โครงงาน
เรื่อง สำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดี
ผู้จัดทำ
1…………………………………………….
2…………………………………………….
3…………………………………………….
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์ที่ปรึกษา
1…………………………………………………
2…………………………………………………
โรงเรียน…………………………………………………
อำเภอ………………………จังหวัด…………………….
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…………………………….
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาภาษาไทย
บทคัดย่อ
โครงงานสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดี มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อสำรวจพืชสมุนไพรทีมีอยู่ในสวนวรรณคดีที่มีอยู่ในบริเวณโรงเรียน ว่ามีพืชสมุนไพรชนิดใดบ้าง มีลักษณะอย่างไร
ใช้ประโยชน์รักษาโรคอะไรได้บ้างจากการสำรวจพบว่า มีพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น ต้นตะไคร้ , ว่านหางจระเข้ , ใบบัวบก , ชะพลู , มะกรูด , ข่า , กะเพรา ฯลฯ
ซึ่งพืชแต่ละชนิดมีคุณสมบัติช่วยรักษาโรคได้
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดี ครั้งนี้
สำเร็จลุล่วงด้วยดี
เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ
ที่นี้
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
บทที่ 1 บทนำ 5
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 5
วัตถุประสงค์ 5
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า 5
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 5
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 7
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 8
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 9
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
พืชหรือต้นไม้มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก ทั้งในด้านการเป็นอาหาร ยารักษาโรคเครื่องนุ่งห่ม ใช้ทำที่อยู่อาศัย ทำเชื้อเพลิง
ทำเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
ต้นไม้บางชนิดมีสีสรรสวยงาม
บางต้นออกดอกสวยงาม
บางชนิดดอกมีกลิ่นหอม
ต้นไม้หลายชนิดถูกเอ่ยชื่อในวรรณคดีหลายเรื่อง และที่โรงเรียนมีสวนวรรณคดีซึ่งปลูกพันธุ์ไม้ไว้หลายชนิด รวมทั้งพืชที่เป็นสมุนไพร ใช้รักษาอาการของโรคต่าง ๆ ได้
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาสำรวจชนิดของพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดีของโรงเรียน
โดยได้แบ่งหน้าที่มอบหมายกันในกลุ่มออกสำรวจ หรือสอบถามผู้รู้และรวบรวมข้อมูล
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.
เพื่อสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดี
2.
สามารถบอกลักษณะ ประโยชน์ที่ใช้ ของพืชสมุนไพรได้
ขอบเขตในการศึกษา
สถานที่ในการทดลอง
คือ สวนวรรณคดีของโรงเรียน
การสำรวจในครั้งนี้
จะสำรวจชนิดหรือชื่อของพืชสมุนไพร
ลักษณะทั่วไปและบอกประโยชน์ของพืชสมุนไพร
นิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………….
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือพืชสมุนไพร เอกสาร
วารสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ
1.
ประชุมกลุ่มเลือกประธานกลุ่ม กรรมการ และเลขานุการกลุ่ม
2.
แบ่งหน้าที่มอบหมายงานกันภายในกลุ่ม
3.
สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดีของโรงเรียน
โดยบันทึกชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะทั่วไป
และประโยชน์ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
บันทึกลงตารางบันทึกผล
4.
รวบรวมข้อมูลและแยกประเภท
5.
สรุปผลการสำรวจ บันทึกผล
บทที่ 4
ผลการสำรวจ
ตารางบันทึกผลการสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณดคี
ชื่อสามัญ
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
ประโยชน์
|
กระเจี๊ยบแดง
|
Hibiscus
sabdariffa Linn.
|
ใช้ขับปัสสาวะ
รักษาอาการ
ปัสสาวะขัด ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบปัสสาวะ
|
ตะไคร้
|
Cymbopogon
citratus
( De ex
Nees) Stapf.
|
ลดการบีบตัวของลำไส้
ลดอาการจุกเสียด ขับลม
|
ขี้เหล็ก
|
Cassia
siamea Lamk.
|
เป็นยาถ่าย กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ รักษาอาการท้องผูก
|
น้อยหน่า
|
Annona
squamosa Linn.
|
ใช้รักษาเหา
|
บัวบก
|
Centella
asiatica(Linn.) Urban
|
รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย
|
ฟ้าทะลายโจร
|
Andrographis
paniculata (Burm. F.) Ness.
|
ใช้รักษาอาการท้องเสีย
ใช้รักษาอาการไอและเจ็บคอ
|
มะขาม
|
Tamarindus
indica Linn.
|
ผล,เนื้อ มะขามใช้เป็นยาถ่าย
เมล็ดคั่วให้เกรียม
กะเทาะเปลือกแช่น้ำเกลือกินแก้อาการท้องเสีย
|
เล็บมือนาง
|
Quisqualis
indica Linn.
|
เมล็ดบุบพอแตกต้มเอาแต่น้ำดื่ม
รักษาโรคพยาธิไส้เดือน
|
ว่านหางจระเข้
|
Aloe
vera(Linn.)Burm.f.,Aloe barbardensis Mill.
|
เปลือกมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
|
ตารางบันทึกผลการสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณดคี
(ต่อ)
ชื่อสามัญ
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
ประโยชน์
|
เสลดพังพอนตัวผู้
|
Barleria
lupulina Lindl.
|
ลดการอักเสบ
ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย
|
ขมิ้น
|
Curcuma
longa Linn.,Curcuma domestica Valeton.
|
มีฤทธิ์ขับน้ำดี
น้ำมันหอมระเหยในหัวขมิ้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบ
ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด
ลดการบีบตัวของลำไส้
ป้องกันตับอักเสบ
|
ทับทิม
|
ไม่พบ
|
เปลือกผลทับทิมต้มกับน้ำเดือด
มีฤทธิ์ฝาดสมานในการแก้อาการท้องเสีย
|
แมงลัก
|
Ocimum
basilicum Linn. Var. citratum Back.
|
เมล็ดแมงลักช่วยการขับถ่าย
รักษาอาการท้องผูก
|
ฝรั่ง
|
Psidium
guajava Linn.
|
สารสกัดจากใบฝรั่งแก้อาการ
ท้องเสีย
|
บทที่ 5
ผลการทดลอง
ผลการสำรวจพืชสมุนไพรในสวนวรรณคดี พบพืชสมุนไพรหลายชนิด ทั้งพืชยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เช่น ต้นมะขาม ต้นฝรั่ง
ต้นน้อยหน่า ต้นขี้เหล็ก และพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น
บัวบก ขมิ้น กระชาย
ว่านหางจระเข้ ตะไคร้ เล็บมือนาง
แมงลัก
ซึ่งล้วนเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณรักษาอาการของโรคต่าง ๆ กันไป บางชนิดมีชื่อถูกกล่าวถึงในวรรณคดีไทย
ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
1.
ได้สำรวจชนิดของพืชสมุนไพรและรู้จักพืชสมุนไพรมากขึ้น
2.
ได้ฝึกทักษะการสังเกต การวิเคราะห์ผล การจำแนกและการสรุปผล
ข้อเสนอแนะ
1.
ควรสำรวจพืชสมุนไพร ในบริเวณอื่น ๆ โรงเรียนหรือในท้องถิ่น
เพิ่มเติม
2.
ควรสังเกตลักษณะอื่น ๆ ของพืชด้วย
เอกสารอ้างอิง
นิจศิริ เรืองรังสี
:
พะยอม ตันติวัฒน์ พืชสมุนไพร
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.
2534
http:// WWW.. Google. com.
ภาคผนวก
-
ภาพประกอบกิจกรรมโครงงาน
โครงงาน
เรื่อง ๑
ห้องเรียน ๑ ผลิตภัณฑ์จากกล้วย
ผู้จัดทำ
1…………………………………………….
2…………………………………………….
3…………………………………………….
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์ที่ปรึกษา
1…………………………………………………
2…………………………………………………
โรงเรียน…………………………………………………
อำเภอ………………………จังหวัด…………………….
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา…………………………….
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาภาษาไทย
บทคัดย่อ
เมื่อพูดถึงคำว่า กล้วย หรือกล้วย ๆ เราก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า หมายถึง
สิ่งที่ง่ายมาก
อะไรก็ตามซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้สำนวนที่เป็นภาษาพูดว่า
“ของกล้วย ๆ” กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ดอก ใบ
ผล ลำต้นและราก
เราสามารถนำกล้วยมารับประทานเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน นำมาปรุงแต่งประกอบเป็นอาหารได้นานาชนิด เช่น
กล้วยบวชชี กล้วยแขก กล้วยปิ้ง
กล้วยเผา กล้วยต้ม ขนมกล้วย
กล้วยกวน กล้วยตาก กล้วยอบ
กล้วยฉาบ ส้มตำกล้วยดิบ แกงเลียงหัวปลีกล้วย ยำหัวปลีกล้วย
ต้มยำหัวปลี ฯลฯ ใบกล้วย
หรือที่เรียกว่า ใบตอง
ก็นำมาใช้ห่อหมก ห่อขนม ทำกระทง
ทำบายศรีในงานพิธีต่าง ๆ ก้านกล้วยทำเป็นของเล่นให้เด็ก
ๆ สมัยก่อน เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย
ในด้านหัตถกรรมคนไทยนำต้นกล้วยมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เชือก
กระเป๋า
รองเท้า เก้าอี้ ตะกร้า ฯลฯ
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ทีเราเห็นกันอยู่ทั่วไป ในชุมชนของเรากลุ่มแม่บ้านมีการทำขนมจากกล้วยหลายชนิด ส่งขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว ในยามว่างจากการทำนา
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำกล้วยฉาบซึ่งทำได้ง่าย และเก็บไว้ได้นาน
ขายส่งตามร้านค้าได้ดี ลูกค้าชอบใจในรสชาติ
เป็นของขนเคี้ยวในเวลาว่างเป็นทางหนึ่งที่จะใช้ประโยชน์จากกล้วย เมื่อผลผลิตออกมามาก ๆ
เราสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยได้หลายอย่าง
กิตติกรรมประกาศ
โครงงาน ๑
ห้องเรียน ๑ ผลิตภัณฑ์ ครั้งนี้
สำเร็จลุล่วงด้วยดี
เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือแนะนำจากคุณครูที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และคณะครูในโรงเรียนทุกท่าน คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ
ที่นี้
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
บทที่ 1 บทนำ 5
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 5
วัตถุประสงค์ 5
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 5
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 6
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 7
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 8
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 9
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
กล้วย เป็นพืชที่เราปลูกได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดีในท้องถิ่น กล้วยสามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ดอก ใบ
ผล ลำต้น และราก
โดยเฉพาะผลกล้วยเรานำมาใช้ประกอบอาหารประเภทของหวาน ขนมได้หลายอย่าง เมื่อผลผลิตจากกล้วยออกมามาก ๆ ชาวบ้านก็จะมีวิธีการถนอมอาหารหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่าง กล้วยฉาบเป็นขนม อย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะทำได้ง่าย เก็บไว้ได้นาน
เป็น
อาหารว่าง ทุกคนชอบรับประทาน นอกจากนั้นยังส่งขายตามร้านค้า ทำรายได้ดี
คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำโครงงานซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วย โดยได้แบ่งหน้าที่มอบหมายกันในกลุ่ม
และดำเนินการ
ศึกษาวิธีการทำขนมกล้วยฉาบ
และรสชาติที่
ถูกปากของคนชิม จากผู้รู้หรือกลุ่มแม่บ้านในชุมชน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.
เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีความรู้เข้าใจเรื่องการทำขนมกล้วยฉาบ
2.
เพื่อให้สมาชิกรู้จักวิธีการถนอมอาหาร
ทำให้เก็บไว้ได้นาน และ
เป็นรายได้เสริม
3.
เพื่อให้รู้จักคุณค่าและประโยชน์ของกล้วย
ขอบเขตในการศึกษา
สถานที่ในการทดลอง
คือ โรงเรียน
การทดลองในครั้งนี้
สมาชิกในกลุ่มจะศึกษาวิธีการทำกล้วยฉาบและทดลองทำกล้วยฉาบ โดยใช้กล้วยที่มีความสุกต่างกัน
นิยามศัพท์เฉพาะ
กล้วยฉาบ หมายถึง ขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากผลกล้วยสุก
ปานกลาง นำมาผ่าตามยาว ให้ได้เป็นแผ่นบาง ๆ
แล้วนำไปทอดในน้ำมันพืช ที่ร้อนจัด ได้กล้วยเป็นแผ่นบาง ๆ ที่มีความกรอบหอม จากนั้นก็ปรุงรสด้วยน้ำเชื่อม ที่ข้นจัด(น้ำตาลที่ผสมน้ำแล้วต้มเคี่ยวให้ข้น) หรือเกลือเล็กน้อยตามชอบ
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือ วารสารการเกษตร เอกสาร
วารสารที่เกี่ยวข้องกับขนม -อาหาร
บทที่ 3
วิธีดำเนินการ
วัสดุ – อุปกรณ์ที่ใช้
1.
กล้วยน้ำหว้าสุกที่มีอายุต่างกัน เช่น
กล้วยสุกงอม กล้วยสุกปานกลาง
กล้วยสุกเล็กน้อย กล้วยดิบ อย่างละ 1
หวี
2.
น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลบีบ 1
กิโลกรัม
3.
เกลือป่นเล็กน้อย
4.
ถาดใบใหญ่
5.
มีด, เขียงสำหรับรองหั่นกล้วย
6.
กะทะสำหรับทอดกล้วย
7.
น้ำมันพืช
8.
กระชอนหรือตะแกรง
9.
หม้อ , ทับพี
10. เตาไฟ , ถ่านหุงต้ม
วิธีดำเนินการ
1.
นำกล้วยสุกที่มีอายุต่าง กัน คือ
กล้วยสุกงอม กล้วยสุกปานกลาง กล้วยดิบ
มาผ่าเฉือนให้ได้แผ่นบาง
ๆ แยกกันไว้
2.
ตั้งกะทะบนเตาไฟ ใสน้ำมันรอให้ร้อนจัด ใส่แผ่นกล้วยที่เตรียมไว้ลงไป
ทอดในน้ำมัน จนเหลืองกรอบได้ที่
ใช้กระชอนหรือตะแกรงช้อนตักขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำมัน แล้วเทแผ่นกล้วยใส่ถาด โดยแยกตามประเภทของกล้วยที่สุกต่างกัน
3.
นำหม้อใส่น้ำเล็กน้อย
ต้มให้เดือดแล้วเติมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลบีบ
ลงไปเคี่ยวให้ได้ที่ (น้ำเชื่อมข้น) รอให้เย็น
4.
ราดน้ำเชื่อมข้นลงบนกล้วย
ที่ทอดแล้ว เติมเกลือป่นเล็กน้อย คลุกเคล้า
ให้ทั่วรอให้แห้ง ก็จะได้กล้วยฉาบที่มีรสชาติหวาน เค็มเล็กน้อย
กรอบ อร่อยถูกปาก หากชอบเค็มก็ไม่ต้องใช้น้ำตาล
5.
สมาชิกในกลุ่มและเพื่อน ๆ ช่วยกันชิมกล้วยฉาบ ประเมินผลว่า
กล้วยฉาบที่ทำจากกล้วยสุกงอม
กล้วยสุกปานกลาง กล้วยดิบ ชนิดใดอร่อยที่สุด สรุปผล
บทที่ 4
ผลการทดลอง
กล้วยฉาบที่ทำจากกล้วยน้ำหว้าที่มีอายุความสุกต่างกัน ได้ผลดังนี้
ความสุกของกล้วย
|
ความกรอบ
|
รสชาติ
|
กล้วยสุกงอม
|
กรอบเล็กน้อย
ม้วนตัว ไม่ค่อยเป็นแผ่น
|
หวานมาก
|
กล้วยสุกปานกลาง
|
กรอบเล็กน้อย เหลือง
แผ่นคงรูปไม่ดี
|
หวาน
กรอบ เค็มเล็กน้อย
|
กล้วยสุกเล็กน้อย
|
กรอบ
เหลือง แผ่น
คงรูปไม่ดี
|
หวาน กรอบ
เค็มเล็กน้อย
|
กล้วยดิบ
|
กรอบ เหลือง แผ่นคงรูปสวย
|
หวาน
กรอบ
เค็มเล็กน้อย
|
บทที่ 5
ผลการทดลอง
จากการทดลองทำขนมกล้วยฉาบ
โดยใช้กล้วยน้ำหว้า ที่มีอายุความสุกต่าง
กัน คือ กล้วยสุกงอม กล้วยสุกปานกลาง กล้วยสุกเล็กน้อย และกล้วยดิบ
พบว่า
กล้วยดิบจะได้กล้วยฉาบที่มีรสชาติ
ความกรอบ สีน่ารับประทาน มากกว่ากล้วยสุก อื่น ๆ
ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
1. ได้ศึกษาวิธีการทำกล้วยฉาบที่มีรสชาติ
ความกรอบ อร่อย โดยใช้
กล้วยที่มีอายุความสุกต่างกัน
2. ได้รู้คุณค่าและประโยชน์ของกล้วยมากขึ้น
3.
ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ข้อเสนอแนะ
1.
ควรศึกษาวิธีการทำอาหารหรือขนมจากกล้วยเพิ่มเติม
2.
ควรทดลองนำกล้วยชนิดต่าง ๆ เช่น
กล้วยหอม กล้วยไข่ มาทดลอง
ทำกล้วยฉาบ
เพื่อศึกษารสชาติ ความกรอบอร่อย ดูความแตกต่าง
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ,
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุด ภาษาเพื่อชีวิต
ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ภาคผนวก
-
ภาพประกอบกิจกรรมโครงงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น