โครงงานภาษาไทยคุณครูวัชรีวรรณ บุพศิริ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผู้สนใจ
โครงงาน การอ่านออกเสียง
เวลา
1ชั่วโมง
กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ความสำคัญและความเป็นมา
ปัจจุบันนี้ผู้คนมากมายไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญการภาษาไทย
เท่าที่ควร เช่น การเขียน การอ่าน เป็นต้น โดยเฉพาะในเรื่องของการ อ่านภาษาไทย มักจะถูกมองข้ามในเรื่องของอักษรควบกล้ำ
อักษร ร ,
ล อักษร ส , ซ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะอ่านออกเสียงได้ไม่ถูกต้อง
หรือออกเสียง ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทางกลุ่มจึงเลือกที่จะสำรวจในเรื่องของ
การอ่านออกเสียง ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ที่ได้ทำการสำรวจ
ได้รู้ว่าตนเองอ่านผิดตรงไหน และควรปรับปรุงตรงส่วนไหน ภาษาไทยเรา
จะได้คงวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ตลอดไป...
วัตถุประสงค์
1. เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของไทย
2. เผยแพร่ความรู้ในการอ่านออกเสียง
เป้าหมาย
3.1
เป้าหมายเชิงปริมาณ ( จำนวนของผู้ที่จะได้ชมผลงานเป็นตัวเลข )
-
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.2
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
-
สามารถสำรวจได้ว่ามีการอ่านออกเสียงภาษาไทยไม่ถูกต้อง และสามารถปรับปรุง
แก้ไขได้
5
ขั้นตอน การฝึกอ่านออกเสียง
การออกเสียง หลังจากได้ฝึกหายใจให้ถูกต้องเป็น
ที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาออกเสียงกันต่อ โดยปกติ
จะใช้เสียง "
สระ " มาแทน คำเวลาฝึก โดยอาจจะเปลี่ยนพยัญ - ชนะต้นไปเรื่อยๆ อาทิเช่น อา เอ
อี โอ อู , มา
เม มี โม มู , บา เบ บี โบ บู ฯลฯ ซึ่งสระ 5 ตัวนี้จะค่อน ข้างใช้บ่อยในภาษาไทย ถ้
เป็นอัง - กฤษจะใช้
เอ อี ไอ โอ ยู ซึงใน การฝึกขั้นแรกเราก็จะใช้คำพวกนี้แทน ประโยค หรือ
เนื้อร้องไปก่อน
1. การฝึกให้เสียงนิ่ง
1. เก็บลมหายใจให้เต็ม
ฟันประกบ กัน ค่อยๆปล่อยลมออกอย่างสม่ำเสมอ ให้เสียงผ่านฟันเป็นคำว่า " ซี
" หรือ คล้ายๆเสียงปล่อยลมออกจากลูกโป่ง หรือยางรถยนต์ พยายามให้ความดัง
คงที่ อย่าให้เสียงวูบวาบ ถ้าจะเบาก็ เบาให้ตลอด ถ้าดังก็ให้ดังคงที่ ไป
เรื่อยๆจนกว่าจะหมดลม โดยช่องท้อง ก็ต้องคอยควบคุมลม ให้ค่อยๆไล่จาก ต่ำสุดคิอ
ท้องน้อย ช่องท้อง กระบัง ลม ปอด เหมือนกับเราบีบยาสีฟันจาก
ข้างล่างไล่ขึ้นข้างบนจนหมดหลอด
2. เปลี่ยนจากออกเสียง
" ซี " เป็น ปิดปาก แล้วฮัมเสียงในลำคอว่า " ฮืม "
โดยใช้หลักการเดียวกันกับข้อ 1
2. การฝึกเสียงหนักเบา
1. เหมือนในขั้นตอนที่ผ่านมา
แต่ เริ่มจากเบาๆแล้วค่อยเพิ่มแรงดันออก มาทีละนิด โดยช่องท้องจะเป็นตัวทำ หน้าที่ค่อยๆเร่งความแรงในการปล่อย
ลมออกมา ซึ่งในกรณีนี้ แน่นอนอยู่แล้ว ว่า ลมจะต้องหมดเร็วกว่าในขั้นตอน แรก
เพราะฉะนั้นคนที่จะร้องเพลงให้ ได้เสียงที่มีลูกเล่นมาก มีดังมีค่อย จะ
ต้องใช้ลมเป็นตัวบังคับที่สำคัญ ถ้า อยากร้องเพลงเสียงดังแต่ลมไม่พอ ก็
จะได้เสียงที่ไม่มีแรง หรือ อาจจะ เพี้ยนโน้ตไปเลยก็ได้
2. เปลี่ยนปากเป็น
เหมือนทำท่าจะ เป่าลม ( เหมือนทำท่าผิวปาก ) ปล่อย
ลมออกมาพร้อมกับฮัมเสียงในลำคอว่า " ฮู "
โดยให้เป็นเสียงโน้ตใดโน้ตหนึ่ง แล้วค่อยเพิ่มความดังให้ค่อยๆดังขึ้น
แต่มีข้อแม้อยู่ว่าเมื่อเสียงดังขึ้นอย่าให้ โน้ตของเสียงเพี้ยนสูงขึ้นตาม
พยายามบังคับให้โน้ตคงอยู่ระดับเดิม ให้ เปลี่ยนแปลงแค่ความดังเท่านั้นเพราะ
จะได้ฝึกให้รู้จักรักษาระดับเสียงหรือ pitch เพราะในการร้องเพลงบางที
ในโน้ตเดียวกัน อาจจะเปลี่ยนจาก เบาเป็นดัง หรือดังเป็นเบา สลับไป มาก็ได้
ถ้าไม่รักษาระดับเสียงให้คงที่ ไว้ ก็จะกลายเป็นเสียงเพี้ยนทันที
3. การออกเสียงกับสระ
1. เหมือนอย่างที่บอกไว้ในข้างต้น
แต่ก่อนอื่นต้องทำรูปปากให้ชัดเจนเพื่อ เสียงที่ออกมาจะได้ถูกต้อง และมี ความคมชัด
เช่น
" อา" อ้าปากให้กว้างๆไปเลย
" เอ " แบะปากออกด้านข้าง อ้าปากเล็กน้อย
" อี " แบะปากออกด้านข้าง อ้าปาก น้อยกว่า " เอ "
" โอ " ห่อปากให้เป็นรูปตัว " โอ " ไป เลย
" อู " คล้าย " โอ " แต่ให้วงเล็กลงมา หรือคล้ายทำท่าผิวปาก
2. ร้อง
อา , เอ , อี , โอ
, อู เรียงกัน ตามลำดับ อาจจะให้ความยาวคำละ ประมาณ 2-3
วิ แล้วพอ " อู " คำสุด ท้ายก็ให้ลากเสียงไป จนกว่าจะหมด ลม
โดยให้คำทั้งหมดอยู่ในระดับเสียง หรือโน้ตเดียวกัน ถ้าอยากฝึกสูงขึ้น หรือต่ำลง
ก็ให้เปลี่ยนโน้ต โดยใช้ เครื่องดนตรีกดเพิ่มขึ้น ทีละเสียงก็ได้ จนกว่าจะถึงโน้ตที่ร้องไม่ไหวจริงๆ
3. ลองเปลี่ยนอักษรนำเป็นตัวต่างๆ
ได้ตามใจชอบ เช่น มา , เม , มี ,
โม , มู ลา , เล ,
ลี , โล , ลู ฯลฯ
4. การฝึกให้เสียงไม่แบน
หมายถึงเปลี่ยนให้เนื้อเสียงมีความ
กังวานมากขึ้น มีหลักการสังเกตชัด เจนได้ง่ายๆคือ เวลาที่เราหาวเสียง ของเราจะเปลี่ยนไปจากเดิม
คือ จะมีความกลม และ ความกังวานมากขึ้นนั่นเป็นเพราะเวลาเราหาว ช่องคอ และปากจะเปิดกว้างมากขึ้น
จะทำให้เหมือนกับมีกล่องที่คอยรับเสียงใบใหญ่ ขึ้น เสียงจึงมีความกังวานมากขึ้น
นัก ร้องโอเปร่า จะใช้วิธีเปิดคอแบบนี้จึงได้เสียงที่ฟังแล้วก้องกังวาน บวกกับ ลมหายใจที่มีแรงเยอะจึงสมบูรณ์แบบ
แต่อย่าเพิ่งตกใจว่าจะให้ฝึกร้องโอเปร่านะครับ เพียงแต่ใช้หลักการเดียว กันก็น่าจะช่วยให้เสียงน่าฟังขึ้นไม่มาก
ก็น้อย
1. หาวเข้าไป
หาวเล่นๆ หาว เรื่อย ให้ชินกับการหาว ( เดี๋ยวก็จะมีหาวจริงตามมา )
2. ใช้การฝึกจากการออกเสียงจาก
สระมาประกอบ โดยทุกครั้งที่เปล่งเสียงออกมา ให้ทำท่าหาวตลอด แล้ว ลองสังเกตเสียงที่ออกมาว่าเปลี่ยนไป
หรือเปล่า
5. การฝึกเสียงสูง
ต้องขอบอกให้เปลี่ยนความคิดก่อน
นะครับว่าคนที่ร้องเพลงได้สูง ไม่ใช่ คนที่ร้องเพลงได้ดีกว่าคนทั่วไปเพราะ
เสียงของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันมาตั้ง แต่กำเนิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เวลา
ร้องเพลงให้เลือกเพลงที่มีความ เหมาะสมกับเรา หรือปรับเปลี่ยนคีย์ (Transpose) ให้เหมาะสม สมมุติ ถ้าร้องคาราโอเกะ อยากร้องเพลง ของอัสนีย์ แต่ร้องไม่ถึงก็สามารถบอก
ทางร้านให้ลดคีย์ลงมาได้ ไม่ต้องไป ดันทุรังทนร้องคีย์เดิม เดี๋ยวคอจะเสีย
ในที่นี้ จะฝึกให้บางโน้ตที่สูงๆ ร้อง เกือบถึง หรือร้องถึงแต่เสียงที่ออกมา
ไม่มีคุณภาพ โดยใช้การร้องแบบ HEAD TONE เข้ามาช่วย
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเสียงจากหัว ทำ ไมหัวเปล่งเสียงได้ ไม่ใช่คอหรือที่ เปล่งเสียง
จริงๆแล้วเสียงทั้งหมด ต้องออกจากคอถูกต้องอยู่แล้ว แต่ใน กรณีที่เสียงสูงมากๆ
เราสามารถดัน ลมให้ผ่านเข้าไปในช่วงโพรงจมูก ( ด้านหลังจมูกในกระโหลกศรีษะ ) ซึ่ง
จะมีช่องว่างที่จะสร้างความกังวาน ของเสียงได้อีก ต้องลงมือฝึกถึงจะ เห็นภาพ
1. นึกถึงเสียงเครื่องบินเวลาจะขึ้น
หรือเสียง มอเตอร์ไซด์เวลาออกตัว แล้วค่อยๆเร่งเครื่องแรงขึ้น
2. เก็บลมให้เต็มที่
ปิดปากสนิท ใช้ การฮัมอยู่ในลำคอแล้วเปล่งเสียงออก มาจากต่ำสุด
( ที่คิดว่าต่ำสุดของเรา
) แล้วค่อยๆเพิ่มแรงขึ้น และเสียงก็สูง ขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงเสียง
สูงๆต้องใช้ลมดันมากๆเพื่อให้เสียงสูง ขึ้นยิ่งกว่าเดิมให้ได้ เหมือนกับเร่งให้
ได้ความเร็วสูงสุดของเครื่องยนต์ จน กว่าจะหมดลม ฝึกหลายๆครั้งให้ได้จุด
สูงสุดเพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ เวลาร้องเพลงแล้วเจอโน้ตสูงๆ
จะได้มีแรงดันช่วยโดยที่ไม่ต้องตะเบ็ง แต่เสียงที่ลำคออย่างเดียว ทั้งนี้และ
ทั้งนั้นต้องมีกองหนุนที่ดี คือ ลมหายใจ ที่แรงนั้นเอง
3. จุดกำเนิดของเสียงแต่ละช่วงจะ
ต่างกันไป โดยสังเกตได้จากการลอง เอามือสัมผัสจากเริ่มเสียงต่ำ จะอยู่ที่ หน้าอก
พอเสียงเริ่มสูงขึ้นจะค่อยๆไล่ ขึ้นมาทีละนิด เป็น อก , คอ ,
ปาก , จมูก , ตาและคิ้ว
โดยเฉพาะช่วง เสียงสูงๆ จะค่อนข้างรู้สึกคันช่วงจมูก และอาจจะปวดหัวเล็กน้อย
4. การฝึกแบบนี้
อาจจะใช้การเปิด คอเข้ามาช่วยด้วยก็จะดี
- รวบรวมข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด
ทำการสรุปแบบสำรวจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน
1.ได้ทราบว่านักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่
1อ่านออกเสียงอักษรใด ไม่ชัด
2.สามารถปรับปรุงการอ่านออกเสียงให้ชัดเจนขึ้น
ผู้รับผิดชอบโครงงาน
นางวัชรีวรรณ บุพศิริ
ตำแหน่งครู
9.1
ที่ปรึกษา
นายวันชัย พาลีรักษ์
ตำแหน่ง ครู
วิธีการดำเนินงาน
แบบสำรวจ เรื่องการอ่านออกเสียง
ข้อ
|
ประโยค
|
ชัดเจน
|
ไม่ชัดเจน
|
หมายเหตุ
|
1
|
ลุงรำลึกความหลังแล้วเล่าเรื่องราวให้ลูกหลานฟังอย่างร่าเริง
|
|||
2
|
ลุงแรมได้รับโล่รางวัล
เลยจัดงานรื่นเริงเลี้ยงลูกหลาน
|
|||
3
|
ทหารเลิกรบแล้วรีบซ่อมแซมโรงเรียนที่พังทลายเพราะแรงลม
|
|||
4
|
เราเดินลุยลงทะเลเพื่อไปเล่นเรือใบให้ร่าเริงสนุกสนาน
|
|||
5
|
รอบรั้วมีตำลึงขึ้นรกรุงรัง
ลองเก็บไปแกงเลียง ลิ้มรสอร่อยดี
|
|||
6
|
สายลม
เสียงซอ เป็นเสน่ห์ ชวนซึ้ง สลักใจ
|
|||
7
|
เพลงโสมส่องแสงแสนเสนาะปนเศร้า
|
|||
8
|
ฟ้าแลบแปลบปลาบให้เปล่าเปลี่ยว
|
|||
9
|
นายพรานพรวดพราดไปหยิบพร้า
|
|||
10
|
สาวสวยใส่เสื้อสีแสดใส่สร้อยสีส้ม
สี่สิบสี่เส้น
|
แบบฝึกหัด คำควบกล้ำ
ข้อ 1. ข้อใดไม่ใช่คำควบกล้ำ
ก) เกลี้ยง
ข) ขวิด
ค) ปรอท
ง) ไพร
ข) ขวิด
ค) ปรอท
ง) ไพร
ข้อ 2. ข้อใดไม่ใช่คำควบกล้ำ ?
ก) ขนุน
ข) กวาง
ค) ควัน
ง) เพลีย
ข) กวาง
ค) ควัน
ง) เพลีย
ข้อ 3. ข้อใดอ่านผิด
ก) ขวนขวาย
อ่านว่า ขวน - ขวาย
ข) แพรพรรณ อ่านว่า แพร - พัน
ค) พลิกแพลง อ่านว่า พิก - แพลง
ง) ควันไฟ อ่านว่า ควัน - ไฟ
ข) แพรพรรณ อ่านว่า แพร - พัน
ค) พลิกแพลง อ่านว่า พิก - แพลง
ง) ควันไฟ อ่านว่า ควัน - ไฟ
ข้อ 4. ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก) ครองแครง
อ่านว่า คลอง - แครง
ข) เปรี้ยว อ่านว่า เปี้ยว
ค) ปลากราย อ่านว่า ปลา - กาย
ง) ขยาย อ่านว่า ขะ - หยาย
ข) เปรี้ยว อ่านว่า เปี้ยว
ค) ปลากราย อ่านว่า ปลา - กาย
ง) ขยาย อ่านว่า ขะ - หยาย
ข้อ 5. ข้อใดไม่ใช่คำควบกล้ำ
ก) สระน้ำ
ข) ประสงค์
ค) จราจร
ง) ทรัพย์สิน
ข) ประสงค์
ค) จราจร
ง) ทรัพย์สิน
ข้อ 6. ข้อใดเป็นอักษรควบไม่แท้
ก) กร
ข) กล
ค) ทร
ง) คร
ข) กล
ค) ทร
ง) คร
ข้อ 7. คำใดอ่านออกเสียง "ร" ควบกล้ำ
ก) หรรษา
ข) ทรงทราบ
ค) สระผม
ง) แพรวพราว
ข) ทรงทราบ
ค) สระผม
ง) แพรวพราว
ข้อ 8. ข้อใดเขียนผิด
ก) ใคร่ครวญ
ข) ไขว่คว้า
ค) เกลื่อนกล่น
ง) อ้อยขวั้น
ข) ไขว่คว้า
ค) เกลื่อนกล่น
ง) อ้อยขวั้น
ข้อ 9. . คำในข้อใดมีอักษรควบไม่แท้ปะปนอยู่
ก) พระเพลิงเผาผลาญทรัพย์สินเสียหาย
ข) กวางเปลี่ยวอาศัยอยู่ในไพรกว้าง
ค) เด็ก ๆ เดินขวักไขว่อยู่กลางสนามหญ้า
ง) คนบ้าคลุ้มคลั่งเพราะอากาศร้อนจัด
ข) กวางเปลี่ยวอาศัยอยู่ในไพรกว้าง
ค) เด็ก ๆ เดินขวักไขว่อยู่กลางสนามหญ้า
ง) คนบ้าคลุ้มคลั่งเพราะอากาศร้อนจัด
ข้อ 10. ข้อความใดมีอักษรควบแท้มากที่สุด
ก) ปัง ปัง ปัง
เสียงปืนดังกลางป่าใหญ่
ข) เมื่อพรานไพรไล่ยิงกระทิงเปลี่ยว
ค) กระสุนพลาดหวุดหวิดไปนิดเดียว
ง) กระทิงเลี้ยวหลบหนีเพราะมีภัย
ข) เมื่อพรานไพรไล่ยิงกระทิงเปลี่ยว
ค) กระสุนพลาดหวุดหวิดไปนิดเดียว
ง) กระทิงเลี้ยวหลบหนีเพราะมีภัย
เฉลย
|
1.ค 2.ก 3.ค 4. ง 5.ค 6. ค 7.ง 8.ง 9.ก 10.ข
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น