วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงาน



6. โครงงาน เรื่อง การสำรวจความเชื่อในท้องถิ่นที่มีผลต่อสุขภาพที่มาและความสำคัญ


                ผู้คนในสมัยก่อนส่วนมากมีความเป็นอยู่ที่ลำบากและไม่ค่อยมีสิ่งที่ช่วยให้ความสะดวกสบายไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขภาพ  ผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องหาพืชต่างๆหรือของป่ามาดูแลสุขภาพจึงได้เกิดความเชื่อต่างๆขึ้นในสมัยก่อน  แต่ในปัจจุบันก็ยังมีคำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อนั้นอยู่  และจากข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องของความเชื่อที่ส่งเสริมสุขภาพ   ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและไม่ให้ประโยชน์แต่ก็ไม่ให้โทษต่อสุขภาพ  และความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและให้โทษต่อสุขภาพ   เพี่อต้องการทราบเหตุผลต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ  จึงคิดจัดทำโครงงานเรื่อง   การสำรวจความเชื่อในท้องถิ่นที่มีผลต่อสุขภาพ

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ทราบเหตุผล ความเชื่อด้านสุขภาพในท้องถิ่นของเรา

2.  เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้ทราบถึงความเชื่อด้านสุขภาพของกลุ่มบุคคลในตำบลหาดแพง

3.  เพื่อให้รู้ถึงประโยชน์และโทษของความเชื่อ

4.  เพื่อสามารถแยกประเภทของความเชื่อได้

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

ความเชื่อของคนเราในท้องถิ่นมีทั้งประโยชน์และโทษ

นิยามเชิงปฏิบัติ

1.  ความเชื่อและความเข้าใจ หมายถึง แนวความคิดที่สมบูรณ์และมั่นคง ซึ่งคนเรามีต่อสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม แนวคิดนี้ซึ่งเป็นผลอันเกิดขึ้นหลังจากการที่คนเราประสบมาแล้ว

2.  ความเชื่อและความเข้าใจผิดนั้นมีความหมายเกือบจะตรงข้ามกัน คือ ความเชื่อและความเข้าใจที่เกิดจากแนวความคิดซึ่งได้มาจากประสบการณ์

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. สถานที่ทำการสอบถามข้อมูล  บุคคลที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอห้วยยอด

-  ตำบลทุ่งต่อ

-  ตำบลห้วยยอด

-  ตำบลเขาปูน

2. ระยะเวลา

     วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ถึง  วันที่ 27 พฤศจิกายน 2553

3. ความชื่อที่ศึกษา

-  ความเชื่อที่ส่งเสริมสุขภาพ

-  ความเชื่อที่ไม่ให้ประโยชน์ แต่ไม่ให้โทษต่อสุขภาพ

-  ความเชื่อที่ให้โทษต่อสุขภาพ

สรุปผลการศึกษา

จากการสำรวจและรวบรวมความเชื่อ สามารถรวบรวมได้ 89 ข้อ  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1.  ความเชื่อที่ส่งเสริมสุขภาพมี 6 ข้อ

2.  ความเชื่อที่ไม่ให้ประโยชน์ แต่ก็ไม่ให้โทษต่อสุขภาพ มี 61 ข้อ

3.  ความเชื่อที่ให้โทษต่อสุขภาพ มี 22 ข้อ

รายละเอียด สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว).   โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ช่วงชั้นที่ 3 .   กรุงเทพมหานคร:    พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว).     2547.  หน้า  140-146

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน

1.  ได้ทราบเหตุผลของความเชื่อด้านสุขภาพในท้องถิ่นของเรา

2.ได้ทราบถึงความเชื่อด้านสุขภาพ ของกลุ่มบุคคลในตำบลหาดแพง เพื่อเป็นการปฏิบัติและสุขภาพ

3.  ได้ทราบถึงประโยชน์และโทษของความเชื่อ

4.  ได้ปรับปรุงพฤติกรรมต่างๆโดยมีความเชื่อเป็นแนวทาง และเหตุผลที่เหมาะสม

5.  ความสามารถแยกประเภทของความเชื่อได้

ข้อเสนอแนะ

ความเชื่อในท้องถิ่นมีทั้งความเชื่อที่ไม่ให้โทษต่อสุขภาพ ความเชื่อที่ให้โทษต่อสุขภาพและความเชื่อที่ส่งเสริมสุขภาพ จึงควรทราบเหตุผลที่ถูกต้องเพื่อการดูแลสุขภาพ จึงจัดทำโครงงานสำรวจความเชื่อในท้องถิ่นที่มีต่อสุขภาพ โดยพิมพ์เอกสารเผยแพร่ต่อชุมชน และเสนอความรู้โดยจัดกิจกรรมเสียงตามสายในโรงเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น