วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

วิจัยภาษาอังกฤษป.1



เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ช่วงชั้นที่ 1 ( .1 – .3 )

ชื่อผู้วิจัย

 1. ครูวัชรีวรรณ   บุพศิริ
 ชื่อเรื่อง                   พัฒนาทักษะการจำคำศัพท์


1.      สภาพปัญหา
การจดจำคำศัพท์ต่างๆ ก็ถือว่าเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่สำคัญอีกวิธีการหนึ่ง ผู้เรียนจะสัมฤทธิผล
ทางการเรียนภาษาอังกฤษได้ก็ต่อเมื่อนักเรียนนำคำศัพท์นั้นๆ ไปใช้ในบทเรียนและชีวิตประจำวันได้ จากการสังเกตุผลที่นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ก็เนื่องจากว่าผู้เรียนท่องศัพท์แบบนกแก้วนกขุนทอง หรือท่องเอามากๆไว้ก่อนไม่ได้คำนึงถึงว่าตัวเองจำได้หรือไม่ได้ หรือนักเรียนจำได้แค่เฉพาะเวลาท่อง หลังจากนั้นก็จะลืม ครูผู้สอนจึงควรหากลวิธีที่จะทำให้เด็กจดจำคำศัพท์ได้อย่างแม่นยำ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของคำศัพท์เป็นอย่างมาก จึงเห็นควรนำเรื่องคำศัพท์มาทำวิจัย

2.      ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1.      แบบฝึกหัดเกี่ยวกับคำศัพท์
2.      เขียนตามคำบอก
3.      ครูให้นักเรียนออกมานำคำศัพท์ทีละคนก่อนเข้าสู่บทเรียน

3.      จุดประสงค์การวิจัย
1.      เพื่อให้นักเรียนจดจำคำศัพท์ต่างๆ
2.      เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบมีความรู้คู่คุณธรรม
3.      เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การสอนและเทคนิควิธีการสอนของครู

4.  ระยะเวลาในการดำเนินงาน
2 มิถุนายน – 30 กันยายน 2556
 
5.ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
1.      คิดหัวข้อการทำวิจัย
2.      เขียนเค้าโครงการทำวิจัย
3.      เตรียมคำศัพท์ทั้งหมด 20 คำ
4.      จัดเตรียมเอกสารแบบทดสอบ
5.      ปรับแผนการสอนให้สอดคล้องกับงานวิจัย
6.      เตรียมการสอนตามแผนการสอนที่ปรับเปลี่ยน
7.      ทดสอบคำศัพท์ ( Pre test )
8.      สอนโดยใช้วิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา ใช้เทคนิคการทำแบบฝึกหัดที่หลากหลายโดยใช้สื่อภาพเพื่อส่งเสริมการทำแบบฝึกหัด
9.      ทดสอบคำศัพท์ ( Post test )
10.  รวมรวบและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ

การดำเนินงานในการวิจัยในชั้นเรียน

ที่ปรึกษา           ครูสุดคนึงนิจ   ดาบพลอ่อน

ประชากร

            นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งหมด 26 คน เป็นนักเรียนชายทั้งหมด ของโรงเรียนบ้านหาดแพง   ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556   เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองงานวิจัยชิ้นนี้

เครื่องมือที่ใช้สำรวจปัญหา

            ข้อสอบ Pre test และ Post test
            แบบฝึกหัดจำนวน 5 ชุด

เกณฑ์การให้คะแนนแบบทดสอบ

            เขียนถูกต้อง                   ได้ 1 คะแนน
            เขียนผิด                                    ได้ 0 คะแนน




ผลการดำเนินงาน / ผลการแก้ปัญหาจาการนำไปปฏิบัติจริง

            ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนต่างๆที่เตรียมไว้และนำไปใช้กับการเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 26 คน แล้วได้พบปัญหาว่ามีนักเรียน จำนวน 6 คน ที่ไม่สามารถจดจำคำศัพท์ได้โดยพิจารณาจากการทำแบบฝึกหัด และการทดสอบคำศัพท์ปรากฏว่านักเรียนจำนวน 6 คน ดังกล่าวไม่สามารถเขียนคำศัพท์ได้เลย โดยอ้างว่าพยายามท่องแล้วแล้วแต่จำไม่ได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงแก้ปัญหาดังกล่าวดังนี้คือ
            ให้นักเรียนทั้งหมด 6 คน คัดคำศัพท์ที่ตนไม่สามารถจดจำคำศัพท์ได้ โดยคัดคำละ 20 ครั้ง

สรุปผลการพัฒนา

จากผลการฝึกสรุปได้ดังนี้คือ
1.   การฝึกที่เริ่มจาการเขียนศัพท์นักเรียนรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่จะทำให้นักเรียน       ความอยากรู้อยากจะทำ เมื่อนักเรียนทำได้ในชุดแรก ชุดต่อไปก็จะเป็นคำศัพท์เหมือนเดิมแต่เปลี่ยนแบบฝึกแบบใหม่ เมื่อนักเรียนเจอศัพท์แบบเดิมอีกก้จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้โดยอัตโนมัติและเริ่มคุ้นเคยกับคำศัพท์นั้นๆมากขึ้น
2.      ถ้าหากนักเรียนได้ฝึกทำในเรื่องเดิมซ้ำๆทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถาวรและเกดความแม่นยำความคล่องแคล่วในคำศัพท์นั้นๆมาก กว่าเรียนเพียงระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำต้องอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างและ หลากหลาย
3.      ถ้านักเรียนทราบผลการทำของตนเองในแต่ละครั้ง ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาครั้งต่อไปให้ดีขึ้น และเกิดการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องทำในครั้งต่อไปให้ดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ
4.      จากผลการฝึกทั้งหมด จำนวน 5 ชุด และผลการทดสอบหลังการฝึก จะเห็นได้ว่านักเรียนมีการพัฒนาทักษะ การจดจำคำศัพท์อย่างเห็นได้ชัดเจน แต่มีนักเรียนอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่ผลการพัฒนายังไม่ดี คือ กลุ่มที่ 4 ดังนั้นผู้วิจัยจึงให้นักเรียนในกลุ่มนี้คัดคำศัพท์ในแบบฝึกนั้น คำละ 20 ครั้ง และเรียกให้มาท่องและอ่านให้ฟังซึ่งทำให้นักเรียนในกลุ่มนี้พัฒนาด้านคำศัพท์นั้นได้เท่าทันเพื่อนกลุ่มอื่นๆ จากภาพรวมผูวิจัยมีความรู้สึกดีใจและภูมิใจที่นักเรียนได้มีการพัฒนาคำศัพท์และสามารถจดจำคำศัพท์นั้นตลอดไป









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น