3.3 ความคิดเห็นของคณะครูที่มีต่อชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.
ข้อตกลงเบื้องต้น
เอกสารครั้งนี้นำไปเผยแพร่ในครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า
ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ และอำเภอด่านขุนทดสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 โรงเรียน เพื่อขอคำชี้แจงและประเมินชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
4.1 การศึกษาครั้งนี้ครูและนักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจและจริงใจ
4.2 การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้คำนึงถึงเพศ อายุ และปัจจัยอื่น ๆ
ทั้งของนักเรียนและครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
5. ข้อจำกัดทางการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มทักษะภาษาไทยให้มีคุณภาพ โดยเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทั้ง
4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเฉพาะการเขียนภาษาไทยเพื่อติดต่อสื่อสารและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาทดลองคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 37 คน
และครูผู้สอนประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองชัยภูมิ ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 14 โรงเรียน ที่ได้ใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทยเท่านั้น ผลการศึกษาจึงไม่สามารถนำมาสรุป
อ้างอิงเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกในประชากรสถานที่อื่น
ๆ ได้
6.
นิยามศัพท์เฉพาะ
6.1 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หมายถึง ชุดฝึกที่
1-10 ผู้รายงานสร้างขึ้นเพื่อฝึกทักษะการแต่งประโยคภาษาไทย จำนวน 10 ชุด โดยไม่ได้เรียงตามลำดับสระแต่เรียงตามความเหมาะสมของเนื้อหาตามแผนการสอนซึ่งประกอบด้วย
ชุดที่ 1 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ -า
ชุดที่ 2 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ Õ
ชุดที่ 3 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ เ -
ชุดที่ 4 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ Ù
ชุดที่ 5 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ - อ
ชุดที่ 6 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ โ -
ชุดที่ 7 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ ใ -
ชุดที่ 8 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย สระ ไ -
ชุดที่ 9 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย การแต่งประโยค
ชุดที่ 10 ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย การแต่งประโยค
6.2 ชุดฝึกเสริมทักษะ หมายถึง แบบฝึกหัดที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นเพื่อ ฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย แบ่งออกเป็นแบบฝึกเสริมทักษะชุดย่อย เพื่อให้เหมาะสมในการฝึกแต่ละชุด ใน 1 ชุดจะมี 6 แบบฝึกเสริมทักษะ ดังนั้น 10 ชุดฝึกจะมี 60 แบบฝึก
6.3 แบบฝึก หมายถึง แบบฝึกหัดที่ผู้รายงานทดลองใช้แก้ปัญหาการแต่งประโยคภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 6 แบบฝึก ๆ ละ 5 ข้อ รวมทั้งสิ้น 60 แบบฝึก
6.4
แบบทดสอบ หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนชุดฝึกพัฒนา
การแต่งภาษาไทย ซึ่งจะทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดฝึก
6.5 แผนการสอน หมายถึง แผนการสอนเรื่องการแต่งประโยคภาษาไทย
ที่รายงานสร้างขึ้นเพื่อใช้ทดลองสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
6.5.1 สาระสำคัญ
6.5.2 จุดประสงค์
6.5.3 เนื้อหา
6.5.4 กิจกรรมการเรียนการสอน
6.5.5 สื่อการเรียนการสอน
6.5.6 การวัดและประเมินผล
6.5.7 กิจกรรมเสนอแนะ
6.5.8 ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
6.5.9 บันทึกผลหลังสอน
6.6 นักเรียน
หมายถึง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2544 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองชัยภูมิ สำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 37 คน
6.7 ครู หมายถึง คณะครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ สำนักงาน
การประถมศึกษาอำเภอเมืองชัยภูมิ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิที่สอนประจำชั้นประถมศึกษาปีที่
1/1 – 1/6 จำนวน 6 คน
6.8 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 ภายหลังการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
ทั้งหมด 10 ชุด รวม 60 แบบฝึก วัดจากแบบทดสอบที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
ดังต่อไปนี้
1)
แบบทดสอบการพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย 10 ชุด
2)
ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1/7 ที่มีต่อชุดฝึกการพัฒนา
การแต่งประโยคภาษาไทย
3)
ความคิดเห็นของคณะครูผู้สอนกลุ่มทักษะภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ ที่มีต่อชุดฝึกพัฒนาการแต่งประโยคภาษาไทย
7. ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับ
7.1 นักเรียนได้ฝึกทักษะการแต่งประโยคภาษาไทย
7.2 นักเรียนสามารถแต่งประโยคภาษาไทย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง
7.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงขึ้น
7.4
มีสื่อในการจัดการเรียนการสอนประเภทแบบฝึกและเอกสารประกอบสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น